“เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า” เทคโนโลยีมากความสามารถในการรักษาโรคทางสมองและกล้ามเนื้อที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน แม้เทคนิคทางการแพทย์ในการใช้รักษาอาการโรคดังกล่าวจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เครื่องกระตุ้นชนิดนี้ก็ยังได้รับความไว้วางใจจากทางแพทย์และคนไข้ในการใช้รักษาอาการต่างๆ เนื่องจากเป็นวิธีที่รักษาได้ค่อนข้างแม่นยำ ปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คนไข้ทุกเพศทุกวัยเลือกเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาในเรื่องภาวะอาการที่มาจากระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อาการเหล่านี้ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเจ้าเครื่องกระตุ้นสมองชนิดนี้จึงเหมาะกับผู้สูงอายุมากๆ
“เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า” คืออะไร รักษาโรคทางกล้ามเนื้อชนิดใดในผู้สูงอายุได้บ้าง?
จากที่กล่าวไปในข้างต้นว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์นั้นมีมากมายหลายวิธี แต่การทำ Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) หรือ การกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเป็นอีกหนึ่งหนทางที่มักได้รับเลือก เนื่องจากมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งไม่ต้องเข้าผ่าตัดอีกด้วย เจ้าเครื่องกระตุ้นสมองชนิดนี้จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในหมู่คนไข้สูงอายุเพราะไม่ต้องเสี่ยงกับการเข้ารับการผ่าตัดนั่นเอง
PMS คือ…
เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยที่ใช้รักษาอาการปวด โดยใช้พลังงานจากคลื่นแม่เหล็ก ที่สามารถกระตุ้นทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปถึงเนื้อเยื่อและกระดูกได้ลึกประมาณ 10 ซม. คลื่นจาก PMS จะกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวดและช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ รู้สึกผ่อนคลายในขณะรักษา
PMS ทำงานอย่างไร?
การรักษาโรคทางกล้ามเนื้อด้วยเครื่อง PMS มีหลักการทำงาน คือ เครื่องจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความแรงสูง ทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปจนถึงกระดูกหรือกล้ามเนื้อชั้นลึก ๆ ที่ต้องการกระตุ้น
จากนั้น เครื่องจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดเกิดการหดและคลายตัวสลับกันตามความถี่ที่กำหนดไว้ คล้ายกับการสั่นที่กล้ามเนื้อ จึงช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณที่ถูกกระตุ้น ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายในขณะรักษา
นอกจากนี้ PMS ยังช่วยฟื้นฟูความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาท ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของระบบประสาท (Neuroplasticity) ที่ผิดปกติให้กลับมาเป็นปกติได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บปวดเรื้อรังของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
การรักษาด้วย PMS ได้ผลดีกับโรคใด?
PMS สามารถบำบัดได้ทั้งอาการที่ปวดจากระบบเส้นประสาทและไม่ใช่เส้นประสาท เช่น กล้ามเนื้อ หรือกระดูก ซึ่งประกอบด้วยโรคต่างๆ ต่อไปนี้
- ผู้ที่มีอาการปวด หรือชาจากเส้นประสาท เช่น
- กระดูกสันหลังคอหรือเอวเสื่อมกดทับเส้นประสาท
- หมอนรองกระดูกเคลื่อน
- ปวดชาหรือเกร็งจากอัมพฤกษ์ อัมพาต
- บาดเจ็บเส้นประสาทแขนขา
- อาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง
- บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
- โรคออฟฟิศซินโดรม
- เพิ่มความแข็งแรงและชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต
ระยะเวลาในการรักษา
ใช้เวลาครั้งละ 5-30 นาที ส่วนจำนวนครั้งในการรักษาขึ้นกับอาการและแพทย์พิจารณา ตัวเครื่องมีความปลอดภัยสูงได้รับการรับรองจาก FDA
ประโยชน์ของการรักษาโรคทางกล้ามเนื้อด้วย PMS
- รักษาได้ทั้งอาการและสาเหตุของการปวดเฉียบพลัน ปวดกึ่งเฉียบพลัน และปวดเรื้อรัง
- รักษาได้ทั้งอาการปวดที่มาจากระบบประสาท และอาการปวดที่ไม่ได้มาจากระบบประสาท เช่น อาการปวดจากกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูก
- ช่วยกระตุ้นให้มีการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
- ช่วยกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมส่วนของประสาทที่เสียหาย เช่น เส้นประสาทแขนขา มือตก เท้าตก แขนขาอ่อนแรง การกดทับรากประสาทที่คอและหลัง (ที่เกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือเสื่อม) เป็นต้น
- ช่วยกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางโครงสร้างของเส้นประสาท (neuroplasticity) ที่มีพฤติกรรมผิดเพี้ยนไปจากปกติ ให้กลับมาเป็นปกติ เช่น อาการปวดเรื้อรังจากโรคทางกล้ามเนื้อและกระดูกต่าง ๆ อาการปัสสาวะบ่อย เป็นต้น
- รักษาหรือลดอาการชาได้
- มีส่วนในการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อได้ แม้แต่กล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตหรือมีอาการอ่อนแรง
อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากเทคนิคการรักษาด้วย เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า แล้ว ผู้สูงอายุควรได้รับการทำกายภาพบำบัดควบคู่กันไปด้วย เพราะจะได้ฝึกการใช้งานกล้ามเนื้อให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์การรักษาโรคทางกล้ามเนื้อโดยรวมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งบุตรหลานควรมองหาสถานที่รักษาออฟฟิศซินโดรม ที่มีแนวทางทางเลือกการรักษาที่หลากหลาย เพื่อที่จะได้ทำการบำบัดรักษาควบคู่กันไป ให้สอดคล้องกับสภาพและอาการของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสมที่สุด
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง