นอนหลับยาก ในผู้สูงอายุ กับ 3 ท่ากายบริหารแก้ปัญหานอนไม่หลับ

นอนหลับยาก ในผู้สูงอายุ กับ 3 ท่ากายบริหารแก้ปัญหานอนไม่หลับ

นอนหลับยาก เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย แต่จะมีความน่าเป็นห่วงยิ่งขึ้นหากเกิดในผู้สูงอายุ เนื่องจากปัญหานี้ค่อนข้างส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้สูงอายุจะนอนหลับไม่สนิทในช่วงกลางคืน จึงทำให้ท่านรู้สึกอ่อนเพลีย อ่อนแรง ง่วงซึม ได้ในช่วงกลางวัน ทั้งนี้ อาการนอนหลับยาก ยังส่งผลให้เกิดอาการอดหลับอดนอนสะสม ทำให้เกิดภาวะอื่นๆ ตามมา เช่น ไมเกรนในผู้สูงอายุ หรือ ภาวะเครียด ในผู้สูงอายุ เป็นต้น นอนหลับยาก ในผู้วัยเกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง? เมื่อยิ่งชราลง แน่นอนว่าปัญหาสุขภาพก็จะตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางกล้ามเนื้อ ระบบประสาทต่างๆ กล้ามเนื้อ และ ปัญหาการนอน เป็นต้น โดยปัญหาการนอนนั้น ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยในผู้สูงอายุ เพราะเมื่อเราอายุเพิ่มขึ้น สมองก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ส่งผลกับการนอนของผู้สูงอายุด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม ผู้สูงอายุนอนหลับได้ยากขึ้นกว่าเดิม สาเหตุการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ การนอนไม่หลับ หรือ หลับยาก ในผู้สูงอายุเกิดได้จากหลายสาเหตุ หากบุตรหลานต้องการช่วยรักษาผู้สูงอายุให้ดีขึ้น ควรต้องทราบต้นตอของปัญหาที่แท้จริงเสียก่อน แล้วจึงค่อยหาวิธีรักษาต่อไป สาเหตุเหล่านั้น ประกอบด้วย ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดจากความชรา โดยปกติเมื่อเราอายุเพิ่มขึ้น สมองก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย […]

ทานอาหารเสริมวัยทองอย่างไรให้ถูกวิธี

เมื่อเข้าสู่วัยทอง หรือช่วงอายุตั้งแต่ 40-50 ปี จะเห็นความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่างจนเห็นได้ชัด และนำไปสู่ความวิตกกังวลต่างๆ ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเรียนรู้และรับมือกับมัน นอกจากการดูแลตัวเองด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และออกกำลังกายเป็นประจำแล้ว การทานอาหารเสริมวัยทองก็นับเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยเช่นกัน เนื่องจากร่างกายไม่สามารถดูดซับสารอาหารได้เหมือนเคย อาการทั่วไปของวัยทอง ภาวะวัยทองเกิดจากการลดปริมาณการผลิตฮอร์โมนเพศตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ทั้งเอสโตรเจนในผู้หญิง และฮอร์โมนแอนโดรเจนในผู้ชายมีผลต่ออารมณ์และจิตใจ ซึ่งบางอาการอาจเกิดขึ้นเฉพาะผู้หญิงหรือผู้ชายเท่านั้น ดังนั้นการเลือกอาหารเสริมนั้นจะต้องดูความเหมาะสมของตัวเองด้วย โดยอาการทั่วไปของวัยทองมีดังนี้ 1. ร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน ตื่นตกใจง่าย ร้อนบริเวณหน้า คอ และอก ประมาณ 1-5 นาที บางรายอาจเหงื่อออกแต่หนาว หรือใจสั่น อาการร้อนวูบวาบอาจเกิดขึ้นบ่อยทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกง่าย ตื่นเช้าไวขึ้นแต่ไม่สดชื่น ซึ่งอาจส่งผลต่อสมองทำให้มีปัญหาเรื่องความจำได้ 2. ความต้องการทางเพศลดลง หรือไม่มีอารมณ์ทางเพศ เมื่อฮอร์โมนเพศลดลง ความต้องการทางเพศจึงลดลงด้วย อาจเกิดปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศตามมา รวมถึงปัญหาการกลั้นปัสสาวะยาก เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะเสื่อมลง 3. ปวดล้ากล้ามเนื้อ เกิดเสียงดังเวลาเดินบริเวณข้อกระดูก หลักจากร่างกายลดการผลิตฮอร์โมนเพศซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระดูก ทำให้กระดูกเปราะบางง่ายขึ้น โดยสังเกตง่ายๆ จากอาการปวดหลังแต่ไม่รู้ตำแหน่งแน่ชัด กระดูกหลังยุบตัว หลังค่อม ส่วนสูงลดลง […]

TMS คืออะไร ทำไมจึงนิยมนำมารักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท?

TMS คืออะไร ทำไมจึงนิยมนำมารักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท?

TMS หรือ เครื่องกระตุ้นเซลล์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมในการนำมารักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการกระตุ้นเซลล์สมองให้สามารถกลับมาทำงานได้ดีขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ดี โรคทางสมองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ซึ่ง เครื่องกระตุ้นเซลล์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า นี้สามารถรักษาโรคอะไรได้บ้าง และมีข้อที่ควรระวังหรือไม่ ในบทความนี้มีคำตอบ TMS คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร รักษาโรคอะไรได้บ้าง? ในปัจจุบัน การรักษา โรคทางสมอง มีหลายๆทางเลือกมากยิ่งขึ้น เช่น แพทย์แผนจีน แพทย์แผนไทย กายภาพบำบัด การฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ รวมไปถึงอีก 1 เครื่องมือการรักษา ที่เป็นที่นิยมคือ เครื่องกระตุ้นเซลล์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า นั่นเอง เชื่อว่าหลายๆ ท่านยังมีข้อสงสัยว่า เครื่องกระตุ้นเซลล์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ซึ่งในบทความนี้จะมาอธิบาย  เกี่ยวกับเครื่องมือนี้ให้ทุกท่านรู้จักกันมากยิ่งขึ้น เครื่อง TMS คืออะไร? คือ เครื่องกระตุ้นเซลล์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยใช้หลักการการเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ตามหลักการของ Faraday เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด (หัว Coil ของเครื่อง) จะเหนี่ยวนำทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ผ่านกะโหลกศีรษะ ลงไปกระตุ้น ตัวกลางที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้ คือ […]

โรคเสียงดังในหู หูอื้อในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไรดี?

โรคเสียงดังในหู หูอื้อในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไรดี?

โรคเสียงดังในหู ในผู้สูงอายุ มักเป็นเสียงที่เกิดจากต้นกำเนิดเสียงจากภายนอก บุตรหลานหลายๆ ท่านคิดว่าเป็นอาการธรรมดาแต่แท้จริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเป็นภาวะที่สร้างความลำบากและทำให้เกิดความรำคาญให้แก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก อีกทั้ง โรคนี้มีทั้งภาวะที่ทั้งไม่มีอันตรายและมีอันตรายด้วย ดังนั้น บุตรหลานจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลของโรคชนิดนี้เอาไว้ เพื่อทราบถึงลักษณะอาการ และสามารถพาผู้สูงวัยไปรักษาได้อย่างวิธี โรคเสียงดังในหู หูอื้อในผู้สูงวัยเกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไรได้บ้าง?  การได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือบางรายอาจรู้สึกเหมือนมีอะไรอุดหูหรือรู้สึกมีเสียงรบกวนในหู ซึ่งอาจเป็นเสียงแหลมวี้ด ๆ คล้ายมีแมลงวันบินอยู่ในหู หรือเป็นเสียงหึ่งๆ หรือเสียงตุบๆ ที่ดังตามจังหวะการเต้นของชีพจร เป็นต้น แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ได้ยินเสียงเหล่านี้จะรู้สึกรำคาญจนทนไม่ได้ เพราะบางคนอาจไม่มีปัญหากับอาการหูอื้อที่เกิดขึ้นเลยก็ได้ ทั้งนี้หูอื้อบางชนิดก็มีอันตราย บางชนิดก็ไม่มีอันตราย สาเหตุที่ทำให้หูอื้อ สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูอื้อมีหลายสาเหตุ เช่น อาการหูอื้ออาจเกิดร่วมกับอาการปวดหู, หูตึง/หูหนวก, ปวดศีรษะ, ภาวะซีด, มีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นทันทีหลังการว่ายน้ำหรือดำน้ำ (หรือใช้เครื่องส่องหูดูพบว่ามีขี้หูอุดตัน) มักเกิดจากขี้หูอุดตัน อาการหูอื้ออาจเกิดขึ้นหลังจากการดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต หรือสูบบุหรี่ ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับมีก้อนค้างที่คอ อาจเกิดจากคางบวม/คอบวม ถ้ามีอาการหูอื้อร่วมกับเป็นไข้หวัดหรือเจ็บคอ อาจมีสาเหตุมาจากท่อยูสเตเชียนบวมจากโรคติดเชื้อ และถ้ามีเยื่อแก้วหูบวมแดงร่วมด้วยอาจเกิดจากหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน ประเภทของเสียงในหู จากภาวะโรคเสียงดังในหู เสียงในหู คือ เสียงที่เกิดจากความผิดปกติของหูหรืออวัยวะข้างเคียง […]

6 ท่ากายภาพบำบัด พิชิตออฟฟิศซินโดรม

6 ท่ากายภาพบำบัด พิชิตออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม นับว่าเป็นอาการปกติเสียแล้วสำหรับคนวัยทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่มีกิจวัตรประจำวันของงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์บ่อยๆ หรือต้องนั่งจัดการเอกสารทั้งวัน ทุกคนจะเห็นได้ว่าอาการ Office Syndrome เช่นนี้มักมาจากอาการนั่งธรรมดาๆ ที่เราเห็นว่าไม่มีอะไร ไม่ใช่การพลัดตกหกล้มแต่อย่างใด ซึ่งในการนั่งดังกล่าว ส่งผลต่ออาการ Office Syndrom ได้อย่างไร ทำไมเราจึงปวดหลังได้ขนาดนี้ แล้วเราจะรักษาให้หายขาดได้ไหม มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้ ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไรได้บ้าง? เนื่องจากในยุคปัจจุบัน สถานการณ์ต่างๆ ส่งผลให้ผู้คนส่วนใหญ่ต้องทำงานผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ซึ่งนั่นก็หมายถึงต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไอแพด หรือโทรศัพท์ เป็นเวลานานๆ นั่นเอง ซึ่งลักษณะของการทำงานเช่นนี้ ส่งผลไม่ดีนักต่อสุขภาพ เช่น สุขภาพกระดูกสันหลัง ไมเกรน ปวด คอ บ่า ไหล่ เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยไว้เช่นนี้นานๆ ก็อาจเป็นภาวะ Office Syndrome เรื้อรังได้ ดังนั้น ทุกคนจึงจำเป็นต้องทราบข้อมูลของภาวะนี้ไว้เพื่อหาแนวทางรักษาที่ถูกต้องและปรับพฤติกรรมให้ดีขึ้นและไม่กลับมาเป็นซ้ำ Office Syndrome คือ… คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) เนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ […]

“เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า” รักษากล้ามเนื้อ เทคโนโลยีที่เหมาะกับผู้สูงอายุ

"เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า" รักษากล้ามเนื้อ เทคโนโลยีที่เหมาะกับผู้สูงอายุ

“เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า” เทคโนโลยีมากความสามารถในการรักษาโรคทางสมองและกล้ามเนื้อที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน แม้เทคนิคทางการแพทย์ในการใช้รักษาอาการโรคดังกล่าวจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เครื่องกระตุ้นชนิดนี้ก็ยังได้รับความไว้วางใจจากทางแพทย์และคนไข้ในการใช้รักษาอาการต่างๆ เนื่องจากเป็นวิธีที่รักษาได้ค่อนข้างแม่นยำ ปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คนไข้ทุกเพศทุกวัยเลือกเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาในเรื่องภาวะอาการที่มาจากระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อาการเหล่านี้ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเจ้าเครื่องกระตุ้นสมองชนิดนี้จึงเหมาะกับผู้สูงอายุมากๆ “เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า” คืออะไร รักษาโรคทางกล้ามเนื้อชนิดใดในผู้สูงอายุได้บ้าง? จากที่กล่าวไปในข้างต้นว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์นั้นมีมากมายหลายวิธี แต่การทำ  Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) หรือ การกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเป็นอีกหนึ่งหนทางที่มักได้รับเลือก เนื่องจากมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งไม่ต้องเข้าผ่าตัดอีกด้วย เจ้าเครื่องกระตุ้นสมองชนิดนี้จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในหมู่คนไข้สูงอายุเพราะไม่ต้องเสี่ยงกับการเข้ารับการผ่าตัดนั่นเอง PMS คือ… เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยที่ใช้รักษาอาการปวด โดยใช้พลังงานจากคลื่นแม่เหล็ก ที่สามารถกระตุ้นทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปถึงเนื้อเยื่อและกระดูกได้ลึกประมาณ 10 ซม. คลื่นจาก PMS จะกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวดและช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ รู้สึกผ่อนคลายในขณะรักษา PMS ทำงานอย่างไร? การรักษาโรคทางกล้ามเนื้อด้วยเครื่อง PMS มีหลักการทำงาน คือ เครื่องจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความแรงสูง ทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปจนถึงกระดูกหรือกล้ามเนื้อชั้นลึก ๆ ที่ต้องการกระตุ้น จากนั้น เครื่องจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดเกิดการหดและคลายตัวสลับกันตามความถี่ที่กำหนดไว้ คล้ายกับการสั่นที่กล้ามเนื้อ […]

“Piriformis Syndrome” กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท รักษายังไงในผู้สูงวัย?

"Piriformis Syndrome" กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท รักษายังไงในผู้สูงวัย?

“Piriformis Syndrome” หรือ อาการกล้ามเนื้อสะโพกทับเส้นประสาท มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยนั่งเฉยๆ อยู่เป็นเวลานานๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ในผู้สูงอายุนั้นมักมีความน่าเป็นห่วงกว่าวัยอื่นๆ เสมอเมื่อป่วยขึ้นมา เนื่องจากจะมีความรุนแรงและการรักษาที่ยากกว่าวัยอื่นๆ เนื่องจากสมรรถภาพทางร่างกายเริ่มถดถอยลง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมบุตรหลานจึงควรหาวิธีการรักษาที่เหมาะกับการรักษาภาวะโรคนี้ให้กับผู้สูงอายุที่ถูกต้องอย่างแท้จริง เพราะหากผู้สูงวัยต้องเข้ารับการรักษาใดๆ ที่ไม่ตรงจุดแล้วล่ะก็ นอกจากจะต้องเสียเวลาแล้ว ก็อาจทำให้อาการของพวกท่านรุนแรงกว่าเดิมก็เป็นได้ “Piriformis Syndrome” คืออะไร อันตรายหรือไม่หากเกิดในผู้สูงอายุ? โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในคนหลายๆ กลุ่ม โดยเฉพาะคนที่นั่งทำงานนานๆ ในออฟฟิศ ทำให้เกิดการงอสะโพก หรือผู้สูงอายุที่เมื่ออายุมากขึ้นก็ไม่สามารถลุกไปไหนได้ถนัดนักและต้องนั่งอยู่เป็นเวลานานๆ ก็มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี คนที่ต้องนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เช่น พนักงานออฟฟิศ พนักงานขับรถ พนักงานขายตั๋ว รวมถึงคนที่เคลื่อนไหวสะโพกมากเกินไป เช่น ออกกำลังกายหนักๆ นักวิ่ง ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ได้ด้วย กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท คือ… เป็นความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เกิดจากกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสบริเวณก้นใกล้กับสะโพกไปกดทับเส้นประสาทไซอาติกที่อยู่ใกล้กัน ส่งผลให้รู้สึกปวดบริเวณก้นร้าวไปยังขา หากมีอาการรุนแรงมาก อาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการนั่ง เช่น นั่งทำงาน หรือขับรถ เป็นต้น สาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท โดยปกติ กลุ่มอาการนี้มักเกิดจากการอักเสบ […]

3 ท่านอนแก้ปวดเอว สำหรับผู้สูงอายุ

3 ท่านอนแก้ปวดเอว สำหรับผู้สูงอายุ

ท่านอนแก้ปวดเอว เป็นวิธีการป้องกันอย่างหนึ่งที่จะช่วยลดอาการปวดลงได้ เนื่องจากการปวดเอวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการยืน นั่ง และ นอนผิดท่า ดังนั้น การปรับท่านอน จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมอีกวิธีหนึ่งที่จะป้องกันอาการปวดนี้ได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักจะมีการปวดเอวได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ ด้วยนั่นเอง ท่านอนแก้ปวดเอว สำหรับผู้สูงวัย ปรับอย่างไรไม่ให้ทำลายสุขภาพ ผู้สูงอายุแต่ละท่านล้วนมีท่านอนที่ถนัดแตกต่างกันออกไป ซึ่งบางท่านั้นอาจจะทำให้หลับสบายก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับช่วยปรับท่านอนที่คุณชื่นชอบ ให้กลายเป็นท่าที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ทำร้ายร่างกาย แถมยังช่วยให้หลับสนิทตลอดคืนอีกด้วย นอนผิดท่า คืออะไร…. การนอนผิดท่า เป็นอาการที่หลายคนมักเจอ การนอนผิดท่าคือการนอนในที่ระหว่างอยู่ในอาการหลับลึก ไม่ว่าจะด้วยการดิ้นไปมาหรือการละเมอต่างๆ ขณะหลับ ท่าทางของการนอนนั้นกลายเป็นว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่ปกติ และไม่ถูกต้องตามหลักสรีระร่างกาย ทำให้การนอนของคุณไม่มีคุณภาพและส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อและกระดูกของคุณ โดยการนอนผิดท่านั้นมีอยู่หลายแบบ ทั้งคอตกหมอน หันคอกับตัวไปคนละทาง และหลายอย่างโดยการนอนผิดท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากความไม่ตั้งใจระหว่างที่นอนอยู่ นอนผิดท่า ก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง? การนอนผิดท่า นั้น จะทำจะไม่ใช่แค่ทำให้เกิดเพียงแค่อาการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ คอเคล็ด หรือเป็นอาการทั่วๆ ไป เท่านั้น แต่การนอนผิดท่า ก็สามารถทำให้เกิดอาการของโรคอื่นๆ ตามมาได้เช่นเดียวกัน โดยการนอนผิดท่านั้น แม้ว่าอาจจะไม่ใช่สาเหตุหลักของโรคต่อไปนี้ แต่ก็ถือว่ามีโอกาสทำให้เกิดได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคกระดูกเสื่อม ที่เกิดจากการใช้งานกระดูกมากจนเกินไประหว่างที่นอนผิดท่า […]

5 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุที่พบบ่อย หากเป็นแล้วรับมืออย่างไร?

5 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุที่พบบ่อย หากเป็นแล้วรับมืออย่างไร?

โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ นับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้สูงวัยกับการเป็นโรคเรื้อรังโรคใดโรคหนึ่ง เนื่องจากเมื่อเราก้าวเข้าสู่วัย 50 ปี ร่างกายก็จะเสื่อมลง ซึ่งทำให้มีโรคต่างๆ ตามมามากมายโดยเฉพาะกลุ่มโรคที่มีอาการเรื้อรัง ดังนั้น บุตรหลานจึงต้องเฝ้าระวังในพ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ของเราอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดโรคร้ายกับท่านได้ โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ คืออะไร ในผู้สูงอายุมักพบโรคใดบ้าง? โรคเรื้อรังเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเองหรือคนในครอบครัว เพราะการที่ต้องทนอยู่กับความเจ็บป่วยเป็นเวลานานอาจทำให้สุขภาพโดยรวมแย่ลง และอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตด้านต่างๆ อีกด้วย แต่ในเมื่อเกิดโรคขึ้นแล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยควรทำคือ ดูแลสุขภาพตนเอง และหาทางอยู่ร่วมกับโรคเรื้อรังอย่างปลอดภัยและมีความสุขที่สุด โรคเรื้อรัง คือ… โรคเรื้อรังนั้นมีหลายลักษณะและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดขึ้นในร่างกายเป็นเวลานานกว่าจะแสดงอาการ และอาจทำให้อวัยวะบางส่วนในร่างกายเกิดปัญหาหรือใช้งานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งโรคเรื้อรังบางชนิดยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นหรือลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ โดยตัวอย่างของโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อย คือ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ ผลกระทบเมื่อผู้สูงวัยมีภาวะโรคเรื้อรัง เมื่อเป็นโรคเรื้อรัง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกับการเจ็บป่วยธรรมดา เพราะโรคทั่วไปอย่างโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคปอดบวมนั้น เมื่อเป็นแล้วไม่นานผู้ป่วยก็จะหายจากโรคดังกล่าว แต่โรคเรื้อรังมักต้องใช้เวลานานกว่าจะควบคุมอาการได้ อีกทั้งบางโรคยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายเจ็บป่วยเท่านั้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อด้านอื่นๆ ในชีวิตอีกด้วย ซึ่งในโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถยกของหนัก เคลื่อนไหวร่างกาย และหยิบจับสิ่งของได้สะดวก หรือโรคเบาหวานก็ทำให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องควบคุมปริมาณการบริโภคน้ำตาล […]

ผู้สูงอายุ นอนติดเตียง ดูแลอย่างไรดีให้เหมาะสม?

ผู้สูงอายุ นอนติดเตียง ดูแลอย่างไรดีให้เหมาะสม?

ผู้สูงอายุ นอนติดเตียง เป็นภาวะของผู้ป่วยที่พบได้มากในหมู่ผู้สูงวัยของไทย เพราะในปัจจุบันมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันจำนวนผู้สูงอายุติดบ้านที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และผู้สูงอายุติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ใครมีผู้สูงอายุที่ต้องดูแล ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยยิ่งต้องให้ความสำคัญ และต้องเอาใจใส่สังเกตทั้งเรื่องสุขภาพร่างกายและสุขภาพใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี คนในครอบครัวต้องเข้าใจปัญหาต่างๆ ของผู้สูงอายุ รวมไปถึงการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม ผู้สูงอายุ นอนติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องดูแลอย่างไร? เมื่อประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” อย่างสมบูรณ์เมื่อมีประชากรอายุ 60 ปี เนื่องจากเริ่มมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับอวัยวะต่างๆ ทำงานช้ากว่าและบางคนอาจช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ซึ่งในลักษณะแบบนี้เรียกว่า “ผู้ป่วยติดเตียง” ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียงจำเป็นต้องดูแลและทำความเข้าใจอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการดูแลรักษา ผู้ป่วยติดเตียง คือ… ผู้สูงอายุติดเตียง คือ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา อาจเป็นเพราะเกิดการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรังที่เข้าสู่การลุกลามมากขึ้น จนส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งบางคนอาจจะสามารถขยับแขนหรือขาได้บ้าง แต่ยังต้องมีคนช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันทุกอย่าง เช่น การป้อนอาหาร ช่วยล้างหน้าแปรงฟัน ช่วยอาบน้ำ เป็นต้น ในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงอาศัยอยู่ด้วย คนในครอบครัวจะต้องสละเวลาส่วนใหญ่มาคอยดูแลผู้สูงอายุติดเตียงเหล่านี้ เพราะต้องได้รับการดูแลมากกว่าปกติ ทั้งทางด้านร่างกาย และสภาพจิตใจ ปัญหาที่ผู้สูงอายุนอนติดเตียงมักพบเจอ อาการ “นอนติดเตียง” สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม จนต้องนอนอยู่บนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลาไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงมักเกิดจากโรค […]