“ฟื้นฟูสมอง” เป็นขั้นตอนของการรักษาอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยในโรคสมองเสื่อมและหลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก เนื่องจากลักษณะอาการของโรคเหล่านี้จะส่งผลต่อสมองของผู้สูงอายุโดยตรง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม หลังจากการรักษาจากแพทย์ในโรงพยาบาล เราจึงจำเป็นต้องหากิจกรรมมาช่วยฟื้นฟูให้กับผู้สูงอายุนั่นเอง เพราะนอกจากผู้สูงอายุจะมีระบบประสาทที่ดีขึ้นแล้ว ก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติได้วัยขึ้นอีกด้วย
“ฟื้นฟูสมอง” สำคัญอย่างไร ทำไมผู้สูงอายุต้องเข้ารับการบำบัด?
เมื่อผู้สูงวัยที่มีภาวะของโรคสมองเสื่อมหรือได้รับความเสียหายทางระบบประสาทและสมอง นอกจาก การได้รับการดูแลด้วยความรัก ความเข้าใจจากลูกหลานและคนในครอบครัวแล้วนั้น การได้รับการตรวจประเมินภาวะทางด้านร่างกาย ด้านความจำ และอารมณ์ ก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการฟื้นฟูเช่นนี้จะช่วยเสริมสร้างภาวะทางจิตใจและทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โรคทางสมองที่มักพบในผู้สูงอายุ
ผู้ป่วยสูงอายุโรคทางสมองส่วนใหญ่ นอกจากโรคสมองเสื่อมแล้ว ก็ยังสามารถพบภาวะโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มหลอดเลือดสมองตีบและกลุ่มหลอดเลือดสมองแตก นั่นเอง และหากผู้ป่วยหลอดเลือดสมองทั้งสองกลุ่มผ่านพ้นช่วงวิกฤติแล้ว สมองจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วและทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถ้าผู้ป่วยได้รับการดูแลและการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม
จุดประสงค์ของกิจกรรมในการฟื้นฟู
- ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันกับครอบครัวได้เป็นปกติ
- สมองและกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นและพัฒนาความสามารถในระยะยาว
- ผู้ป่วยสามารถดึงศักยภาพออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในการทำกิจกรรมต่างๆ

5 กิจกรรม ช่วยฟื้นฟูระบบสมองของผู้ป่วยสูงอายุสมองเสื่อมและโรคสมองอื่นๆ
1.ให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมประจำวันด้วยตนเอง
เช่น กิจวัตรประจำวันพื้นฐานที่แบ่งไปตามความสามารถของผู้ป่วย ซึ่งอาจจะเป็นการสวมเสื้อผ้า การอาบน้ำ รับประทานอาหาร ฯลฯ ที่ถือว่าเป็นการดำรงชีวิตอย่างเป็นอิสระพอสมควรภายในบ้านหรือที่พักอาศัย
2.ส่งเสริมด้านภาษาทั้งเขียนและพูด
โดยกิจกรรมนี้จะเป็นการฟื้นฟูและทดสอบผู้สูงอายุเบื้องต้น ในเรื่องของการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการแสดงท่าทาง เนื่องจากผู้สูงอายุที่ป่วยโรคทางระบบสมองหรือประสาท ส่วนใหญ่จะมีกลุ่มอาการที่เกิดจากความเสียหายจากเส้นประสาท จึงทำให้นึกช้า พูดไม่ทันตามที่คิด สับสน เป็นต้น กิจกรรมที่สูกหลานควรส่งเสริมอาจะเป็นการนำรูปตัวอักษรไทยมาให้ท่านดู ประสมคำ นำอักษรมาประสมสระ เป็นต้น และอาจทำกายภาพบำบัดให้ท่านช่วงปากเพื่อให้ขยับได้ง่ายขึ้น
3. กิจกรรมบำบัดด้วยการรับรู้ตามความเป็นจริง
โดยกิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมบำบัดที่ช่วยส่งเสริมการรับรู้ ความเป็นจริง เช่น วัน เวลา สถานที่ บุคคล พฤติกรรมการแสดงออกของตนเอง และสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวใหม่อีกครั้งหนึ่ง บุตรหลานอาจจะต้องหาเวลาว่างที่มีร่วมกันในครอบครัว นั่งคุยกับผู้สูงอายุในเรื่องต่างๆ ในอดีต การพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ใน
ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญหรือมีชื่อเสียง หรือชีวประวัติของตนเอง เป็นต้น
4. กิจกรรมบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด
โดยเป็นการส่งเสริมให้ใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลมากกว่าความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง เช่น กิจกรรมเกี่ยวกับ “ใบหน้า” จะมีคำถามให้ตอบว่า “ใครดูอ่อนที่สุด”ซึ่งอาจใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเป็นส่วนเสริมได้ด้วย โดยบุตรหลานอาจจะนำการใช้ reality orientation board มาบำบัดร่วมด้วยเพื่อให้ผู้สูงอายุเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น
5. กิจกรรมบำบัดทักษะทางด้านการจัดการ
กระตุ้นการคิด ตัดสินใจด้วยกิจกรรมจัดของในบ้าน คำนวนค่าใช้จ่ายในการซื้อของใช้ต่างๆ โดยกิจกรรมเช่นนี้จะส่งผลให้ผู้สูงวัยสามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้ด้วยตนเอง และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี ทั้ง 5 กิจกรรมฟื้นฟูระบบสมองนี้เป็นเพียงกิจกรรมที่บำบัดผู้สูงอายุทางกายเท่านั้น สิ่งสำคัญคือบุตรหลานในครอบครัวต้องคอยดูแลผู้สูงอายุทางด้านจิตใจร่วมด้วย เพราะการที่ผู้สูงอายุต้องสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายไปแบบกระทันหันนั้น จะส่งผลให้ท่านเกิดภาวะซึมเศร้าได้ ร่วมถึงมีอารมณ์ที่แปรปรวน ดังนั้น สมาชิกทุกคนในครอบครัวจึงต้องทำความเข้าใจ และคอยให้กำลังใจผู้สูงอายุในการบำบัด เพื่อที่ท่านจะได้รู้สึกถึงความรักและมีคุณค่าต่อครอบครัวด้วย
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง