5 โรคตาในผู้สูงอายุที่มักพบบ่อยมีอะไรบ้าง รักษาอย่างไร?

โรคตาในผู้สูงอายุ นับเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานที่พบในผู้สูงอายุ เริ่มตั้งแต่ค่าสายตายาว สายตาสั้น ตาฝ้าฟาง ตาพร่ามัว เป็นต้น ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าเมื่อเราอายุมากขึ้น เราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเจ้าโรคทางตาและสายตาเช่นนี้ได้เลย ในวัยผู้สูงอายุนั้น การมีปัญหาสายตาเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งบุตรหลานอาจจะต้องศึกษาเกี่ยวกับโรคทางนี้ไว้ เพื่อเป็นการป้องกันและคอยระวังให้กับผู้สูงอายุอยู่เสมอ

5 โรคตาในผู้สูงอายุที่มักพบบ่อยมีอะไรบ้าง รักษาอย่างไร?

โรคตาในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง แต่ละโรครักษาอย่างไร?

เมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะต่างๆ ในร่างกายที่เราใช้งานมาหลายสิบปีก็ย่อมเสื่อมสภาพเป็นเรื่องปกติ และ “ดวงตา” คือหนึ่งในอวัยวะที่มักพบความผิดปกติได้หลายรูปแบบ และนี่คือ 5 โรคตาที่ผู้สูงวัยไม่ควรมองข้าม เพราะโรคตาบางโรค…หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาก็อาจร้ายแรงถึงขั้นตาบอดได้

5 โรคตาที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ

0 1 โรคต้อกระจก

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ดวงตาที่ถูกใช้งานมานานหลายสิบปีย่อมเสื่อมลง อย่างเลนส์ตาธรรมชาติที่ทำหน้าที่รับแสงมานานก็จะเกิดสีขุ่นขึ้นจนกลายเป็นสีเหลือง สีชา หรือกลายเป็นสีขาวขุ่นๆ ซึ่งนั่นคือต้นเรื่องของโรคต้อกระจก ที่ผู้สูงวัยในอายุ 50 ปีขึ้นไปควรระวัง รวมไปถึงผู้ที่ยังอายุไม่มากแต่มีคุณพ่อคุณแม่เป็นตาต้อกระจกก็จะมีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้น

ลักษณะอาการ:

เพราะเลนส์ตามีความขุ่นมัวมากขึ้น ทำให้การมองเห็นภาพมีลักษณะคล้ายเป็นหมอก หรือมีควันขาวๆ บัง สายตา การโฟกัสไม่ดีเหมือนเดิม ในผู้ป่วยต้อกระจกบางชนิดอาจมีอาการแพ้แสง และหากต้อกระจกเข้มมากจนสุก ก็จะบังลูกตาจนสูญเสียการมองเห็นได้

แนวทางการรักษา:

การรักษาต้อกระจก ทำได้โดยการผ่าตัดนำเลนส์แก้วตาที่ขุ่นออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ โดยวิธีการผ่าตัดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่

  • การสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (phacoemulsification)
  • การผ่าตัดต้อกระจกและฝังเลนส์เทียมโดยใช้เลเซอร์ (femtosecond laser)

0 2 โรคต้อหิน

แม้จะเป็นโรคตาที่พบได้น้อยกว่าต้อกระจก แต่ก็นับว่าเป็นอีกภัยเงียบที่อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นแบบถาวรได้ โรคต้อหินเกิดจากความดันในลูกตาสูงขึ้นจนมีการทำลายประสาทตา อาจเกิดในผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นต้อหิน หรือในผู้ที่สายตาสั้นมากๆ ป่วยเป็นเบาหวาน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุทางตามาก่อน

ลักษณะอาการ:

มักไม่มีอาการในช่วงแรก แต่เมื่อเริ่มสูญเสียลานสายตา การมองเห็นจะค่อยๆ จำกัดวงแคบลง จากด้านข้างเข้ามาตรงกลางเรื่อยๆ และสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรในที่สุด แต่ทั้งนี้ก็ยังมีต้อหินบางประเภทที่มีอาการปวดมาก เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ หรือมีอาการตาแดง

แนวทางการรักษา:

การรักษาโดยใช้ยาเป็นการรักษาเบื้องต้นที่ดีที่สุด สะดวก มีประสิทธิภาพ แต่จำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาทุกวันไปตลอดชีวิต ปัจจุบันยาหยอดตามีหลายชนิด ต่างกันที่กลไกการออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพ และอาการข้างเคียง การใช้ยารักษาต้อหินชนิดกินหรือฉีดนั้นจะใช้ในระยะสั้นเพื่อเตรียมการผ่าตัด เนื่องจากมีผลข้างเคียงสูง

0 3 โรคต้อลม

ต้อลมเป็นอีกหนึ่งโรคตาที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของเยื่อบุตาขาว ตัวต้อจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อขนาดเล็ก นูน สีขาวหรือเหลืองตรงบริเวณเยื่อบุตาขาว มักพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา ซึ่งหากไม่ได้รับการป้องกันก็อาจจะลุกลามกลายเป็นแผ่นเนื้อบดบังบริเวณกระจกตาดำ หรือที่เรียกว่า “ต้อเนื้อ” นั่นเอง

ลักษณะอาการ:

ในช่วงแรกเริ่มมักไม่มีอาการ แต่เมื่อต้อลมมีการอักเสบมากขึ้นจะทำให้มีอาการเคืองตา คันตา สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาหยอดตา ร่วมกับการป้องกันไม่ให้โดนแดดโดนลมด้วยการสวมแว่นกันแดด ซึ่งถ้าไม่ได้รับการป้องกันหรือรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจจะลุกลามกลายเป็นแผ่นเนื้อบดบังบริเวณกระจกตาดำ หรือที่เรียกว่า “ต้อเนื้อ” นั่นเอง

แนวทางการรักษา:

  • ควรใส่แว่นกันแดดและกันลมเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง
  • จักษุแพทย์อาจพิจารณาใช้ยาหยอดตาเพื่อบรรเทาอาการอักเสบของต้อลม
  • ต้อลมไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เนื่องจากมีขนาดเล็ก ไม่ส่งผลต่อการมองเห็น
 

0 4 โรคจอประสาทตาเสื่อม

เป็นภาวะที่จุดรับภาพที่อยู่ตรงส่วนกลางของจอตาเกิดการเสื่อมขึ้น ทำให้การมองเห็นส่วนกลางของภาพมัวลง แต่บริเวณรอบข้างยังสามารถมองเห็นได้เป็นปกติ อาจเกิดจากการเสื่อมไปตามช่วงอายุที่มากขึ้น แสงยูวี การสูบบุหรี่ หรือมีระดับความดันโลหิตสูง

ลักษณะอาการ:

ในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อจอตาเริ่มเสื่อมมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการตามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นจุดดำอยู่กลางภาพ และสูญเสียการมองเห็นตรงบริเวณกลางภาพ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวดร่วมด้วย

แนวทางการรักษา:

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคนี้ให้หายขาด แต่สามารถหยุดหรือชะลอ เพื่อให้จอประสาทตาเสื่อมช้าที่สุด  โดยมีวิธีการรักษา ได้แก่ การฉีดยา  การใช้เลเซอร์พลังงานต่ำและสารไวแสง เลเซอร์พลังงานสูง  และหลายวิธีร่วมกัน  ซึ่งการรักษาในแต่ละวิธีมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน เพราะร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนตอบสนองต่างกัน  ดังนั้น  ก่อนการรักษาจักษุแพทย์  ผู้ป่วย  ญาติ ควรพูดคุยกันเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

0 5 ตาแห้ง

เมื่ออายุมากขึ้น อาจมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ส่งผลให้เกิด “ภาวะตาแห้ง” ได้ ไม่ว่าจะเป็น ต่อมไขมันเปลือกตาที่อุดตันได้ง่ายขึ้น ฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป หรือการมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคไทรอยด์ โรคข้ออักเสบ หรือการใช้ยาบางชนิด ซึ่งส่งผลให้น้ำหล่อเลี้ยงตาที่ทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาไม่เพียงพอ เกิดการระคายเคืองในตาและแสบตา หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เปลือกตาดึงรั้งขนตาให้ลงมาทิ่มตา เปลือกตาอักเสบ และกระจกตาเป็นแผลได้

ลักษณะอาการ:

รู้สึกไม่สบายตา เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา เคืองตาหรือมีน้ำตาไหล ซึ่งน้ำตาที่ไหลเป็นเพียงเพราะการถูกกระตุ้นจากภาวะตาแห้งให้สร้างน้ำตาขึ้นมาเพื่อลดการระคายเคือง แต่ไม่ได้ส่งผลให้ดวงตาเกิดความชุ่มชื้นอย่างที่เราเข้าใจกัน หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เปลือกตาดึงรั้งขนตาให้ลงมาทิ่มตา เปลือกตาอักเสบ และกระจกตาเป็นแผลได้

แนวทางการรักษา:

  • การใช้น้ำตาเทียมเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา
  • การใช้ยาหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของผิวนัยน์ตาหรือผิวเยื่อบุตา และช่วยบรรเทาอาการคันระคายเคืองตา แต่การใช้ยากลุ่มนี้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และใช้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น
  • การทำความสะอาดเปลือกตาด้วยน้ำยาพิเศษ เพื่อกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกที่อยู่บริเวณรอบเปลือกตา
  • การประคบน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 41-43 องศาเซลเซียสเป็นประจำเช้า-เย็น
  • การนวดและทำความสะอาดเปลือกตา (การกดรีดไขมันตามแนวการวางตัวของต่อมไมโบเมียนที่ขอบเปลือกตา)
  • การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ลดการเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟน และพักสายตาเป็นระยะๆ

อย่างไรก็ดี 5 โรคตาในผู้สูงอายุ ดังที่กล่าวมานี้เป็นเพียงปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุเท่านั้น ยังมีภาวะทางสายตาอันตรายอื่นๆ อีกที่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญคือ บุตรหลานต้องคอยดูแลและเอาใจใส่ในการดูและสุขภาพทางสายตาและการมองเห็นของผู้สูงอายุให้มาก เพราะหากพวกท่านมีภาวะโรคสายตาชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วล่ะก็ การใช้ชีวิตประจำวันที่ยกลำบากก็จะตามมาด้วยนั่นเอง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง