5 ท่า กายภาพบําบัด ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในผู้สูงอายุ

กายภาพบําบัด ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปัญหาเรื่องกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานในผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่อชราลง สมรรถภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อก็ลดลง อีกทั้งในบางกรณี ผู้สูงอายุอยู่ในภาวะผู้ป่วยติดเตียง ก็จะยิ่งทำให้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเช่นนี้เกิดได้ง่ายขึ้นอีก ดังนั้น เมื่อบุตรหลานต้องคอยดูแลพวกท่านที่บ้าน ก็ควรมีท่ากายบริหารไว้เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ขยับร่างกายเพื่อป้องกันอาการแขนขาอ่อนแรงไม่ให้เกิดขึ้นกับพวกท่านนั่นเอง

5 ท่า กายภาพบําบัด ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในผู้สูงอายุ

กายภาพบําบัด ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในผู้สูงอายุ ยิ่งฟื้นฟูยิ่งแข็งแรงขึ้น

ขาอ่อนแรงเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย เช่น ขาอ่อนแรงในเด็กที่มีผลมาจากพัฒนาการของสมอง ขาอ่อนแรงในวัยกลางคน เนื่องจากมีภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หรือมีภาวะหลอดเลือดสมอง ที่ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนแรงของร่างกาย นอกจากนี้ในผู้สูงอายุที่มีการเคลื่อนไหวน้อยลง กล้ามเนื้อฝ่อลีบลง ก็มักจะพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาร่วมด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การกายภาพบำบัดขาอ่อนแรงสามารถฟื้นฟูกล้ามเนื้อขา ทำให้ผู้ป่วยขาอ่อนแรงจากเกือบทุกสาเหตุสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนหรือใกล้เคียงปกติที่สุด

สาเหตุของขาอ่อนแรงมีอะไรบ้าง?

ขาอ่อนแรงเป็นอาการแสดงที่สำคัญของโรค หรือความผิดปกติของการทำงานของร่างกายหลายส่วน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

ขาอ่อนแรงจากระบบประสาท (Nervous system)

จะรวมความผิดปกติของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท ซึ่งทำหน้าที่สั่งการให้กล้ามเนื้อเกิดการเคลื่อนไหว เช่น การอ่อนแรงจากโรคหลอดเลือดสมอง การอ่อนแรงจากเส้นประสาทถูกกดทับหรือได้รับบาดเจ็บ

ขาอ่อนแรงจากระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system)

เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นโดยตรงกับกล้ามเนื้อบริเวณขาเอง ซึ่งอาจจะเกิดการอ่อนแรงเพียงมัดเดียว แต่กล้ามเนื้อนั้นมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหว หรือเกิดได้ที่กล้ามเนื้อหลายๆ มัดพร้อมกันก็ได้ เช่น กรณีการฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งาน (Disuse atrophy)

ลักษณะอาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

อาการที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะดังนี้

  • แขน ขาไม่มีแรง ยกแขนไม่ขึ้น เดินสะดุด เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก
  • มีอาการสำลักบ่อย กลืนลำบาก ลิ้นอ่อนแรง หายใจไม่คล่อง พูดไม่ชัด ออกเสียงไม่ได้
  • หนังตาตก มองไม่ชัด เห็นภาพซ้อน
  • กล้ามเนื้อบางส่วนกระตุกหรือเป็นตะคริว โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้า
  • ในบางรายโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำหายใจตื้น หายใจลำบาก ที่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
 

5 ท่า กายภาพบําบัด ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในผู้สูงอายุ

ท่าที่ 1 ท่ายกแขนขึ้นตรง

นอนหงายแขนชิดลำตัว จากนั้นยกแขนขึ้นข้างหน้าช้าๆ จนถึงจุดที่ตึงหรือจนแขนชิดหู จากนั้นหุบกลับสู่ตำแหน่งเดิมช้าๆ

ท่าที่ 2 ท่ายกแขนทางด้านข้าง

นอนหงายแขนชิดลำตัว จากนั้นกางแขนออกทางด้านข้างจนถึงชุดที่ตึง ช่วงที่แขนเลยหัวไหล่ให้หมุนปลายแขนให้นิ้วโป้งชี้ขึ้นแล้วยกแขนจนถึงจุดที่ตึงหรือจนแนบชิดหู จากนั้นหุบเข้าตำแหน่งเดิม

ท่าที่ 3 ท่าชูแขนขึ้นเพดาน

งอศอกขึ้น แขนชิดลำตัว จากนั้นชูแขนขึ้นพยายามแตะเพดาน แล้วหุบเข้าตำแหน่งเดิม

ท่าที่ 4 ท่างอ-เหยียดศอก

แขนเหยียดสุดแล้วจึงงอศอกขึ้นมา พยายามให้ถึงหัวไหล่ตนเอง ทำข้างละ 10 ครั้ง วันละ 1-2 รอบ ข้างที่อ่อนแรงควรมีคนประคองบริเวณข้อศอกและข้อมือดังรูป

ท่าที่ 5 ท่าหมุนแขนคว่ำหงายมือ

นอนหงายแขนชิดลำตัว งอข้อศอกขึ้น จากนั้นหมุนปลายแขนให้มือหงาย

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยสูงวัยในโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • พักผ่อนให้มาก เพื่อลดการเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • หลีกเลี่ยงความร้อนและความเครียด เพราะอาจทำให้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแย่ลงได้
  • ติดตั้งราวจับสำหรับผู้ป่วย เช่น ในห้องน้ำ รวมถึงเก็บกวาดบ้านเพื่อป้องกันผู้ป่วยสะดุด
  • เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแทนการออกแรงเอง เพื่อป้องกันอาการเหนื่อยในผู้ป่วย เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า
  • รับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและไม่ต้องเคี้ยวมาก แบ่งมื้ออาหารเป็นหลายๆ มื้อ และเพลิดเพลินกับการรับประทานและการเคี้ยวในช่วงที่กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ผ้าปิดตาในผู้ป่วยที่เห็นภาพซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพในกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เขียนหรืออ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ และเพื่อลดการเกิดภาพซ้อน

อย่างไรก็ดี อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นอาการที่พบได้บ่อย การหมั่นสังเกตผู้สูงอายุจะช่วยทำให้เข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญและเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งมักจะให้ผลการรักษาที่น่าพอใจกว่า เนื่องจากผู้สูงวัยบางรายอาจจะมีการอ่อนแรงชัดเจนขณะเดิน แต่บางรายอาจจะมีอาการอ่อนแรงขณะเดินขึ้นลงบันไดเท่านั้น นอกจากนี้การอ่อนแรงแบบเฉียบพลันภายใน 1-2 วันยังเป็นอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองได้ หากมีอาการผิดปกติ ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดทันที


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง