“อรรถบําบัด” การบำบัดช่วยฟื้นฟูการพูดและการกลืนในผู้สูงอายุ

“อรรถบําบัด” วิธีที่ช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูการพูดและกลืนอาหารให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประเภทต่างๆ ให้กลับมาทำงานได้ปกติและรวดเร็วมากขึ้น บุตรหลานหลายๆ ท่านอาจเคยได้ยินและคุ้นเคยกับการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้สูงอายุเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจไม่เคยได้ทำความรู้จักกับวิธีการบำบัดการพูดเช่นนี้มาก่อน โดยในบทความนี้เราจะมาพูดคุยกันว่าวิธีการฟื้นฟูทักษะการพูดและการกลืนอาหารเช่นนี้ คืออะไร และช่วยผู้สูงอายุได้จริงหรือไม่

"อรรถบําบัด" การบำบัดช่วยฟื้นฟูการพูดและการกลืนในผู้สูงอายุ

“อรรถบําบัด” คืออะไร ทำไมจึงเหมาะกับผู้สูงอายุในโรคหลอดเลือดสมอง?

การบำบัดการพูด เป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคลด้านการกลืน และการพูดเพื่อการสื่อสาร การบำบัดนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า การแก้ไขการพูด การบำบัดการพูโจะสามารถรักษาผู้ป่วยในทุกช่วงอายุโดยเฉพาะผู้สูงวัย ในทุกรูปแบบความผิดปกติ

Speech Therapy คือ…

การรักษาความผิดปรกติทางภาษาและการพูด เป็นวิธีฟื้นฟูในผู้ป่วยที่มีภาวะเสียการสื่อความหมายจากโรคหลอดเลือดสมอง มีความพิการทางสมอง ผู้ป่วยที่มีเสียงผิดปกติ พูดไม่ชัด โดยนักกายภาพฟื้นฟูด้านการสื่อสาร (Speech-Language pathologist) จะทำการทดสอบความสามารถทางภาษาและการพูดเพื่อประเมินสภาพความผิดปรกติต่างๆ และบำบัดแก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพความผิดปกติทางการความเข้าใจภาษาและการพูด อันเนื่องมาจากความบกพร่องของการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดหรือการได้ยิน เป็นต้น

ความผิดปกติด้านการพูดของผู้ป่วยว่ามีกลุ่มใดบ้าง?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความผิดปกติด้านการควบคุมการพูดที่เกิดขึ้นอยู่ในกลุ่มใด โดยแบ่งออกเป็น  2 กลุ่ม คือ  กลุ่มที่การควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ (Dysarthria) และกลุ่มที่การควบคุมโปรแกรมการพูดผิดปกติ (Apraxia) ดังนั้นจึงควรทราบว่าผู้ป่วยที่เราดูแลจัดอยู่ในกลุ่มใด

  • กลุ่มการควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ (Dysarthria)

จะมีลักษณะการพูดไม่ชัดที่เกิดจากความบกพร่องของเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดทำให้กล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดมีการอ่อนแรง เกร็ง หรือทำงานไม่ประสานสัมพันธ์กัน การพูดไม่เป็นความ ทำให้มีการพูดเสียงเบา เสียงขึ้นจมูก จังหวะของการพูดช้า พูดไม่ชัด

  • กลุ่มการควบคุมโปรแกรมการพูดผิดปกติ (Aphasia)

เป็นปัญหาในการสื่อสารโต้ตอบ บางรายมีลักษณะการนึกคำพูดไม่ออก หรือพูดโต้ตอบไม่ตรงคำถาม หรือมีปัญหาด้านความเข้าใจภาษาลดลง  มีความผิดปกติของไวยากรณ์ในภาษา ทำให้การเรียงลำดับการจัดรูปประโยคผิดได้ เกิดจากความบกพร่องของสมองส่วนที่ทำหน้าที่โปรแกรมการพูดเสียไป

ผู้สูงอายุท่านใดบ้างที่เหมาะกับการเข้ารับการบำบัดการพูด?

  1. ผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติด้านการพูด เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ พูดช้า เป็นต้น
  2. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสื่อสาร มีความยากลำบากในการออกเสียง หรือความผิดปกติในการออกเสียง
  3. ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสียการสื่อความ (การที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติของสมองส่วนการสื่อความ)
  4. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการกลืนหรือเคี้ยวยาก
  5. ผู้สูงอายุที่มีอาการวิตกกังวลมากๆ จนไม่สามารถควบคุมตนเองให้เป็นปกติได้
 

แนวทางการรักษา

ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการจะได้รับการประเมินด้วยแบบทดสอบต่างๆ เพื่อการวินิจฉัย จากนั้นจึงเข้าโปรแกรมการรักษาตามการวินิจฉัยดังกล่าว นักกายภาพฟื้นฟูด้านการสื่อสารจะคัดเลือกหรือประยุกต์ใช้เครื่องช่วย อุปกรณ์เสริม วัสดุเพื่อทดแทนการพูดการสื่อสารให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย ติดตามผลการรักษา ส่งต่อผู้ป่วยเพื่อขอรับการช่วยเหลืออื่นๆ ตามความเหมาะสม

นักกายภาพฟื้นฟูด้านการสื่อสารจะปรับวิธีการบำบัดให้สอดคล้องตามลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละรายโดยแก้ไขความบกพร่องกับกระบวนการพูด ระบบภาษา การทำงานของอวัยวะในช่องปาก คอ หลอดอาหารช่วงต้น การปรับพฤติกรรม การเรียนรู้ อารมณ์ และการอยู่ร่วมกันในสังคม รวมถึงแนะนำแก่ผู้ปกครอง ญาติ ผู้ดูแล หรือผู้เกี่ยวข้องให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติของผู้ป่วยและเรียนรู้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ อย่างเป็นองค์รวม ทั้งทางด้านกายภาพ จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพื่อประสิทธิภาพและผลการรักษาที่ดีที่สุด หลังจากการบำบัดแก้ไข จะมีการประเมินผู้ป่วยและติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติให้สามารถนำโปรแกรมบำบัดการพูดกลับไปฝึกเองที่บ้านหลังจากสิ้นสุดการรักษาที่ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

นอกจากนี้งานบำบัดการพูดยังประสานงานร่วมกับงานดนตรีบำบัดและนันทนาการ เพื่อนำดนตรีมาช่วยบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการพูดไม่ชัด ภาวะบกพร่องทางภาษาหรือสูญเสียการสื่อความจากโรคหลอดเลือดสมอง สมองพิการ และช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน คลายความวิตกกังวลต่อความเจ็บป่วยดังกล่าวอีกด้วย

หน้าที่ของ “นักกายภาพฟื้นฟูด้านการสื่อสาร”

ลักษณะงาน ปฎิบัติงานเกี่ยวกับการวินิจฉัยความผิดปกติของการสื่อความหมายทางภาษาและการพูด ตรวจคัดกรองหาข้อบ่งชี้ ประเมินสภาพความผิดปกติ ทดสอบความสามารถทางด้านภาษาและการพูดรวมถึงการกลืน แยกประเภทความผิดปกติต่างๆ บำบัดรักษา แก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพได้ครอบคลุมทุกประเภทของความผิดปกติ เช่น การพูดไม่ได้ พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ ปากแหว่งเพดานโหว่ ประสาทหูพิการ ออทิสติก สติปัญญาอ่อน กลืนลำบาก กลืนผิดวิธี ผู้ป่วยที่ตัดกล่องเสียง ผู้ป่วยสมองพิการ เป็นต้น

โดยแก้ไขความบกพร่องที่เกิดขึ้นกับกระบวนการพูด ระบบภาษา การทำงานของอวัยวะในช่องปาก คอ หลอดอาหารช่วงต้น การปรับพฤติกรรม การเรียนรู้ อารมณ์ และการอยู่ร่วมกันในสังคมแนะนำแก่ผู้ปกครอง ญาติ ผู้ดูแล หรือผู้เกี่ยวข้องให้มีความเข้าใจ เกี่ยวกับความผิดปกติของผู้ป่วยและเรียนรู้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง

4 วิธีง่ายๆ ช่วยผู้สูงวัยป่วย “โรคหลอดเลือดสมอง” ฝึกพูดและกลืน

1. ใช้คำพูดง่ายๆ สั้นๆ ชัดเจน ชวนคุยเรื่องต่างๆ

เมื่อเริ่มต้นฝึกควรเริ่มแบบง่าย ๆ ใช้คำพูดง่าย ๆ สั้น ๆ และมีรูปแบบเดียวกันในการสอนผู้ป่วยระยะแรก ฝึกกิจกรรมการออกเสียงสระในพยางค์ง่ายๆ เช่น อา อู อี อาอี เช่น ชี้ตา ชี้หู ชี้ปาก ฝึกให้ผู้ป่วยทำตามคำสั่ง หรือพูดตาม และต้องให้เวลาผู้ป่วยตอบสนองก่อน รอประมาณ 5 วินาที แล้วจึงบอกใบ้คำตอบ

ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการออกเสียงของผู้ป่วย ควรช่วยพูดซ้ำ ๆ ขยายคำพูดของผู้ป่วย ต่อเติมในกรณีที่ผู้ป่วยพูดไม่ชัด พูดสั้นเกินไป ควรทำเป็นว่าคุณยอมรับ และเข้าใจในสิ่งที่เขาพูด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความมั่นใจในการพูดคุย

2. ฝึกอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกันเป็นระยะเวลา

เมื่อทราบแนวทางการฝึกแล้ว การกระตุ้นผู้ป่วยต้องอาศัยครอบครัวช่วยกัน เพื่อให้การสื่อความหมายของผู้ป่วยกลับคืนมาให้เร็วที่สุดเท่าที่ความสามารถของผู้ป่วยจะกระทำได้ ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาทั้งด้านความเข้าใจและการพูด ให้เน้นฝึกด้านความเข้าใจก่อน โดยเรียกชื่อสิ่งของหรือบุคคลที่คุ้นเคยให้ผู้ป่วยฟัง และสอนการพูดเรียนเสียง อาจใช้การเขียน หรือท่าทางประกอบในการพูด โดยฝึกอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลาตามที่กำหนด ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยเช่น หากต้องฝึกบ่อย ๆ อาจให้ทำการฝึกทุกวัน วันละ 1- 1.5 ชั่วโมง 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 เดือน นอกจากนี้ยังควรมีการกำหนดเป้าหมายในการฟื้นฟูร่วมกันกับผู้ป่วยและญาติก่อนเสมอ พร้อมทั้งดูแลในด้านของจิตใจ โดยการให้กำลังใจผู้ป่วย

3. ญาติ และผู้ใกล้ชิดต้องมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วย “โรคหลอดเลือดสมอง” ฝึกพูด

ความผิดปกติเกี่ยวกับการพูด” สามารถแก้ไข ฟื้นฟู และบำบัดเพื่อให้ออกเสียง และพูดออกมาเป็นคำ สามารถสื่อความหมายได้อย่างเข้าใจได้ โดยปัจจุบันมีการบำบัดด้านการพูด หรือที่เรียกว่า การบำบัดการพูด (speech therapy) เป็นการฟื้นฟูการพูดที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพูดได้เร็วขึ้น แต่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากญาติ คนใกล้ชิดและผู้ดูแลให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน และเข้าใจสภาพจิตใจผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลใกล้ชิดได้อย่างที่ต้องการ ไม่สามารถอธิบายความรู้สึก อาจสื่อความหมายผิด ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมที่ผิดปกติด เช่น อาการเกรี้ยวกราด การส่ายศีรษะอย่างไร้ความหมาย หรือการนั่งนิ่งเฉย ซึ่งทำให้การสื่อความหมายถูกจำกัด ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ การพยายามทำความเข้าใจผู้ป่วย พร้อมทั้งเรียนรู้แนวทางในการช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยร่วมกับนักแก้ไขการพูด

4. อย่าให้บรรยากาศช่วงเวลาฝึกพูดเครียดจนเกินไป

ควรฝึกพูดก่อนฝึกกายภาพบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด พยายามชวนคุย เล่าเรื่องตลกให้กับผู้ป่วยฟัง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย และมีความสุขเพราะไม่รู้สึกโดดเดี่ยว อาจเชิญเพื่อนๆ ของผู้ป่วยมาช่วยในการฝึก เพื่อผู้ป่วยจะได้พยายามพูดคุยกับเพื่อน และเพื่อนจะเป็นอีกแรงจูงใจในการฟื้นฟู

อย่างไรก็ดี อรรถบำบัด เป็นวิธีฟื้นฟูที่อาจลองทำกิจกรรมสนุกสนาน สัปดาห์ละครั้ง และขณะทำกิจกรรมให้พยายามชวนพูดคุยกับเขาเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเห็นและรู้สึก ในระหว่างการฝึกอาจเกิดจากการเหนื่อยล้าหรือ ฝึกมากเกินที่ผู้ป่วยจะรับได้ ให้ผู้ป่วยพักประมาณ 2 – 3 นาทีแล้วจึงฝึกต่อ ซึ่งญาติๆ ควรขอคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัดหรือนักแก้ไขการพูด เพื่อทำการประเมิน และวางแผนการฝึกพูดร่วมกัน เพื่อรับโปรแกรมการฝึกพูดไปฝึกต่อที่บ้านได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง