“โรคกระดูกพรุนในผู้สูงวัย” ภัยร้ายที่มองไม่เห็น

“กระดูกพรุน” โรคที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น แน่นอนว่าเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยชราระบบในร่างกายหรืออวัยวะต่างๆ ก็เริ่มถดถอยลงไปตามการเวลา ซึ่งเราทุกคนไม่สามารถห้ามเรื่องนี้ได้ หากแต่สิ่งที่เราทำได้คือการหมั่นคอยดูแลคอยรักษาให้แข็งแรง โดยเฉพาะเรื่องกระดูกที่บุตรหลานต้องคอยเฝ้าระวังและเอาใจใส่ให้กับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นระบบที่สำคัญและหากเกิดปัญหากับระบบนี้ขึ้นก็จะส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรงนั่นเอง

"โรคกระดูกพรุนในผู้สูงวัย" ภัยร้ายที่มองไม่เห็น

“กระดูกพรุน” ในผู้สูงอายุคืออะไร มีสาเหตุจากอะไร?

ทุกคนทราบหรือไม่ว่าโรคกระดูกประเภทนี้พบในผู้สูงวัยของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5 แสนคนแล้ว นั่นเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงของประเทศเราว่าเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง อีกทั้งบุคคลที่อยู่ในวัยนี้ยังมีการเสื่อมถอยเกี่ยวกับระบบอื่นๆ ด้วยซึ่งก็เป็นการยากที่จะใช้ชีวิตให้แข็งแรงเหมือนวัยอื่นๆ ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่ว่าโรคกระดูกประเภทนี้เป็นภัยเงียบในผู้สูงวัยเนื่องจากไม่มีอาการที่แน่ชัดบ่งบอกว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ดังนั้นลูกหลานจึงต้องคอยดูแลให้ผู้ใหญ่ในบ้านก่อนที่มันจะเกิดขึ้น

ลักษณะอาการ

ภาวะนี้โรคชนิดหนึ่งซึ่งมวลกระดูกลดน้อยลง มักเกิดกับสตรีวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เกิดจากอัตราการสร้างและการทำลายกระดูกที่ไม่สมดุลกัน โดยปกติแล้วร่างกายมนุษย์จะมีการสร้างและทำลายกระดูกอยู่ตลอดเวลาและอยู่ในสมดุล แต่มีบางภาวะที่อาจส่งผลให้การสร้างและทำลายมวลกระดูกผิดปกติ เช่น ในคนที่หมดประจำเดือน ฮอร์โมนเพศหญิงลดน้อยลง ส่งผลให้มีการทำลายกระดูกมากขึ้นและสร้างได้น้อยลง มวลกระดูกโดยรวมจึงลดน้อยลงกลายเป็นภาวะกระดูกเสื่อมในที่สุด

การสังเกตผู้สูงอายุว่ามีแนวโน้มของการเป็นโรคนี้หรือไม่

  • วัดส่วนสูงอยู่เสมอ

หากพบว่าท่านเตี้ยลงกว่าตอนวัยหนุ่มหรือวัยสาวมากกว่า 4 เซนติเมตร ควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

  • ลองทบทวนว่าผู้สูงอายุท่านนั้นๆ เคยกระดูกหักง่ายมาก่อนหรือไม่

มีกระดูกหักง่ายในครอบครัวหรือไม่ หากใช่ควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจละเอียด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค

  • เพศ

เกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนก็ลดลง ทำให้เนื้อกระดูกลดลงตามไปด้วย

  • อายุที่มากขึ้น

ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ทั้งหญิงและชาย เซลล์สร้างกระดูกมีจำนวนลดลงไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้กระดูกบางและเสื่อมลง

  • กรรมพันธุ์

หากญาติใกล้ชิดทางสายเลือดมีประวัติป่วยเป็นโรคกระดูกชนิดนี้ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับโรคดังกล่าวด้วย

  • สูบบุหรี่

สารพิษในควันบุหรี่ลดการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก

  • การใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ

เช่น ยาสเตียรอยด์ ยากันชักบางชนิด หากจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้เป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

  • การบริโภคอาหาร

กินอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือกินอาหารที่ทำให้แคลเซียมเสียสมดุล อย่างอาหารจำพวกโปรตีนจากเนื้อสัตว์ซึ่งมีความเป็นกรดสูง ดื่มน้ำอัดลม กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • ขาดการออกกำลังกาย

ขยับร่างกายน้อยหรือไม่ขยับร่างกาย เซลล์สลายกระดูกก็เพิ่มจำนวนและทำงานมากขึ้น

 

วิธีการป้องกันให้กับผู้สูงอายุ

  • เดินเล่นออกรับแสงแดด

จะช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างกระดูกได้

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

และต้องอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะทุกวัน โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูงควรรับประทานให้เพียงพอในแต่ละวัน

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ไม่ควร

เช่น แอลกอฮอล์หรือน้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เช่น เต้นแอโรบิก การเดินเร็ว การเดินสลับวิ่ง หมั่นตรวจสุขภาพและความพร้อมของร่างกายอยู่เสมอ

  • ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

เช่น ผู้สูงอายุ หญิงวัยหมดประจำ ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจกรองโรคกระดูกต่างๆ

  • ไม่สูบบุหรี่

  • รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์

อย่างไรก็ดี การรักษาโรคกระดูกชนิดนี้สามารถป้องกัน โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมา และป้องกันการหกล้มหากทราบว่าผู้สูงอายุมีปัญหากระดูกบางหรือเสื่อม ควรรับประทานยาเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกภายใต้การดูแลตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยทำให้กระดูกหนาแน่นและแข็งแรงขึ้นหรือควรเสริมด้วยแคลเซียมชนิดเม็ดเพื่อบำรุงกระดูกนั่นเอง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง?

พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ต้องระวัง

ไม้เท้าผู้สูงอายุเลือกอย่างไร 3 วิธีช่วยเลือกให้เหมาะ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง