กรดไหลย้อน ผู้สูงอายุ ในหลายๆ ครอบครัวอาจเคยสังเกตเห็นผู้สูงอายุมีอาการแสบร้อนตรงกลางอก แน่นหน้าอก และเรอเปรี้ยว หลังรับประทานอาหาร อาการเหล่านี้ไม่ใช่อาการปกติ หากแต่เป็นสัญญาณของการเป็น กรดไหลย้อน โรคน่ากลัวอีกชนิดหนึ่งที่หากไม่รักษาและปล่อยให้เรื้อรังในผู้สูงอายุ อาจรุนแรงถึงขั้นชีวิตได้เลยทีเดียว แม้ว่าจะไม่ได้ส่งผลถึงชีวิตโดยตรง แต่เจ้าโรคชนิดนี้ก็ส่งผลเสียมากมายและทำให้ร่างกายของผู้สูงอายุอ่อนแอลง และเสียชีวิตลงในที่สุด
กรดไหลย้อน ผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไรได้บ้าง?
โรคกรดไหลย้อน หรือ โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร (อังกฤษ: Gastroesophageal reflux disease, GERD) เป็นภาวะระยะยาว (เช่น มีอาการมากกว่า 2 ครั้งต่ออาทิตย์เป็นเวลาหลายอาทิตย์) ที่สิ่งซึ่งอยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหารซึ่งทนต่อกรดและเอนไซม์ย่อยอาหารได้แค่ระดับหนึ่ง แล้วทำให้เกิดอาการต่าง ๆ หรือนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
สาเหตุของการเกิด “กรดไหลย้อน” ในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ จะมีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนสูงขึ้น เนื่องจาก หูรูดกระเพาะอาหารจะหย่อนมากกว่าปกติ และเยื่อบุต่างๆ เสื่อมสภาพลง น้ำลายลดลง หรือต้องรับประทานยาต่างๆ หลายชนิดที่มีผลข้างเคียง ทำให้น้ำลายลดลงหรือกินยาบางอย่างที่ทำให้หูรูดกระเพาะปิดไม่สนิท ก็มีอาการของโรคกรดไหลย้อนตามมา
แต่ปัจจัยที่เป็นตัวการส่งเสริมให้เกิดโรคนี้อันดับต้นๆ คือ พฤติกรรมของผู้สูงอายุ เช่น รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ชอบอาหารรสจัด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เร่งรีบในการทานอาหาร เป็นต้น ซึ่งก็ส่งผลให้เกิดกรดไหลย้อนตามมาในที่สุด
ลักษณะอาการ
สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญ จากโรคกรดไหลย้อนคือ เกิดความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มีอาการจุก แน่น อึดอัด แน่นหน้าอกมาก จนเกิดความกังวล นอนไม่หลับ เพราะอาการกรดไหลย้อนจะมีเยอะขึ้นเมื่อนอน ส่งผลให้เกิดการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ โรคกรดไหลย้อนจะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อร่วมด้วย คล้ายๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร จึงทำให้ใครหลายคนเข้าใจผิดว่าตนเองอาจจะเป็นโรคกระเพาะอาหาร และไปซื้อยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหารมารับประทานเอง ซึ่งก็เป็นการรักษาที่ไม่ตรงจุด

ผู้สูงอายุเป็น กรดไหลย้อน เสียชีวิตได้หรือไม่?
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าภาวะเช่นนี้ไม่สามารถทำให้เสียชีวิตได้เลยในทันที แต่ถ้าหากปล่อยไว้เรื้อรังก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร เนื่องจากหลอดอาหารไม่สามารถทนทานต่อกรดได้มากนัก เมื่อมีการอักเสบบ่อยๆ อาจจะทำให้เซลล์ต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามภาวะนี้เกิดได้น้อย และไม่ใช่โรคร้ายแรงถึงชีวิต แต่เป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตนั่นเอง
แนวทางการรักษา
-
การรับประทานยา เช่น ยาเคลือบกระเพาะอาหารรักษาแผล ยาลดกรด
-
การผ่าตัด อาจแนะนำในกรณีต่อไปนี้
-
ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเป็นเวลานานแล้วไม่สามารถควบคุมอาการหรือหยุดยาได้
-
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาเป็นเวลานานและมีผลข้างเคียงจากยา
-
การดูแลผู้สูงวัยให้ไกลจากภาวะ “กรดไหลย้อน”
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อเย็นปริมาณมาก
และไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรเว้นระยะเวลานอนหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มบางชนิด
ชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อกโกแลต เปปเปอร์มินต์
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง
เช่น การนอนหมอนให้สูงขึ้น ออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อควบคุมน้ำหนัก และพยายามรับประทานอาหาร รวมถึงเข้านอนให้เป็นเวลา เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ยังนับว่าเป็นโชคดีที่โรคนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ เพราะจากข้อมูลดังกล่าว บุตรหลานในหลายๆ ครอบครัวก็สามารถเห็นได้ว่า กรดไหลย้อน ยังเป็นโรคที่อันตรายสำหรับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก แม้ไม่ได้เป็นต้นตอโดยตรงที่ส่งผลต่อการเสียชีวิต แต่ก็เป็นต้นเหตุของอาการแทรกซ้อนหลายๆ อย่างที่อาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น สมาชิกในบ้านควรดูและเรื่องพฤติกรรมเสี่ยงบางอย่างของผู้สูงวัยและอาหารแต่ละมื้อของท่านให้ดี เพื่อป้องกันภาวะ กรดไหลย้อน ผู้สูงอายุ ไม่ให้เกิดขึ้นได้นั่นเอง
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง