3 ท่านอนแก้ปวดเอว สำหรับผู้สูงอายุ

ท่านอนแก้ปวดเอว เป็นวิธีการป้องกันอย่างหนึ่งที่จะช่วยลดอาการปวดลงได้ เนื่องจากการปวดเอวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการยืน นั่ง และ นอนผิดท่า ดังนั้น การปรับท่านอน จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมอีกวิธีหนึ่งที่จะป้องกันอาการปวดนี้ได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักจะมีการปวดเอวได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ ด้วยนั่นเอง

 3 ท่านอนแก้ปวดเอว สำหรับผู้สูงอายุ

ท่านอนแก้ปวดเอว สำหรับผู้สูงวัย ปรับอย่างไรไม่ให้ทำลายสุขภาพ

ผู้สูงอายุแต่ละท่านล้วนมีท่านอนที่ถนัดแตกต่างกันออกไป ซึ่งบางท่านั้นอาจจะทำให้หลับสบายก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับช่วยปรับท่านอนที่คุณชื่นชอบ ให้กลายเป็นท่าที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ทำร้ายร่างกาย แถมยังช่วยให้หลับสนิทตลอดคืนอีกด้วย

นอนผิดท่า คืออะไร….

การนอนผิดท่า เป็นอาการที่หลายคนมักเจอ การนอนผิดท่าคือการนอนในที่ระหว่างอยู่ในอาการหลับลึก ไม่ว่าจะด้วยการดิ้นไปมาหรือการละเมอต่างๆ ขณะหลับ ท่าทางของการนอนนั้นกลายเป็นว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่ปกติ และไม่ถูกต้องตามหลักสรีระร่างกาย ทำให้การนอนของคุณไม่มีคุณภาพและส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อและกระดูกของคุณ โดยการนอนผิดท่านั้นมีอยู่หลายแบบ ทั้งคอตกหมอน หันคอกับตัวไปคนละทาง และหลายอย่างโดยการนอนผิดท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากความไม่ตั้งใจระหว่างที่นอนอยู่

นอนผิดท่า ก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง?

การนอนผิดท่า นั้น จะทำจะไม่ใช่แค่ทำให้เกิดเพียงแค่อาการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ คอเคล็ด หรือเป็นอาการทั่วๆ ไป เท่านั้น แต่การนอนผิดท่า ก็สามารถทำให้เกิดอาการของโรคอื่นๆ ตามมาได้เช่นเดียวกัน โดยการนอนผิดท่านั้น แม้ว่าอาจจะไม่ใช่สาเหตุหลักของโรคต่อไปนี้ แต่ก็ถือว่ามีโอกาสทำให้เกิดได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคกระดูกเสื่อม ที่เกิดจากการใช้งานกระดูกมากจนเกินไประหว่างที่นอนผิดท่า จนทำให้กระดูกมีอาการสึกหรอโดยไม่คาดคิด นอกจากนี้การนอนผิดท่ายังเป็นสาเหตุให้เกิดอาการของโรคนอนไม่หลับ หรือหลับๆ ตื่นๆ ตลอดเวลาการนอน เพราะระหว่างที่นอนผิดท่าในระหว่างการหลับนั้น ร่างกายจะได้รับความเจ็บปวดเล็กน้อยตลอดเวลา ทำให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนเต็มที่ และทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า จนอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับ

3 ท่านอนแก้ปวดเอว สำหรับผู้สูงอายุ

1. นอนตะแคงข้างก่ายหมอน

ให้ผู้สูงอายุนอนตะแคงข้างที่ถนัด หนุนหมอนที่ศีรษะตามปกติ งอเข่าทั้งสองข้างและวางหมอนหนุนไว้ระหว่างขาทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เข่าที่อยู่ด้านบนแตะที่นอน มิเช่นนั้นกระดูกสันหลังส่วนล่างจะพลิก ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดหลังและสะโพกได้

2. นอนหงายหนุนเข่า

ให้ผู้สูงอายุนอนหงายหนุนหมอนที่ศีรษะ ปล่อยตัวตามสบายโดยวางหมอนหนุนอีกใบไว้ใต้หัวเข่าทั้งสองข้าง เพื่อช่วยรักษาความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนล่าง ท่านี้เหมาะสำหรับผู้มีอาการปวดหลังที่ไม่รุนแรงมากนัก

3. นอนคว่ำหนุนหน้าท้อง

หากผู้สูงวัยไม่สามารถนอนท่าอื่นๆ ได้ และจำเป็นต้องนอนคว่ำ ให้นอนหนุนหมอนบริเวณช่วงคอและหน้าอกส่วนบน โดยหันใบหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง และนำหมอนหนุนอีกใบวางไว้ใต้บริเวณสะโพก เพื่อผ่อนคลายความตึงของแผ่นหลัง และหากยังรู้สึกตึงหรือเจ็บปวดอยู่ให้นำหมอนหนุนที่ศีรษะออก

 

ปัจจัยที่ช่วยในการนอนหลับให้สบายมากขึ้น

แม้ท่านอนจะส่งผลต่อการนอนของผู้สูงอายุอยู่มาก แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย ดังนี้

1. วัสดุรองรับการนอนหรือที่นอน

เลือกที่นอนที่มีความยาว และ กว้างมากกว่าลำตัว เพื่อที่เมื่อนอนแล้วที่นอนจะสามารถรองรับน้ำหนักได้ทั่วทั้งตัว และนอนแล้วที่นอนไม่แข็งหรือไม่นิ่มจนเกินไป เมื่อนอนแล้วกระดูกสันหลังอยู่ในแนวเส้นตรงไม่เกิดการผิดรูปทรง ไม่ว่าจะนอนในท่านอนหงายหรือนอนตะแคง เพราะที่นอนที่นิ่มจนเกินไปเมื่อนอนที่นอนจะยุบจะทำให้กระดูกสันหลังช่วงกลางลำตัวจะมีการแอ่นตัวมากกว่าส่วนอื่นๆของร่างกาย เพราะจากส่วนนี้มีน้ำหนักมากกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย แต่ถ้าที่นอนแข็งจนเกินไป เมื่อนอน ที่นอนจะไม่มีการยุบตัวตามส่วนเว้า และส่วนโค้งของร่างกายจะทำให้กระดูกสันหลังต้องทำการแอ่นตัวในการนอน

2. สภาพแวดล้อมในการนอน

นอนในที่มืด การนอนควรนอนในห้องที่ไม่มีแสงสว่าง ไม่ว่าจะเป็นแสงธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟ เพราะว่าแสงสว่างที่มีเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลให้ร่างกายหลับได้ไม่สนิทควรนอนในที่มีแสงไฟหรือแสงจากธรรมชาติเล็กน้อย และนอนในที่เงียบในห้องหรือสถานที่นอนควรเงียบไม่มีเสียงดังรบกวน ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไรก็ตามจะทำให้หลับได้สบายมากขึ้น

3. ท่าทางในการนอน

ท่าทางในการนอนนั้น เป็นปัจจัยที่จะสามารถลดความเสี่ยงและช่วยลดอาการกระดูก หรือปวดตามร่างกายหรือการทำให้ร่างกาย ผิดรูปทรงตามธรรมชาติได้ เพราะนอกจากการนอนที่หลับสนิทแล้วแต่นอนด้วยท่วงท่าที่ผิดก็จะส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดผิดรูปร่างจากธรรมชาติที่ควรจะเป็นได้ เช่นนอนงอตัว นอนกอดเข่า การนอนผิดท่าดังกล่าวจะส่งผลให้กระดูกสันหลังและเกิดการผิดรูปทรงตามธรรมชาติได้ ดังนั้นการนอนในท่วงท่าที่ถูกต้องในขณะที่ทำการนอนจึงสามารถช่วยลดอาการกระดูกสันหลังผิดรูปทรงได้

อย่างไรก็ดี เพียงแค่บุตรหลานคอยปรับพฤติกรรมการนอนของผู้สูงอายุให้ดี โดยนอนในท่าทางที่ถูกต้อง ถูกสุขลักษณะ เลือกเครื่องนอนและจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็สามารถช่วยให้การนอนมีคุณภาพ หลับได้เต็มอิ่ม ถนอมกระดูกและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ รวมถึงระบบประสาท และทำให้สามารถตื่นขึ้นมาทำกิจวัตรประจำวันและทำงานได้อย่างสดชื่นและกระปรี้กระเปร่า มีชีวิตที่ยืนยาวโดยปราศจากการบาดเจ็บต่อระบบประสาท กระดูก และกล้ามเนื้อของท่าน


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง