“กายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง” เป็นการขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหากล้ามเนื้อกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ เนื่องจากผู้สูงอายุจะไม่สามารถหยิบจับสิ่งของหรือลุกได้ตามปกติ จึงจำเป็นต้องใช้การทำกายภาพมาช่วยบำบัดและฟื้นฟูทักษะและสมรรถภาพร่างกายของพวกท่านให้ดีขึ้นนั่นเอง
“กายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง” ช่วยฟื้นฟูร่างกายของผู้สูงวัยให้ดีขึ้น
ขาอ่อนแรงเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย เช่น ขาอ่อนแรงในเด็กที่มีผลมาจากพัฒนาการของสมอง ขาอ่อนแรงในวัยกลางคน เนื่องจากมีภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หรือมีภาวะหลอดเลือดสมอง ที่ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนแรงของร่างกาย นอกจากนี้ในผู้สูงอายุที่มีการเคลื่อนไหวน้อยลง กล้ามเนื้อฝ่อลีบลง ก็มักจะพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาร่วมด้วยเช่นกัน
สาเหตุของขาอ่อนแรงมีอะไรบ้าง?
ขาอ่อนแรงเป็นอาการแสดงที่สำคัญของโรค หรือความผิดปกติของการทำงานของร่างกายหลายส่วน
ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1.ขาอ่อนแรงจากระบบประสาท (Nervous system)
จะรวมความผิดปกติของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท ซึ่งทำหน้าที่สั่งการให้กล้ามเนื้อเกิดการเคลื่อนไหว เช่น การอ่อนแรงจากโรคหลอดเลือดสมอง การอ่อนแรงจากเส้นประสาทถูกกดทับหรือได้รับบาดเจ็บ
2.ขาอ่อนแรงจากระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system)
เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นโดยตรงกับกล้ามเนื้อบริเวณขาเอง ซึ่งอาจจะเกิดการอ่อนแรงเพียงมัดเดียว แต่กล้ามเนื้อนั้นมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหว หรือเกิดได้ที่กล้ามเนื้อหลายๆ มัดพร้อมกันก็ได้ เช่น กรณีการฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งาน (Disuse atrophy)

ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยอ่อนแรง
- ป้องกันภาวะข้อติดจากการนอนเป็นเวลานาน
- ป้องกันกล้ามเนื้อฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งานในข้างที่มีแรง
- กระตุ้นการทำงานและเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อข้างที่อ่อนแรง
5 ท่ากายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงวัยขาอ่อนแรง
ท่าที่ 1 : นอนหงายเหยียดแขนแนบลำตัว แล้วงอศอกขึ้น กระดกข้อมือขึ้นลงและกำแบนมือ
ท่าที่ 2 : นอนหงายขาเหยียดตรง แล้วยกขาข้างใดข้างหนึ่งขึ้นขณะเหยียดเข่า จากนั้นค่อยๆลดขาลงมาที่จุดเดิม
ท่าที่ 3 : นอนหงายเหยียดขาตรง แล้วยกขาขึ้นข้างใดข้างหนึ่งขณะงอเข่า จากนั้นค่อยๆลดขาลงมาที่จุดเดิม
ท่าที่ 4 : นอนหงายเหยียดขาตรง กางขาข้างใดข้างหนึ่งออกจากลำตัวไปด้านข้างขณะเหยียดเข่า จากนั้นหุบขากลับเข้าที่จุดเดิม
ท่าที่ 5 : นอนหงาย ชันเข่าขึ้น แล้วหมุนข้อสะโพกเข้าออก ทำข้างละ 10 ครั้ง วันละ 1-2 รอบ
แนวทางการดูแลอื่นๆ สำหรับผู้สูงอายุกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- พักผ่อนให้มาก เพื่อลดการเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- หลีกเลี่ยงความร้อนและความเครียด เพราะอาจทำให้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแย่ลงได้
- ติดตั้งราวจับสำหรับผู้ป่วย เช่น ในห้องน้ำ รวมถึงเก็บกวาดบ้านเพื่อป้องกันผู้ป่วยสะดุด
- เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแทนการออกแรงเอง เพื่อป้องกันอาการเหนื่อยในผู้ป่วย เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงยังไม่สามารถป้องกันได้ แต่หลีกเลี่ยงโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ด้วยวิธีการต่างๆ และขาอ่อนแรงเป็นอาการที่พบได้บ่อย การมั่นสังเกตผู้สูงอายุจะช่วยทำให้เข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญและเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งมักจะให้ผลการรักษาที่น่าพอใจกว่า บางรายอาจจะมีการอ่อนแรงชัดเจนขณะเดิน บางรายอาจจะมีอาการอ่อนแรงขณะเดินขึ้นลงบันได้เท่านั้น นั่นจึงเป็นเหตุผลที่บุตรหลานควรหมั่นสังเกตผู้สูงอายุเพื่อประเมินอาการได้อย่างถูกต้อง
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง