ลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุ อย่างไรให้ห่างไกลที่มากับความอ้วน บุตรหลานหลายๆ คนอาจกังวลใจและเป็นห่วงผู้สูงอายุในครอบครัวเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับความอ้วนและน้ำหนักที่เกินมาตรฐานของพวกท่าน เพราะเมื่ออายุยิ่งเพิ่ม น้ำหนักที่มากขึ้นยิ่งตามมา ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดี เนื่องจากระบบเผาผลาญของพวกท่านไม่สามารถทำงานได้เต็มที่เท่าเมื่อตอนหนุ่มสาว นั่นจึงเป็นหน้าที่ของสมาชิกในบ้านที่ต้องคอยช่วยกันดูแลและควบคุมน้ำหนักของผู้สูงอายุให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมนั่นเอง
ลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุ อย่างไรให้ห่างไกลที่มากับความอ้วน?
เมื่ออายุมากขึ้น หลายคนประสบปัญหาน้ำหนักตัว แม้จะออกกำลังกายเป็นประจำ หรือพยายามควบคุมน้ำหนัก แต่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้ง่ายเหมือนตอนวัยรุ่น
ผู้สูงอายุอ้วนง่ายจริงไหม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
ต้นตอของน้ำหนักที่มากขึ้นนั้น เนื่องจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของกระดูกลดน้อยลง การทำงานที่สอดคล้องกับระบบประสาทลดลง ร่วมกับระดับฮอร์โมนต่างๆ ทำงานได้น้อยลงและปรับตัวช้าลง ซึ่งส่งผลทำให้การเผาผลาญพลังงานในคนสูงอายุลดลง จึงทำให้คนสูงอายุมีโอกาสอ้วนง่ายจากการเผาผลาญที่ลดน้อยลง
ในผู้สูงอายุต้องระวังภาวะ “อ้วนลุงพุง” จากการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารผิดปกติ ไขมันหน้าท้องแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งจะยับยั้งกระบวนการเผาผลาญกลูโคสที่กล้ามเนื้อ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ตีบ หรืออุดตัน เป็นต้น
โรคอะไรบ้างที่มาพร้อมกับ “ความอ้วน”
ผู้ที่มีภาวะอ้วน จะส่งผลเสียกับร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังและอาการต่างๆ ตามมา เช่น
-
โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
-
โรคความดันโลหิตสูง
-
โรคไขมันในเลือดสูง
-
โรคเบาหวาน
- โรคหัวใจ
-
โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
-
โรคมะเร็งต่างๆ

แนวทางการดูแลและควบคุมน้ำหนักให้กับผู้สูงอายุ
-
ควรดูแลให้ผู้สูงอายุกินอาหารให้ตรงเวลา
และครบทุกมื้อ เพื่อรักษาระบบเผาผลาญอาหารให้เป็นปกติ แต่ต้องลดปริมาณในแต่ละมื้อลง
-
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
เพื่อกระตุ้นระบบเผาผลาญอาหาร และลดความอยากกินอาหาร
-
วิธีปรุงประกอบอาหาร
โดยแนะนำให้ประกอบด้วยวิธีต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ แทนการทอด เพื่อลดการใช้น้ำมัน เช่น แกงจืด แกงส้ม แกงเลียง
-
เลือกอาหารที่มีใยอาหาร
เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด อย่างข้าวกล้อง หรืออาหารเช้าซีเรียลโฮลเกรนผสมนมไขมันต่ำ เพราะใยอาหารจะช่วยให้อิ่มนาน ลดการกินจุบจิบ และสามารถช่วยดูดซับน้ำตาลและโคเลสเตอรอลในเลือดได้
-
ให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำ
เช่น การเดิน หรือวิ่งเหยาะๆเพื่อให้รู้สึกสดชื่น และร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดี อย่างไรก็ตาม การควบคุมน้ำหนักให้กับผู้สูงอายุควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหม ลูกหลานควรดูแลและให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้ภารกิจควบคุมน้ำหนักนี้สำเร็จได้ด้วยดี
ข้อดีของการควบคุมน้ำหนักให้กับผู้สูงอายุ
การควบคุมน้ำหนักในผู้สูงอายุนั้นจะมีผลดีต่อสุขภาพทั้งปัจจุบันและอนาคตระดับไขมัน ระดับน้ำตาล ระดับความดันจะลดลง ลดอาการของทั้งผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยโรคอ้วน ให้รู้สึกแข็งแรงขึ้น แจ่มใสขึ้น อาการเหนื่อยง่ายจะดีขึ้น อาการแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจ ประจำเดือนผิดปกติก็ดีขึ้นด้วย
ท้ายที่สุด ลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุ ไว้ก่อนถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะเป็นการป้องกันโรคร้ายต่างๆ ไว้ก่อนนั่นเอง ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญในการควบคุมน้ำหนัก คือการเลือกอาหารให้ผู้สูงอายุได้รับประทาน โดยควรเลือกวัตถุดิบที่มีคอลเลสตอรอลน้อย รวมถึงเลือกวิธีการปรุงเมนูอาหารนั้นๆ ให้มีความมันน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยถ้าหากบุตรหลานท่านใดอยากทราบแนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่มากขึ้น ก็สามารถเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วยเพื่อแนวทางการดูแลที่ดีขึ้นนั่นเอง
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง