โรคเสียงดังในหู หูอื้อในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไรดี?

โรคเสียงดังในหู ในผู้สูงอายุ มักเป็นเสียงที่เกิดจากต้นกำเนิดเสียงจากภายนอก บุตรหลานหลายๆ ท่านคิดว่าเป็นอาการธรรมดาแต่แท้จริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเป็นภาวะที่สร้างความลำบากและทำให้เกิดความรำคาญให้แก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก อีกทั้ง โรคนี้มีทั้งภาวะที่ทั้งไม่มีอันตรายและมีอันตรายด้วย ดังนั้น บุตรหลานจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลของโรคชนิดนี้เอาไว้ เพื่อทราบถึงลักษณะอาการ และสามารถพาผู้สูงวัยไปรักษาได้อย่างวิธี

โรคเสียงดังในหู หูอื้อในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไรดี?

โรคเสียงดังในหู หูอื้อในผู้สูงวัยเกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไรได้บ้าง? 

การได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือบางรายอาจรู้สึกเหมือนมีอะไรอุดหูหรือรู้สึกมีเสียงรบกวนในหู ซึ่งอาจเป็นเสียงแหลมวี้ด ๆ คล้ายมีแมลงวันบินอยู่ในหู หรือเป็นเสียงหึ่งๆ หรือเสียงตุบๆ ที่ดังตามจังหวะการเต้นของชีพจร เป็นต้น แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ได้ยินเสียงเหล่านี้จะรู้สึกรำคาญจนทนไม่ได้ เพราะบางคนอาจไม่มีปัญหากับอาการหูอื้อที่เกิดขึ้นเลยก็ได้ ทั้งนี้หูอื้อบางชนิดก็มีอันตราย บางชนิดก็ไม่มีอันตราย

สาเหตุที่ทำให้หูอื้อ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูอื้อมีหลายสาเหตุ เช่น

  • อาการหูอื้ออาจเกิดร่วมกับอาการปวดหู, หูตึง/หูหนวก, ปวดศีรษะ, ภาวะซีด, มีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู
  • อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นทันทีหลังการว่ายน้ำหรือดำน้ำ (หรือใช้เครื่องส่องหูดูพบว่ามีขี้หูอุดตัน) มักเกิดจากขี้หูอุดตัน
  • อาการหูอื้ออาจเกิดขึ้นหลังจากการดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต หรือสูบบุหรี่
  • ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับมีก้อนค้างที่คอ อาจเกิดจากคางบวม/คอบวม
  • ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับเป็นไข้หวัดหรือเจ็บคอ อาจมีสาเหตุมาจากท่อยูสเตเชียนบวมจากโรคติดเชื้อ และถ้ามีเยื่อแก้วหูบวมแดงร่วมด้วยอาจเกิดจากหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน

ประเภทของเสียงในหู จากภาวะโรคเสียงดังในหู

เสียงในหู คือ เสียงที่เกิดจากความผิดปกติของหูหรืออวัยวะข้างเคียง ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

เสียงในหูที่ผู้ป่วยได้ยินคนเดียว (Subjective Tinnitus)

เช่น เสียงแหลมวี้ดหรือเสียงจิ้งหรีดร้อง, เสียงหึ่งๆ อื้อๆ, เสียงลม, เสียงพรึบพรับ เป็นต้น

เสียงที่แพทย์ได้ยินด้วย (Objective Tinnitus)

มักเป็นเสียงที่เกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ (Carotid artery) หลอดเลือดดำใหญ่ (Jugular vein) ที่ผ่านจากคอไปสมอง ซึ่งมักเป็นเสียงตุบๆ หรือเสียงฟู่ๆ ตามชีพจร

ลักษณะเสียงรบกวนในหู

การสังเกตลักษณะเสียงรบกวนในหูของผู้ป่วยต่อไปนี้จะช่วยในการวินิจฉัยโรคที่เป็นสาเหตุได้ เช่น

เสียงแหลมวี้ดๆ คล้ายมีแมลงในหู หรือเสียงจิ้งหรีดร้อง หรือเสียงรบกวนที่มีความถี่สูง

เกิดจากความเสื่อมของหูชั้นใน ทั้งมาจากอายุที่มากขึ้นและจากการได้ยินเสียงเป็นเวลานาน ๆ หรือจากการได้ยินเสียงดังมาก ๆ ในทันที (เช่น เสียงระเบิด เสียงพลุ เสียงปืน เสียงประทัด), การติดเชื้อบางชนิด (เช่น เชื้อซิฟิลิสหรือเชื้อไวรัสที่ทำให้หูชั้นในอักเสบ), การผ่าตัดรักษาโรคทางสมองหรือทางหูบางโรคที่อาจกระทบกระเทือนประสาทหู, การใช้ยาบางอย่าง (เช่น ยาปฏิชีวนะที่มีผลข้างเคียงต่อประสาทหู ยาขับปัสสาวะบางชนิด ยาลดการอักเสบกลุ่มแอสไพริน ยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีบริเวณศีรษะเพื่อรักษาโรคมะเร็ง) เป็นต้น

เสียงหึ่งๆ อื้อๆ

หรือเป็นเสียงรบกวนที่มีความถี่ต่ำ มักเกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ร่วมกับอาการเวียนหัวบ้านหมุนและการได้ยินลดลง

เสียงลม

เกิดจากการทำงานของท่อปรับความดันหูผิดปกติ

 

การฟื้นฟูบำบัดด้วยยารักษา

  1. ยาคลายกังวล ยาขยายหลอดเลือด ยานอนหลับ ยาบำรุงประสาทหู ยาลดความไวประสาทหู เป็นต้น โดยต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางอย่างเคร่งครัด
  2. การผ่าตัดผูกเส้นเลือด ผ่าตัดเนื้องอกในสมอง

รักษาเสียงรบกวนในหู

วิธีการรักษาเสียงรบกวนในหูจะรักษาตามสาเหตุที่แท้จริงเป็นหลัก ได้แก่

  1. เลี่ยงสิ่งกระตุ้น ได้แก่ เสียงดัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  2. เครื่องช่วยฟัง ช่วยให้ได้ยินชัดเจนขึ้นและลดอาการเสียงรบกวนในหูได้
  3. กลบเสียงในหู  ด้วยการเปิดเพลงเบาๆ เปิดวิทยุ

การรักษาภาวะเสียงดังในหูในผู้สูงอายุด้วย TMS (เครื่องกระตุ้นเซลล์สมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า)

ในการทำงาน เครื่อง TMS จะสร้างสนามแม่เหล็กกำลังสูง และส่งสนามแม่เหล็กนั้นไปกระตุ้นเซลล์สมองในบริเวณที่เป็นโรค ซึ่งการกระตุ้นให้เซลล์สมองเกิดกระแสไฟฟ้าเช่นนี้จะทำให้เซลล์สมองมีการเชื่อมต่อที่ดีขึ้น ปรับการทำงานของสารสื่อประสาทให้สมดุล ทำให้เซลล์สมองสั่งงานได้ดีขึ้น และยังเป็นการเพิ่มการทำงานของเซลล์ผนังหลอดเลือด ทำให้เพิ่มการไหลเวียนเลือดบริเวณสมองที่ได้รับการกระตุ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ดี การรักษาโรคทางระบบประสาทด้วยเครื่อง TMS  ถือเป็นการรักษาแนวทางใหม่ แม้จะเป็นทางเลือกในการรักษาโรคทางระบบประสาทร่วมกับการรักษาหลัก มีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงน้อย ให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพดี แต่บุตรหลานยังคงต้องพาผู้สูงอายุที่มีอาการเสียงดังในหูเข้าพบแพทย์อยู่ เพื่อหาแนวทางการรักษาให้เหมาะกับผู้สูงอายุแต่ละท่าน ให้อาการดีขึ้น เพราะจากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าอาการเสียงในหูเช่นนี้มีทั้งชนิดที่แบบไม่มีอันตรายและมีอันตราย ดังนั้น บุตรหลานจึงควรเฝ้าระวังและคอยหมั่นสังเกตผู้สูงอายุว่ามีอาการในโรคนี้หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายๆ ขึ้นนั่นเอง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง