“ผมร่วง” ปัญหาพื้นฐานที่ไม่ว่าจะเพศไหนหรือวัยไหนก็พบเจอ หากแต่ถ้าเป็นปัญหาที่เกิดกับผู้สูงวัย ก็จะมีความน่าเป็นห่วงกว่าวัยหนุ่มสาว เป็นที่ทราบกันดีว่าในทุกๆ ส่วนของร่างกายคนเรานั้น จำเป็นต้องมีสารอาหารหรือสารต่างๆ มาเพื่อบำรุง รวมไปถึง เส้นผม ด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี เมื่อผู้สูงอายุมีอายุที่เพิ่มขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพตามไปด้วย นั่นก็รวมถึงการขาดหลุดร่วงของเส้นผมที่พอผมของพวกท่านร่วงไป แต่การงอกใหม่กลับมาดันมีโอกาสน้อยลงกว่าวัยอื่น
“ผมร่วง” ในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร เป็นเรื่องปกติหรือไม่?
ปัญหาเรื่องผมในผู้สูงอายุ เมื่อเข้าสู่วัยชรา จะมีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในร่างกาย ซึ่งจะเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ รวมทั้งผมขาดหลุดร่วงด้วย เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน เป็นต้นเส้นผมจะมีความหนาแน่นที่สุดและเส้นใหญ่ที่สุดถึงอายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้น เมื่ออายุมากขึ้น ความหนาแน่นและขนาดของเส้นผมจะเริ่มลดลง เนื่องจากวงจรชีวิตของเส้นผมเริ่มสั้นลง ทําให้ผมเกิดการขาดร่วงถี่ขึ้นและบางลง จนในที่สุดวงจรของเส้นผมหยุดและไม่สร้างเส้นผมขึ้นมาใหม่อีกต่อไป
สาเหตุการขาดหลุดร่วงของผมในผู้สูงอายุ
-
พันธุกรรม
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ มีประวัติครอบครัวที่มีศีรษะล้าน มีการศึกษาเชื่อว่าสาเหตุทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น ความเครียด และมลภาวะ เป็นต้น
-
ฮอร์โมน
เนื่องจากยิ่งมนุษย์มีอายุเพิ่มมากขึ้นร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการผลิตฮอร์โมนเพศลดลง ขณะที่อวัยวะส่วนต่างๆในร่างกายก็จะยิ่งอ่อนแอ ปลูกผม เส้นผมก็เช่นกัน
-
รูขุมขนบนหนังศีรษะลดลง
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นไปตามธรรมชาติของผู้สูงอายุ เพราะเป็นอาการเสื่อมที่ทำให้เกิดอาการ ผมขาดหลุดร่วง ผมบาง ยิ่งเมื่อประกอบกับภาวะโรคประจำตัวต่างๆจะส่งผลให้วงจรเส้นผมเกิดปัญหา ขาดความแข็งแรงและร่วงเป็นจำนวนมาก
5 วิธีช่วยดูแลผมผู้สูงอายุ
1. ทานอาหารป้องกันอาการผมขาดหลุดร่วง
บุตรหลานสามารถป้องกันเส้นผมของผู้สูงอายุไม่ให้ขาดหลุดร่วงได้ด้วยการทานอาหารที่มีสารอาหารดีๆ มีคุณค่าและมีประโยชน์ในการช่วยให้เส้นผมแข็งแรง ป้องกันผมขาดร่วง ไม่หงอกเร็ว เช่น แร่ธาตุสังกะสี, วิตามินเอ, ไบโอติน, วิตามินซี และ โปรตีนไขมันต่ำ
2. หลีกเลี่ยงความเครียด
เนื่องจากฮอร์โมนของผู้สูงวัยจะลดลง ส่งผลให้อารมณ์และความรู้สึกของพวกท่านไม่คงที่ ดังนั้น ลูกหลานควรดูแลให้ท่านทำจิตใจให้ผ่อนคลาย หากกำลังเผชิญปัญหาผมหลุดร่วง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ละบุคคล
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ผู้สูงอายุหลายคนกลัวจะบาดเจ็บจึงไม่ค่อยกล้าออกกำลังกาย ทั้งที่จริงแล้วการไม่ออกกำลังกายคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ หากคุณมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพเส้นผมก็จะแข็งแรงไปด้วย
4.หลีกเลี่ยงการมัดผมแน่นเกินไป
โดยเฉพาะในผู้สูงอายุเพศหญิงที่จำเป็นต้องมัดผมในระหว่างวัน ควรหลีกเลี่ยงการดึง บิด หรือขยี้ผมแรงๆ
5. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง
เช่น การรับประทานอาหาร โดยให้ผู้สูงอายุลดการทานเกลือ และน้ำตาลมากเกินไป งดเหล้าและบุหรี่ซึ่งทำให้เกิดรังแค และผมขาดหลุดร่วงมากขึ้น รวมถึงการปรับเปลี่ยนท่านอน โดยผู้สูงอายุต้องนอนให้ศีรษะต่ำกว่าส่วนอื่นประมาณ 15 นาทีต่อวัน เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงศีรษะ
อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องผมนั้นเป็นเรื่องปกติและเกิดขึ้นทุกๆ วัน ส่วนใหญ่มักเกิดเพียงชั่วคราว สำหรับผู้สูงอายุบางท่านอาจรู้สึกเฉยๆ และยอมรับได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดผมขาดร่วงตามธรรมชาติหรือตามวัย ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษาก็ได้ แต่ในขณะที่บางท่านค่อนข้างจะวิตกกังวล และปัญหานี้กลายเป็นปัญหากวนใจ ดังนั้น ลูกหลานจึงควรใส่ใจและดูแลสุขภาพเส้นผมของผู้สูงอายุเอาไว้ เพื่อความสบายใจของท่านเอง
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง