Author Archives: seo_content

“เบื่ออาหาร” เมื่อพ่อแม่ไม่ยอมกินข้าวทำยังไงดี?

"เบื่ออาหาร" เมื่อพ่อแม่ไม่ยอมกินข้าวทำยังไงดี?

“เบื่ออาหาร” เป็นภาวะของผู้สูงอายุที่มักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งจากสภาพร่างกาย และสภาพแวดล้อมรอบตัว ระบบย่อยอาหารทำงานลดลง อิ่มเร็ว แน่นท้องง่าย ร่วมกับท้องผูกได้ง่าย ยาหลายอย่างมีผลข้างเคียง ทำให้ไม่อยากอาหารซึ่งอาจเป็นอาการของโรคที่ซ่อนอยู่ เช่น โรคนิ่ว โรคไต โรคมะเร็ง โรคซึมเศร้า เป็นต้น “เบื่ออาหาร” สัญญาณเตือนโรคที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ จากข้อความข้างต้นที่ได้กล่าวไปว่า “ไม่อยากอาหาร” ในผู้สูงอายุอาจเป็นอาการของโรคที่ซ่อนอยู่ก็เป็นได้ ลูกหลายๆคน ทุกข์ใจไม่ใช่น้อย เมื่อเห็นคุณพ่อคุณแม่ที่สูงอายุขึ้น เพลียและเหนื่อยง่าย กินข้าวน้อยลง ผอมและกล้ามเนื้อลีบอย่างรวดเร็ว อาหารที่เคยชอบกิน กลับบ่นว่าไม่อร่อย หรือไม่อยากกิน จนทำให้ลูกๆกลุ้มใจไม่รู้จะทำยังไงดี หากปล่อยไว้ให้นานไป จะทำให้ท่านยิ่งอ่อนแอ และอาจไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติหรือทำกิจกรรมที่ชอบได้ เราจะมาทำความเข้าใจกับสาเหตุที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่กินน้อยกัน และมีวิธีอะไรที่ช่วยทำให้ท่านกินอาหารได้ แม้สูงอายุแต่ก็ยังแข็งแรง สดชื่น ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับครอบครัวและเพื่อนได้เหมือนก่อน “ทานน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น” นั้นมีสาเหตุ 1. การรับกลิ่นรสเปลี่ยน ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่ทำให้อาหารแต่ละอย่างมีความอร่อยและรสชาติที่ดีคือกลิ่นและรสของจานนั้นๆ หากแต่เมื่อเข้าสู่วัยชราต่อมการรับรสหรือกลิ่นก็เปลี่ยนไป ตั้งแต่อายุ 60 ปี จำนวนต่อมรับรสเริ่มลดลง การแยกแยะรสหวาน เค็ม เปรี้ยว ขม จะแย่ลงไปตามอายุ ตามด้วยการรับกลิ่นจะแย่ลงและเมื่ออายุ […]

ดูแลผู้สูงอายุยังไง? ให้แฮปปี้ทั้งผู้สูงวัยและตนเอง

ดูแลผู้สูงอายุยังไง? ให้แฮปปี้ทั้งผู้สูงวัยและตนเอง

“ดูแลผู้สูงอายุ” ตำแหน่งที่เป็นใครไม่ได้นอกจากลูกหลานในบ้านและถ้าหากคุณคือคนคนนั้นบทความนี้ก็เป็นบทความที่เหมาะกับคุณเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นเรื่องที่ดีในการดูแลพ่อแม่ในยามที่ท่านเฒ่าชรา หากแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นเดียวกัน เพราะในขณะที่เราต้องดูแลพวกท่านนั้นเราก็ต้องดูแลตัวเอง แล้วต้องทำอย่างไร? วันนี้ รักษ์คุณ มีคำตอบ…   “การดูแลผู้สูงอายุ” เมื่อคุณเป็นที่พึ่งพิงของวัยพึ่งพา แม้จะไม่มีใครอยากเห็นคนที่คุณรักต้องมีบั้นปลายชีวิตที่เปลี่ยวเหงาเดียวดาย แต่การเลี้ยงดูผู้สูงอายุก็นับเป็น “การเสียสละ” อย่างหนึ่งของชีวิตเช่นเดียวกัน เนื่องจากผู้ที่ดูแลนั้นต้องจ่ายไปหลายอย่าง อาจไม่ใช่แค่เงิน ไม่ใช่แค่เวลา แต่เป็นทั้งสภาพร่างกายและจิตใจที่บางครั้งผู้ดูแลก็ต้องเหนื่อยล้าเป็นธรรมดาแม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับคุณพ่อคุณแม่วัยชรามากแค่ไหนก็ตามเพราะต้องทุ่มเททั้งพลังกายและใจไปกับคุณพ่อและคุณแม่จนละเลยการดูแลตนเองอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นจะดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อคุณต้องกลายเป็นผู้ดูแลผู้สูงวัยในครอบครัว 5 วิธีง่ายๆ ในการฝึกดูแลตนเองเมื่อคุณต้องเป็นผู้ดูแลพ่อแม่วัยชรา 1. จัดลำดับความสำคัญให้ได้ คุณจะไม่สามารถฝึกดูแลตนเองได้เลยหากไม่รู้ว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุข บางท่านอาจเป็นผู้ที่ชื่นชอบในการสังสรรค์กับเพื่อนๆ บางท่านอาจเป็นผู้ที่รักในการวาดรูปหรือท่องเที่ยวออกไปจิบกาแฟ แต่หากคุณต้องเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวที่มีหน้าที่ดูแลผู้สูงวัยในครอบครัวนั้นตารางกิจกรรมของคุณที่เคยมีก็ต้องปรับเปลี่ยนไป ดังนั้นเมื่อมีหน้าที่การเป็นผู้ดูแลเพิ่มขึ้นมาคุณจึงต้องคอยจัดลำดับความสำคัญว่าสิ่งใดควรทำก่อนหลังแต่ก็สามารถหาเวลาทำในสิ่งที่คุณรักได้ด้วย จริงอยู่ที่การดูแลพ่อแม่ในวัยชราเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากที่จะทิ้งท่านไปไหนหรือทำอะไรนานๆ แต่หากจัดลำดับความสำคัญตามตารางเวลาได้ คุณก็สามารถทำในสิ่งที่คุณรักได้เช่นกัน 2. ขอความช่วยเหลือบ้าง นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า  “ไม่มีใครสามารถทำหน้าที่นั้นได้ในระยะยาวด้วยตัวเอง” ดังนั้นเพียงเพราะคุณทำหน้าที่นี้เป็นหลักในบ้านแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเป็น “ผู้ดูแล” คนเดียวเสมอไป ซึ่งบางครั้งคุณอาจจะขอความช่วยเหลือจากสมาชิกคนอื่นในบ้านให้ทำหน้าที่แทนคุณบ้างบางครั้ง เช่น การซักเสื้อผ้าของผู้สูงอายุ ทำอาหาร หรือกิจกรรมกายภาพบำบัดง่ายๆ เป็นต้น เพื่อให้คุณได้มีเวลาพักผ่อน หรือหากไม่มีใครในบ้านสะดวกทำหน้าที่แทนคุณได้จริงๆ ก็สามารถนำผู้สูงวัยเข้ารับบริการที่ศูนย์ดูแลผู้สูงวัย หรือ Home care สักแห่งเพื่อฝากดูแลพวกท่านในระหว่างวันที่คุณไม่อยู่เท่านั้น การทำเช่นนี้จะสามารถมั่นใจได้ว่ามีคนทำหน้าที่แทนคุณได้ […]

ผู้สูงอายุฉีดวัคซีน กับ 5 เกร็ดความรู้ที่คุณต้องรู้

ผู้สูงอายุฉีดวัคซีน กับ 5 เกร็ดความรู้ที่คุณต้องรู้

“ผู้สูงอายุฉีดวัคซีน” ประเด็นสำคัญที่บรรดาลูกหลานเริ่มให้ความสำคัญกันมากขึ้นหลังจากการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าผู้สูงอายุนั้นต้องฉีดวัคซีนเป็นทุนเดิมอยู่แล้วเช่นเดียวกับเด็กๆ ที่ต้องฉีดวัคซีนในแต่ละช่วงวัยเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ซึ่งผู้สูงอายุก็ต้องฉีดไว้เพื่อเหตุผลเดียวกัน ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนเพื่ออะไร ? สาเหตุเพราะเมื่อมนุษย์เราอายุเพิ่มมากขึ้น ภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคต่างๆ จึงลดน้อยลงและมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นโรคต่างๆ สูง รวมถึงเกิดภาวะแรกซ้อนได้ง่าย โดยผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปก็จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ดังนั้นวัคซีนจึงจำเป็นต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมากเพราะต้องฉีดเพื่อป้องกันโรคร้ายที่ไม่พึงประสงค์นั่นเอง 5 เกร็ดความรู้! เมื่อผู้สูงอายุฉีดวัคซีน… 1. ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนอะไรบ้าง วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก หากเกิดแผลในผู้สูงอายุจะมีโอกาสติดเชื้อบาดทะยักได้ง่าย  ทำให้เกิดกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง  หายใจลำบาก  โรคคอตีบที่รุนแรงทำให้หายใจลำบาก  ทั้งโรคบาดทะยักและคอตีบหากมีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ และโรคไอกรนทำให้ไอต่อเนื่องอย่างรุนแรง คำแนะนำในการฉีด ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน 1 เข็ม และ วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ ทุก 10 ปี วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด หากเคยเป็นอีสุกอีใสแล้วก็จะไม่แปลกใจกับโรคงูสวัดสักเท่าไหร่ เนื่องจากทั้ง 2 โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกันและมีอาการที่ใกล้เคียงกันคือมีตุ่มใสขึ้นแต่โรคงูสวัดจากขึ้นตามแนวประสาท และบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น แสบร้อนตามผิวหนัง คำแนะนำในการฉีดวัคซีนของผู้สูงอายุ ฉีดวัคซีนป้องกัน โรคงูสวัด 1 เข็ม เพียงครั้งเดียว (ฉีดได้ตั้งแต่ผู้สูงวัยอยู่ในช่วงอายุ […]

อาหารผู้สูงอายุเลือกอย่างไรให้เหมาะ- 8 วิธีนี้ช่วยได้

อาหารผู้สูงอายุเลือกอย่างไรให้เหมาะ- 8 วิธีนี้ช่วยได้

“อาหารผู้สูงอายุ” ปัญหาโลกแตกของหลายๆ ครอบครัว เนื่องจากบางครอบครัวนั้นคิดเมนูไม่ออก ไม่รู้ว่าจะทำเมนูไหนดี ไม่รู้ว่าจะเลือกให้ตรงโภชนาการได้อย่างไร หรือจะเลือกเมนูไหนให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวต่างๆ คำถามเหล่านี้ถูกตั้งขึ้นมาอย่างนับไม่ถ้วนเพราะผู้สูงวัยในแต่ละบ้านมีความต้องการไม่เหมือนกันนั่นเอง “อาหารผู้สูงอายุ” สำคัญอย่างไร แต่ละวัยย่อมต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันและเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายไปตามอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตสูงสุดและเกิดความเสื่อมได้มากกว่าวัยอื่น การเลือกอาหารผู้สูงอายุอย่างถูกวิธีเหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและชะลอให้ร่างกายไม่ทรุดโทรมก่อนเวลาอันควร 8 วิธีเลือกอาหารผู้สูงอายุให้เหมาะสม เนื่องจากผู้สูงอายุนั้นมีปัญหาเรื่องสุขภาพไม่เหมือนกันความต้องการสารอาหารจึงแตกต่างกันออกไป เช่น บางท่านต้องการสารอาหารประเภทนี้แต่บางท่านกลับต้องลดสารอาหารประเภทเดียวกันลง  วิธีการช่วยเลือกอาหารสำหรับผู้สูงอายุทั้ง 8 วิธีจึงถูกแบ่งออกตามสภาพทางกายภาพ โรคประจำตัว และอาหารทางเลือกอื่นๆ ดังนี้ อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มากไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ จากความเสื่อมสภาพของร่างกายรวมถึงภาวะการ “ไม่มีฟัน” ซึ่งเกิดจากการสูญเสียฟันไปตามอายุขัย  ซึ่งทำให้เกิด “ภาวะขาดสารอาหาร” ตามมาทำให้ท่านเคี้ยวอาหารบางประเภทไม่ได้ กลืนลำบาก และต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทจนทำให้ขาดสารอาหาร ดังนั้นวิธีที่จะช่วยเลือก คือ 1. อาหารนุ่ม-บดละเอียด อาจจะเป็นเมนูที่ผ่านการประกอบอาหารจนมีรสสัมผัสที่อ่อนนุ่มลงหรือนำมาบดละเอียดเพื่อให้ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพฟันได้ลองรับประทาน เช่น เมนูตุ๋นผักรวม ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง เนื้อตุ๋นเปื่อย เป็นต้น เพื่อให้รับประทานง่ายขึ้นนั่นเอง 2. สามารถกลืนได้ง่าย ในข้อนี้จะเป็นวิธีที่ช่วยเลือกอาหารให้กับผู้สูงอายุที่อาจจะยังมีฟันทานอาหารได้ แต่ก็มีปัญหาในเรื่องของความแข็งแรงเนื่องจากบางรายอาจจะเจ็บหรือปวดฟันในเวลาเคี้ยวส่งผลให้เลือกที่จะกลืนเลยทั้งๆ ที่อาหารยังมีขนาดชิ้นที่ใหญ่อยู่ ดังนั้นลูกๆ หลานๆ จึงควรเลือกเมนูที่สามารถกลืนง่ายไม่ลำบาก […]

“ผู้สูงอายุนอนทั้งวัน” ผิดปกติหรือไม่?

"ผู้สูงอายุนอนทั้งวัน" ผิดปกติหรือไม่?

“ผู้สูงอายุนอนทั้งวัน” คือหนึ่งในโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการนอนเช่นเดียวกับ “โรคนอนไม่หลับ” ในผู้สูงอายุหากแต่อาการจะสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง แต่กลับกลายเป็นสัญญาณเตือนของโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่กำลังมาเช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าทั้งโรคนอนไม่หลับและหลับทั้งวันของผู้สูงอายุนั้นเป็นอาการที่เกินพอดีในเรื่องของการนอนทั้งสิ้นและอะไรที่เกินพอดีก็ย่อมหมายถึงเป็นสิ่งที่ “ไม่ปกติ” ทั้งสิ้น เมื่อการ “นอนทั้งวัน” เป็นสัญญาณเตือนโรค… จากผลการวิจัยผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนและสูงอายุ ที่ชอบแอบนอนตอนกลางวัน เพื่อทดแทนการอดนอนตอนกลางคืน ควรจะระวังตัว เพราะมีผลการศึกษาว่า การประพฤติเช่นนั้นจะทำให้เสี่ยงกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะจากโรคของระบบทางเดินหายใจนอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยจากมหาวิทยาลันเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ก็ได้ระบุไว้ว่าผู้ที่นอนกลางวันนานๆ ในช่วงวัย 45-60 ปียังมีโอกาศเสียชีวิตสูงกว่าคนที่ไม่มีพฤติกรรมนี้ถึง 2 เท่า อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่คอยเตือนถึงภาวะโรคต่างๆ อีกด้วย อาการ “นอนทั้งวันของผู้สูงอายุ” เกิดจากอะไร? 1. อดนอนนานๆ การอดนอนมาเป็นเวลานานๆ และทำเป็นประจำบ่อยๆ จนร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลให้ผู้มีอาการเช่นนี้รู้สึกว่านอนเท่าไหร่ก็เพียงเพียงพอต่อความต้องการ 2. ฮอร์โมนและสารเคมีในสมอง สาเหตุมาจากระบบการทำงานของฮอร์โมนและสารเคมีในสมองของผู้สูงอายุเริ่มทำงานเสื่อมถอยลงและทำงานได้ไม่เต็มที่จึงทำให้เวลาที่ควรได้พักผ่อน (ช่วงกลางคืน) ผู้สูงอายุได้รับสารเมลาโทนินที่ช่วยให้หลับสนิทไม่เพียงพอ ท่านจึงต้องมาอาศัยหลับในช่วงเวลาระหว่างวันแทน 3. นาฬิกาชีวิต ผู้สูงอายุบางท่านที่ยังทำงานด้วยตนเองอาจมีตารางชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น ตารางการทำงานที่ต้องเปลี่ยนกะ การเดินทางบ่อยๆ เป็นต้น ทำให้เวลาในการนอนแปรปรวนอยู่เสมอและสับสนว่าควรนอนเวลาใด ผลเสียของการนอนกลางวันนานๆ ในผู้สูงอายุ 1. สมองล้าและเฉื่อยชา การนอนพักผ่อนให้เพียงพอเป็นเรื่องที่ดี […]

“โรคนอนไม่หลับ” ปัญหาแก้ไม่ตกของวัยชรา

"โรคนอนไม่หลับ" ปัญหาแก้ไม่ตกของวัยชรา

“โรคนอนไม่หลับ” เป็นอีกโรคหนึ่งที่เกิดจากการที่สมองทำงานไม่ปกติ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการที่ผู้สูงอายุหมดสติและไม่ยอมฟื้นจนต้องรีบส่งโรงพยาบาลแต่การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุนั้นไม่มีอาการที่ดูร้ายแรงอะไร ทุกๆ คนหรือแม้แต่ตัวผู้สูงอายุเองจึงเลือกที่จะปล่อยปละละเลยและในบางรายถึงกับต้องหันไปพึ่งยานอนหลับที่เลือกซื้อมาเองและใช้จนติดงอมแง การทำเช่นนี้ถือเป็นดาบสองคมที่ทำร้ายร่างกายอยู่เรื่อยๆ จากผลสำรวจพบว่าผู้สูงในวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปต้องพบกับปัญหาของการนอนไม่หลับแต่ก็ไม่ได้เข้าพบแพทย์อย่างจริงจังเสียเท่าไหร่ทั้งที่แท้จริงแล้วการนอนไม่หลับเช่นนี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคทางระบบสมองและอื่นๆ ด้วย โรคนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ ครอบครัวไหนมีผู้สูงอายุ อาจจะสังเกตเห็นได้ว่าเมื่อมีอายุที่มากขึ้นพฤติกรรมการนอนหลับของคุณปู่ ย่า ตา ยาย หรือ พ่อแม่ที่มีความเปลี่ยนแปลงไป เช่น การเข้านอนช้าแต่กลับตื่นเร็ว ใช้เวลาก่อนนอนกว่าจะหลับเป็นเวลานาน ตื่นมากลางดึกแล้วนอนไม่หลับจนเช้า นอนกลางวันตื่นตอนกลางคืน เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้คำถามที่ตามมาคือ พฤติกรรมเหล่านี้ของพวกท่านเป็นปกติหรือไม่? เป็นที่ทราบกันดีว่าไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดคนเราทุกคนย่อมต้องพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง ดังนั้นคำตอบของคำถามที่ว่าพฤติกรรมการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุเป็นปกติหรือไม่ คือ “ไม่ปกติ” อีกทั้งต้องเน้นย้ำว่า “ไม่ควรมองข้าม” ด้วยจึงจะถูก ผู้สูงอายุที่พบเจอกับปัญหานี้จะยิ่งทำให้ระบบต่างๆเสื่อมถอยลงไวขึ้นอีกเนื่องจากส่งผลต่อระบบสมองโดยตรง จะมีอาการอ่อนเพลีย คิดไม่ออกคิดช้า ต่อมรับรสอาหารเริ่มทำงานผิดเพี้ยน จนในที่สุดก็ก่อให้เกิดความวิตกกังวลได้ โรคนอนไม่หลับ มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง 1. ความชราสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยปกติแล้วยิ่งเราอายุเพิ่มขึ้นการทำงานของสมองก็จะเสื่อมถอยลงตามอายุของเราไปด้วย และแม้ว่าบทบัญญัติของการรักษาสุขภาพจะระบุไว้ว่าคนเราควรนอนให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมงแต่ผู้สูงอายุก็ไม่สามารถทำได้เนื่องด้วยการทำงานของสมองที่เปลี่ยนไปส่งผลให้พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนตามไปด้วย 2. โรคประจำตัวกับการนอน โรคประจำตัวบางโรคของผู้สูงวัยท่านนั้นๆ ส่งผลต่อการนอน เช่น โรคเบาหวาน ต่อมลูกหมากโต […]

8 กิจกรรมผู้สูงอายุที่น่าสนใจ ช่วยผู้สูงวัยอารมณ์ดี

8 กิจกรรมผู้สูงอายุที่น่าสนใจ ช่วยผู้สูงวัยอารมณ์ดี

“กิจกรรมผู้สูงอายุ” ถือเป็นอย่างหนึ่งที่ไม่เพียงแต่ช่วยนันทนาการผู้สูงอายุในครอบครัวได้มีความสุขเท่านั้น แต่เป็นการที่ช่วยสานสัมพันธ์คนในครอบครัวให้แน่นแฟ้นขึ้นด้วย กิจกรรมต่างๆ สามารถถูกออกแบบมาได้หลายๆ แบบโดยไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงแค่การใส่บาตรตอนเช้า หรือนั่งอ่านหนังสือให้ท่านฟังตามที่เราเคยเห็นกันเท่านั้น ทำไมต้องมี “กิจกรรม” ให้กับ “ผู้สูงอายุ” หลายๆคนมองว่าวัยชราเป็นวัยที่เลอะเลือนและทำอะไรไม่คอยได้ แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าแม้ทั้งสภาพร่างกายและจิตใจจะเสื่อมถอยลงแต่กลับต้องการการดูแลที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นธรรมชาติที่มนุษย์วัยนี้ต้องผ่านเรื่องราวมามากมายแต่หลักๆที่เห็นได้ชัดคือ การสูญเสียคนใกล้ชิด เช่น ลูกหลานเริ่มแยกย้ายออกจากบ้าน สูญเสียคู่ชีวิต และเพื่อนสนิท เป็นต้น สาเหตุดังกล่าวจึงส่งผลต่อความแปรปรวนทางอารมณ์ให้กับพวกท่านอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ดีเมื่อต้นไม้ยังต้องการน้ำไว้หล่อเลี้ยงให้เติบโต จิตใจของวัยชราก็เช่นเดียวกันที่ต้องการความสงบและความสุขโดยเฉพาะกับลูกๆ หลานๆ 8 กิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง มีกิจกรรมมากมายที่แต่ละครอบครัวสามารถนำไปปรับใช้ โดยจะแบ่งตามสุขภาพทางภาวะจิต ดังนี้ กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุสมองเสื่อม กิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมให้กับผู้สูงอายุสมองเสื่อมควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นในเรื่องของความจำ ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมเล็กๆน้อยพอให้ผู้สูงอายุท่านนั้นๆได้ถูกกระตุ้นให้ช่วยส่วนประสาทของความจำมากขึ้น เช่น 1.ปฏิทินเตือนความจำ สมาชิกในบ้านอาจจะทำปฏิทินขนาดใหญ่โดยมีตัวเลขบอก วัน-เดือน-ปี หรือ ฤดูกาล ไว้บนปฏิทินก็ได้ วิธีทำกิจกรรมนี้ทำได้ง่ายๆ โดยการที่ลูกหลานหรือผู้ดูแลต้องค่อยหมั่นถามท่านถึงวันหรือช่วงเวลาต่างๆ ที่สำคัญในชีวิต เช่น เกิดวันที่เท่าไหร่ พรุ่งนี้วันอะไร แต่งงานวันที่เท่าไร่ เป็นต้น การกระทำเช่นนี้จะช่วยส่งเสริมให้ท่านได้ใช้ระบบความจำมากขึ้นนั่นเอง 2. สิ่งที่คุ้นเคย ในกิจกรรมนี้เป็นการนำสิ่งต่างๆ ที่ท่านคุ้นเคยมาให้ดู ให้ฟัง และคอยถามท่าน เช่น […]

5 ข้อเท็จจริงเรื่องสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ลูกหลานควรรู้

5 ข้อเท็จจริงเรื่องสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ลูกหลานควรรู้

“สุขภาพจิต” อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเรา เรามักจะได้รับคำอวยพรและอวยพรให้กับคนอื่นๆว่า “ขอให้มีความสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรง” หากแต่ก็จะมีสุขได้นั้นไม่ได้มีปัจจัยมาจากความแข็งแรงทางกายภาพอย่างเดียวเพราะยังมีเรื่องของความรู้สึกนึกคิดและเรื่องจิตใจที่ต้องคอยดูแลด้วย ยิ่งหากเป็นผู้สูงอายุยิ่งต้องคอยทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีที่จะรับมือกับภาวะอารมณ์ของพวกท่านนั่นเอง “สุขภาพจิตผู้สูงอายุ” สำคัญอย่างไร เมื่อยิ่งชราลงแน่นอนว่าระบบการทำงานในร่างกายย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทั้งทางร่างกายที่มีความเสื่อมของอวัยวะต่างๆเกิดขึ้น เช่น ตามข้อต่างๆ หัวเข่า ความสามารถในการมองเห็นที่อาจะเลอะเลือน เป็นต้น และ ทางจิต ที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกันเพราะพวกท่านเป็นวัยที่ผ่านประสบการณ์ในชีวิตมามากมาย โดยเฉพาะบางท่านที่ผ่านการสูญเสียมา เช่น การสูญเสียคู่ชีวิต หน้าที่การงาน ประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุต้องคอยปรับตัวอยู่เสมอ เพราะหากปรับตัวและภาวะอารมณ์ไม่ได้จนสะสมเป็นเวลานานๆก็จะส่งผลเสียต่อตัวท่านเอง ในกรณีที่แย่ที่สุดคือการเป็น “โรคซึมเศร้า” ซึ่งเกิดขึ้นในผู้สูงอายุมากถึง 75,564 รายและมีความคิดที่อยากฆ่าตัวตายถึงร้อยละ 1.17 นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเรื่องของความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของพวกท่านจึงสำคัญ 5 ข้อเท็จจริงของสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ลูกหลานควรรู้ 1. ผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 ใน 4 มีความผิดปกติทางจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล หรือภาวะสมองเสื่อม จากการศึกษาร่วมกันระหว่างองค์การอนามัยโรค มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ภายในปีพ.ศ. 2563 ภาวะซึมเศร้าจะเป็นปันหาสาธารณสุขอันดับ 1 ของโลก และเป็นสาเหตุการตายและการสูญเสียที่สำคัญเป็นลำดับที่ 2 ของโลก รองจาก […]

8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง?

8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง?

โรคผู้สูงอายุ  “ยิ่งอายุเราเพิ่มขึ้นโรคภัยก็เพิ่มขึ้นตามมาด้วย” เป็นคำกล่าวไม่เกินจริงและปฏิเสธไม่ได้เลยเพราะเมื่ออายุเริ่มเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัยไม่ว่าจะ 50 ปี หรือ 60 ปีขึ้นไป การหาหมอ-หาผู้เชี่ยวชาญก็กลายเป็นวงการที่เข้าแล้วออกยากขึ้นมาทันที อย่างไรก็ดีใช่ว่าโรคถามหาแล้วเราจะดูแลและป้องกันให้ผู้สูงวัยในครอบครัวไม่ได้เลยก็ไม่ใช่ซะทีเดียว ดังนั้นก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับ 8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวังว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละโรคมีการดูแลรักษาอย่างไร มารู้จัก 8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง 1.โรคหัวใจ สาเหตุของโรคหัวใจ เกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจซึ่งส่งผลให้การหมุนเวียนเลือดในหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ อาการของโรคหัวใจ อาการเหนื่อยง่าย เวลาออกแรง หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ต้องหนุนหมอนสูง แน่นหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม วิธีการป้องกันโรคหัวใจ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน รับประทานอาหารที่มีประโยนช์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ ตรวจสุขภาพอยู่เสมอ 2. โรคต้อกระจกตา สาเหตุของโรคต้อกระจกตา เกิดจากเลนส์แก้วตาเสื่อมสภาพจนมีความขุ่นมัวเกิดขึ้น ทำให้บดบังแสงที่จะผ่านเข้าไปในตา แสงจึงส่งผ่านไปยังประสาทตาไม่เต็มที่ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนหรือมีอาการตามัวได้ อาการของโรคต้อกระจกตา มองไม่ชัดอย่างช้า ๆ ไม่มีการอักเสบหรือปวด ภาพซ้อน สายตาพร่า เกิดจากความขุ่นของเลนส์แก้วตาไม่เท่ากัน สู้แสงสว่างไม่ได้ มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะขณะขับรถในตอนกลางคืน มองเห็นสีต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม […]

อัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ อันตรายอย่างไร?

อัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ อันตรายอย่างไร?

“อัลไซเมอร์” กับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ที่คิดผิดๆ ว่าโรคนี้เป็นโรคที่ผู้สูงอายุทุกคนต้องและเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าแท้จริงแล้วไม่ได้เป็นตามที่ทุกคนคิดแต่อย่างใดอีกทั้งยังต่างกับความเชื่อเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง เริ่มตั้งแต่ผู้สูงอายุทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นโรคนี้กันทุกคนเมื่ออายุพวกท่านมากขึ้นและไม่ได้เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติแต่มีสิ่งที่กระตุ้นให้โรคนี้เกิดขึ้น   “อัลไซเมอร์” คืออะไร อันตรายต่อผู้สูงวัยมากหรือไม่? “โรคอัลไซเมอร์” เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุแต่ไม่ใช่ความเสื่อมโดยธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นโรคนี้กันทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (ชนิดไม่ละลายน้ำ) ซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีนซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำนั่นเอง การสะสมของเบต้า-อะไมลอยด์ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อยๆ ลดลง เริ่มจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่มีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลใหม่ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำโดยเฉพาะความจำระยะสั้น จากนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นจะแพร่กระจายไปสู่สมองส่วนอื่นๆ และส่งผลต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค 1. อายุเพิ่มขึ้น โดยพบว่าหลังอายุ 65 ปี ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มเป็น 2 เท่าในทุกๆ 5 ปีที่อายุมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีด้วยเช่นกัน 2. พันธุกรรม เช่น มีญาติสายตรงในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคนี้หลายคน แต่พบเป็นส่วนน้อย คือประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น 3. โรคดาวน์ซินโดรม ผู้ป่วยถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีความผิดปกติของการสะสมของโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคของการเสียความทรงจำระยะสั้นได้เช่นกัน 4. การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ มีรายงานการศึกษาหลายรายงานพบว่า […]