“ผู้สูงอายุนอนทั้งวัน” ผิดปกติหรือไม่?

“ผู้สูงอายุนอนทั้งวัน” คือหนึ่งในโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการนอนเช่นเดียวกับ “โรคนอนไม่หลับ” ในผู้สูงอายุหากแต่อาการจะสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง แต่กลับกลายเป็นสัญญาณเตือนของโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่กำลังมาเช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าทั้งโรคนอนไม่หลับและหลับทั้งวันของผู้สูงอายุนั้นเป็นอาการที่เกินพอดีในเรื่องของการนอนทั้งสิ้นและอะไรที่เกินพอดีก็ย่อมหมายถึงเป็นสิ่งที่ “ไม่ปกติ” ทั้งสิ้น

"ผู้สูงอายุนอนทั้งวัน" ผิดปกติหรือไม่?

เมื่อการ “นอนทั้งวัน” เป็นสัญญาณเตือนโรค…

จากผลการวิจัยผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนและสูงอายุ ที่ชอบแอบนอนตอนกลางวัน เพื่อทดแทนการอดนอนตอนกลางคืน ควรจะระวังตัว เพราะมีผลการศึกษาว่า การประพฤติเช่นนั้นจะทำให้เสี่ยงกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะจากโรคของระบบทางเดินหายใจนอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยจากมหาวิทยาลันเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ก็ได้ระบุไว้ว่าผู้ที่นอนกลางวันนานๆ ในช่วงวัย 45-60 ปียังมีโอกาศเสียชีวิตสูงกว่าคนที่ไม่มีพฤติกรรมนี้ถึง 2 เท่า อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่คอยเตือนถึงภาวะโรคต่างๆ อีกด้วย

อาการ “นอนทั้งวันของผู้สูงอายุ” เกิดจากอะไร?

1. อดนอนนานๆ

การอดนอนมาเป็นเวลานานๆ และทำเป็นประจำบ่อยๆ จนร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลให้ผู้มีอาการเช่นนี้รู้สึกว่านอนเท่าไหร่ก็เพียงเพียงพอต่อความต้องการ

2. ฮอร์โมนและสารเคมีในสมอง

สาเหตุมาจากระบบการทำงานของฮอร์โมนและสารเคมีในสมองของผู้สูงอายุเริ่มทำงานเสื่อมถอยลงและทำงานได้ไม่เต็มที่จึงทำให้เวลาที่ควรได้พักผ่อน (ช่วงกลางคืน) ผู้สูงอายุได้รับสารเมลาโทนินที่ช่วยให้หลับสนิทไม่เพียงพอ ท่านจึงต้องมาอาศัยหลับในช่วงเวลาระหว่างวันแทน

3. นาฬิกาชีวิต

ผู้สูงอายุบางท่านที่ยังทำงานด้วยตนเองอาจมีตารางชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น ตารางการทำงานที่ต้องเปลี่ยนกะ การเดินทางบ่อยๆ เป็นต้น ทำให้เวลาในการนอนแปรปรวนอยู่เสมอและสับสนว่าควรนอนเวลาใด

 

ผลเสียของการนอนกลางวันนานๆ ในผู้สูงอายุ

1. สมองล้าและเฉื่อยชา

การนอนพักผ่อนให้เพียงพอเป็นเรื่องที่ดี แต่หากผู้สูงอายุที่นอนนานเกินไปก็จะส่งผลเสียได้โดยเฉพาะกับระบบสมอง เช่น สมองช้า สองเฉื่อยชา ทำให้กลายเป็นคนไม่มีชีวิตชีวา ไม่คล่องแคล้ว และไม่กระปรี่กระเปล่า

2. กระดูกกล้ามเนื้อและข้อลดประสิทธิภาพลง

เนื่องจากหากผู้สูงวัยที่มีอาการนี้เสียเวลาในแต่ละวันไปกับการนอนเป็นส่วนใหญ่การขยับร่างกายจึงน้อย ดังนั้นการทำงานของข้อต่อต่างๆ กระดูก กล้ามเนื้อ จึงไม่ได้ใช้งานและทำให้ประสิทธิภาพของอวัยวะเหล่านี้ลดลง

3. น้ำหนักขึ้น

การติดการนอนนานๆ เกินไปนั้นส่งผลต่อระบบเผาผลาญในร่างกาย ยิ่งโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ระบบการเผาผลาญลดลงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การพฤติกรรมเช่นนี้ก็จะส่งเสริมให้แย่กว่าเดิมและอาจนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

4. เสี่ยงต่อการเป็นซึมเศร้า

การนอนมากๆ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวนจึงส่งผลต่อสารเคมีของอารมณ์และความสุขเกิดการแปรปรวนไปด้วย เช่น เซโรโทนิน เอ็นดอร์ฟิน เป็นต้น

วิธีการรักษาอาการนอนเกินในผู้สูงอายุ

1. เข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม

เพราะการนอน 4 ทุ่มนั้นจะเป็นเวลาที่ร่างกายจะได้รับฮอร์โมนดีๆ ได้อย่างเต็มที่เนื่องจากฮอร์โมนดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้ร่างกายหลับได้ดีแล้วยังช่วยในส่วนของการซ่อมแซมส่วนสึกหลอของร่างกายอีกด้วย

2. ทฤษฎี 28 วัน

ให้ตั้งตารางการเข้านอน-ตื่นนอนให้กับผู้สูงอายุที่มีอาการการนอนเกิน โดยทั้งเวลานอนและเวลาตื่นต้องเป็นเวลาเดียวกันทุกวันและทำซ้ำๆ จนครบ 28 วันเพื่อปรับเวลาของนาฬิกาชีวิตให้เกิดความชิน

3. งดอาหารหนักๆ

ก่อนเข้านอน (เวลากลางคืน)  สัก 4 ชั่วโมง ผู้สูงอายุควรงดการทานอาหารหนักๆ เช่น บุฟเฟ่ ข้าว ขนมปังต่างๆ เพื่อลดการอึดอัดและแน่นท้องในตอนนอน

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นโรคนอนไม่หลับหรือว่าโรคนอนนานเกินไป ในผู้สูงอายุถือว่าส่งผลไม่ดีทั้งสิ้น แม้ในระยะต้นๆ อาการจะไม่ได้ดูน่าเป็นห่วงมากนัก แต่สมาชิกในครอบครัวไม่ควรเพิกเฉยเพราะไม่ว่าอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคแทรกซ้อนที่กำลังตามมาอย่างแน่นอน

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สังเกตภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีความอันตรายอย่างไร

ปวดศีรษะ ออฟฟิศ ซินโดรม รักษาอย่างไรดี?

การดูแลผู้สูงอายุอย่างไรให้สุขภาพดี มีความสุข อายุยืนยาว

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง