การจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัด แบบต่างๆ จัดอย่างไรให้ถูกต้อง

“การจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัด แบบต่างๆ” หนึ่งในวิธีการดูแลที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดสูงอายุ แม้จะเป็นเพียงการปรับและจัดท่านอน แต่ก็ส่งผลต่ออาการหลังผ่าตัดต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วหลังจากการผ่าตัด หรือการจัดท่านอนให้กับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะผู้ป่วยติดเตียง หรือ อัมพฤกษ์ อัมพาท นั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนท่าในทุกๆ 2 ชั่วโมงเพราะมิเช่นนั้นจะส่งผลต่อมวลกล้ามเนื้อที่อาจลดลง หรือ การอักเสบและติดเชื้อหลังผ่าตัดได้นั่นเอง นั่นจึงเป็นหตุผลว่าทำไมบุตรหลายจึงควรใส่ใจในเรื่องนี้

การจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัด แบบต่างๆ จัดอย่างไรให้ถูกต้อง

“การจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัด แบบต่างๆ” สำคัญอย่างไร…

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าการจัดท่านอนหลังผ่าตัดค่อนข้างเป็นเรื่องสำคัญ เพราะแม้ว่าการผ่าตัดจะสิ้นสุดลง แต่การดูแลผู้ป่วยสูงอายุยังต้องดำเนินต่อไป เนื่องจากกว่าผู้ป่วยจะหายดีและกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกตินั้นก็ต้องผ่านการรักษาและดูแลหลายขั้นตอน อีกทั้งหากในช่วงการพักฟื้นแผลไม่ดีพอ ก็อาจทำให้แผลเกิดการอักเสบและติดเชื้อได้นั่นเอง

โดยการจัดท่าในการผ่าตัดนั้น ต้องพิจารณาว่ามีผลต่อสรีรวิทยาของผู้ป่วยอย่างไร พิจารณาความถูกต้องตามหลักกายวิภาค (body alignment) ความสะดวกรวดเร็วในการเฝ้าระวังและช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน และมีความเหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้นๆหรือไม่

การจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัด แบบต่างๆ แก่ผู้สูงวัยระหว่างผ่าตัด

1. ท่านอนหงายราบ (supine position)

เป็นท่าที่ใช้บ่อยที่สุดระหว่างการผ่าตัด ระดับของลำตัวและหัวใจอยู่ในระนาบเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา

มีผลต่อระบบไหลเวียนน้อย (หากมีการปรับระดับของศีรษะให้สูงหรือต่ำกว่าระดับหัวใจ อาจพบการเปลี่ยนแปลงในระบบไหลเวียนเลือดได้

2. ท่านอนหงายราบศีรษะต่ำ (supine Trendelenburg)

ปรับระดับศีรษะให้ต่ำกว่าแนวราบ 30-45 องศา นิยมใช้ในการผ่าตัดช่องท้องส่วนล่าง การผ่าตัดทางนรีเวชและทางเดินปัสสาวะ

การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา

ผลต่อระบบไหลเวียนเลือด โดยมีผลเพิ่มปริมาตรเลือดที่ไหลกลับหัวใจ เพิ่มความดันเลือด อัตราการเต้นของหัวใจและ cardiac output ลดลง ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะการที่มีเลือดกลับเข้าสู่หัวใจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย (heart failure) ได้ ทั้งนี้ ผลต่อระบบหายใจ อาจเกิดภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)ได้ง่าย เนื่องจากการปรับระดับศีรษะต่ำเมื่อร่วมกับการให้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ มีผลทำให้อวัยวะในช่องท้องเลื่อนตัวดันกระบังลมไปทางศีรษะ
มีผลเพิ่มความดันในกะโหลกศีรษะ (Intracranial pressure) เนื่องจากรบกวนการไหลกลับของเลือดดำจากสมอง และเพิ่มความดันในลูกตา(Intraocular pressure)

3. ท่านอนหงายราบศีรษะสูง (reverse Trendelenburg)

ปรับระดับศีรษะให้สูงขึ้น 30-45 องศา เพื่อให้อวัยวะในช่องท้องเลื่อนลงด้านล่าง จึงใช้ในการผ่าตัดช่องท้องส่วนบน มักใช้ร่วมกับการผ่าตัดผ่านกล้อง

การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา

ผลต่อระบบไหลเวียนเลือด มีผลลดปริมาณเลือดที่ไหลกลับหัวใจ ทำให้ความดันเลือดต่ำลงได้

4. ท่าคว่ำ (Prone position)

ใช้ในการผ่าตัดหลายอย่าง อาทิ การผ่าตัดกะโหลกศีรษะบริเวณ posterior fossa, การผ่าตัดกระดูกสันหลังบริเวณคอ (Cervical) อก (thoracic) และบั้นเอว (lumbar) , การผ่าตัดบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายและทวารหนัก และการผ่าตัดบริเวณขาและข้อเท้า

การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา

ผลต่อระบบไหลเวียนเลือด มีผลลด cardiac index ลงประมาณร้อยละ 20 จากการเพิ่มขึ้นของความดันในช่องอก , มี stroke volume ลดลง จากกลไกเดียวกันการเพิ่มความดันที่มีต่อหลอดเลือดดำ inferior vena cava ในท่าคว่ำ, และการเพิ่มการขังของเลือดดำบริเวณขา (venous pooling) ยังส่งผลให้ปริมาณที่ไหลกลับสู่หัวใจลดลง ทำให้ cardiac output ลดลงด้วย
 

การจัดท่าผู้ป่วยหลังผ่าตัด แบบต่างๆ ต่างกันอย่างไร ช่วยผู้สูงวัยในเรื่องใดบ้าง?

การจัดท่าผู้สูงอายุหลังผ่าตัด ช่องท้อง

  • ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องงดน้ำและอาหารหลังผ่าตัด และ ได้รับสารน้ำและอาหารทดแทนทางเส้นเลือด เมื่อแพทย์ประเมินว่าลำไส้เริ่มทางาน จะเริ่มทดลองให้จิบน้ำ รับประทานอาหารเหลว เช่น น้ำข้าว ซุปใส และ ปรับเพิ่มเป็น โจ๊ก และข้าวต้มตามลาดั
  • หลังผ่าตัดจะจัดท่านอนศีรษะสูงเล็กน้อยและตะแคงหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้อาเจียนหรือลิ้นไปอุดกั้นทางเดินหายใจ
    หากผู้ป่วยรู้สึกตัว ให้เริ่มพลิกตะแคงตัวและฝึกหายใจ โดยหายใจเข้า-ออก ลึก ๆ ยาว ๆ และหากมีอาการไอ ให้ใช้หมอนกดบริเวณหน้าท้องเบา ๆ ขณะไอ เพื่อช่วยลดแรงสะเทือนจากการไอ ทำให้ปวดแผลลดลง
  • บางรายมีสายใส่ผ่านจมูกสู่กระเพาะอาหาร เพื่อช่วยระบายลม น้ำย่อย หรือมีสายสวนปัสสาวะ ระวังอย่า ให้เลื่อนหลุด หรือพับงอ ขณะพลิกตัว หรือเปลี่ยนท่า
  • หลังผ่าตัด 24 ช.ม. ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ ให้เริ่มลุกนั่งบนเตียง โดยให้นอนตะแคงแล้ว ใช้ข้อศอกยันตัวลุกนั่ง จากนั้นให้ลงมายืนข้างเตียง เดินรอบเตียง และเดินไกลขึ้นตามลาดับ เนื่องจากการลุกจากเตียงได้เร็วจะช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และลาไส้มีการเคลื่อนไหว ทาให้ลำไส้ทำงานได้ดี ลดอาการอืด แน่นท้อง ท้องผูก ทาให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ได้เร็วขึ้น

การจัดท่าผู้สูงอายุหลังผ่าตัด ปอด

  • จัดให้นอนศีรษะสูง เพื่อช่วยให้การระบายของเสียในปอดไหลได้สะดวก
  • ดูแลสายท่อระบายของเสียไม่ให้พับ หรือมีการอุดตัน
  • ท่านอนหลังผ่าตัดปอด ควรนอนตะแคงทับแผลข้างที่ทำการผ่าตัด เพื่อช่วยให้ปอดข้างที่ดีได้มีการขยายตัวเต็มที่
  • หลังผู้ป่วยผ่าตัดใหม่ ๆ ควรกระตุ้นให้มีการหายใจลึกๆ ทุกชั่วโมง กระตุ้นให้ไอขับเสมหะออกให้หมดทุกครั้งที่ได้ยินเสียงเสมหะ และจิบน้ำอุ่นเพื่อช่วยให้ขับเสมหะออกได้ดีขึ้น

การจัดท่าผู้สูงอายุหลังผ่าตัด เข่า

  • วางขาบนหมอนสูง 1-2 ใบ ให้เข่าเหยียดตรง เพื่อลดอาการปวด บวม
  • ไม่นอนแบะขา เพราะจะทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ ทำให้เท้าชาและเกิดปลายเท้าตก
  • สามารถนอนตะแคงเอาด้านที่ผ่าตัดขึ้นบน วางขาบนหมอนสูง

การจัดท่าผู้สูงอายุหลังผ่าตัด สมอง

  • นอนศีรษะสูง 0-30 องศา ศีรษะและลำตัวอยู่ในแนวตรง โดยเอาหมอนมารองบริเวณท้ายทอย
  • หมอนรองใต้หัวไหล่และสะบักในข้างอ่อนแรง แขน หากข้อศอกเหยียดตรงและหมุนออกข้างนอก
  • จัดให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในแนวตรง ศีรษะโน้มไปทางด้านหน้าเล็กน้อย และนำหมอนหนุนบริเวณหลังส่วนล่าง เพื่อพยุงให้ลำตัวอยู่ในแนวตรง
  • ส่วนแขนของผู้ป่วยในข้างอ่อนแรง ควรมีหมอนรองใต้แขนตั้งแต่ ต้นแขนจนถึงปลายแขน โดยแขนของผู้ป่วยยื่นไปข้างหน้า ข้อศอกเหยียด ข้อมือตรง นิ้วมือเหยียดออก
  • หากแขนในข้างอ่อนแรงให้จัดท่าผู้สูงอายุยื่นมาข้างหน้า โดยจับสะบักและข้อไหล่ไปทางด้านหน้า ตามด้วยจัดข้อศอกตรงและหงายมือ โดยการจัดตำแหน่งของสะบักเช่นนี้จะทำให้ผู้ป่วยไม่นอนทับไหล่ของตนเองขาในข้างอ่อนแรง เหยียดขา เข่างอเล็กน้อย ข้อเท้าอยู่ในท่าปกติ ขาในข้างดี นำหมอนมารองตั้งแต่สะโพกถึงปลายเท้า โดยให้ข้อเข่า งอสะโพกเล็กน้อยวางหมอนค่อนมาทางด้านหน้าของขาข้างอ่อนแรง

การจัดท่าผู้สูงอายุหลังผ่าตัด กระดูกสันหลัง

  • นอนหงายชันเข่าทั้ง 2 ข้าง งอสะโพกและข้อเข่า แขนแนบลำตัว ยกศีรษะและลำตัวช่วงบน เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องค้างไว้ 5 วินาที ทำติดต่อกัน 10 ครั้ง
  • นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง แขนแนบลำตัว เกร็งกล้ามเนื้อท้อง กดหลังกับพื้นเตียง เกร็งนาน 5 วินาที พักและทำติดต่อกัน 10 ครั้ง
  • นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง ใช้มือจับเข่างอ เข่าจรดอก ทำแค่ที่ทนได้แล้วปล่อย สลับทำทีละข้าง ข้างละประมาณ 10 ครั้ง โดยการออกกำลังกายแต่ละท่านั้นขึ้นอยู่กับชนิดและวิธีการผ่าตัดด้วย ดังนั้นควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผ่าตัด แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือนักกายภาพบำบัดก่อนเสมอ

ประโยชน์ของการจัดท่านอนให้กับผู้ป่วยผ่าตัดสูงอายุ

  • ป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อ
  • ป้องกันแผลกดทับ
  • ป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด และระบบน้ำเหลือง
  • ช่วยส่งตัวกระตุ้นที่ถูกต้องไปยังสมอง
  • ช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะดูแลร่างกายส่วนที่เป็นอัมพาต
อย่างไรก็ดี การจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัด แบบต่างๆ ไม่ว่าจะทั้งระหว่างการผ่าตัด หรือหลังผ่าตัด ย่อมมีความสำคัญสำหรับผู้สูงอายุทั้งสิ้น เพราะหากจัดท่าดี อยู่ในท่าที่เหมาะสม ก็จะทำให้ทั้งการผ่าตัดและพักฟื้นเป็นไปได้อย่างราบรื่น แถมผู้สูงอายุก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่หากท่าทางหรืออิริยาบทถูกจัดอย่างไม่เหมาะไม่ควร ก็จะส่งผลร้ายต่อแผลและสุขภาพให้กับผู้สูงอายุได้เลยทีเดียว

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง