Category Archives: การดูแลผู้สูงอายุ

“Piriformis Syndrome” กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท รักษายังไงในผู้สูงวัย?

"Piriformis Syndrome" กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท รักษายังไงในผู้สูงวัย?

“Piriformis Syndrome” หรือ อาการกล้ามเนื้อสะโพกทับเส้นประสาท มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยนั่งเฉยๆ อยู่เป็นเวลานานๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ในผู้สูงอายุนั้นมักมีความน่าเป็นห่วงกว่าวัยอื่นๆ เสมอเมื่อป่วยขึ้นมา เนื่องจากจะมีความรุนแรงและการรักษาที่ยากกว่าวัยอื่นๆ เนื่องจากสมรรถภาพทางร่างกายเริ่มถดถอยลง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมบุตรหลานจึงควรหาวิธีการรักษาที่เหมาะกับการรักษาภาวะโรคนี้ให้กับผู้สูงอายุที่ถูกต้องอย่างแท้จริง เพราะหากผู้สูงวัยต้องเข้ารับการรักษาใดๆ ที่ไม่ตรงจุดแล้วล่ะก็ นอกจากจะต้องเสียเวลาแล้ว ก็อาจทำให้อาการของพวกท่านรุนแรงกว่าเดิมก็เป็นได้ “Piriformis Syndrome” คืออะไร อันตรายหรือไม่หากเกิดในผู้สูงอายุ? โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในคนหลายๆ กลุ่ม โดยเฉพาะคนที่นั่งทำงานนานๆ ในออฟฟิศ ทำให้เกิดการงอสะโพก หรือผู้สูงอายุที่เมื่ออายุมากขึ้นก็ไม่สามารถลุกไปไหนได้ถนัดนักและต้องนั่งอยู่เป็นเวลานานๆ ก็มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี คนที่ต้องนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เช่น พนักงานออฟฟิศ พนักงานขับรถ พนักงานขายตั๋ว รวมถึงคนที่เคลื่อนไหวสะโพกมากเกินไป เช่น ออกกำลังกายหนักๆ นักวิ่ง ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ได้ด้วย กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท คือ… เป็นความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เกิดจากกล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสบริเวณก้นใกล้กับสะโพกไปกดทับเส้นประสาทไซอาติกที่อยู่ใกล้กัน ส่งผลให้รู้สึกปวดบริเวณก้นร้าวไปยังขา หากมีอาการรุนแรงมาก อาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการนั่ง เช่น นั่งทำงาน หรือขับรถ เป็นต้น สาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท โดยปกติ กลุ่มอาการนี้มักเกิดจากการอักเสบ […]

3 ท่านอนแก้ปวดเอว สำหรับผู้สูงอายุ

3 ท่านอนแก้ปวดเอว สำหรับผู้สูงอายุ

ท่านอนแก้ปวดเอว เป็นวิธีการป้องกันอย่างหนึ่งที่จะช่วยลดอาการปวดลงได้ เนื่องจากการปวดเอวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการยืน นั่ง และ นอนผิดท่า ดังนั้น การปรับท่านอน จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมอีกวิธีหนึ่งที่จะป้องกันอาการปวดนี้ได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักจะมีการปวดเอวได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ ด้วยนั่นเอง ท่านอนแก้ปวดเอว สำหรับผู้สูงวัย ปรับอย่างไรไม่ให้ทำลายสุขภาพ ผู้สูงอายุแต่ละท่านล้วนมีท่านอนที่ถนัดแตกต่างกันออกไป ซึ่งบางท่านั้นอาจจะทำให้หลับสบายก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับช่วยปรับท่านอนที่คุณชื่นชอบ ให้กลายเป็นท่าที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ทำร้ายร่างกาย แถมยังช่วยให้หลับสนิทตลอดคืนอีกด้วย นอนผิดท่า คืออะไร…. การนอนผิดท่า เป็นอาการที่หลายคนมักเจอ การนอนผิดท่าคือการนอนในที่ระหว่างอยู่ในอาการหลับลึก ไม่ว่าจะด้วยการดิ้นไปมาหรือการละเมอต่างๆ ขณะหลับ ท่าทางของการนอนนั้นกลายเป็นว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่ปกติ และไม่ถูกต้องตามหลักสรีระร่างกาย ทำให้การนอนของคุณไม่มีคุณภาพและส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อและกระดูกของคุณ โดยการนอนผิดท่านั้นมีอยู่หลายแบบ ทั้งคอตกหมอน หันคอกับตัวไปคนละทาง และหลายอย่างโดยการนอนผิดท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากความไม่ตั้งใจระหว่างที่นอนอยู่ นอนผิดท่า ก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง? การนอนผิดท่า นั้น จะทำจะไม่ใช่แค่ทำให้เกิดเพียงแค่อาการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ คอเคล็ด หรือเป็นอาการทั่วๆ ไป เท่านั้น แต่การนอนผิดท่า ก็สามารถทำให้เกิดอาการของโรคอื่นๆ ตามมาได้เช่นเดียวกัน โดยการนอนผิดท่านั้น แม้ว่าอาจจะไม่ใช่สาเหตุหลักของโรคต่อไปนี้ แต่ก็ถือว่ามีโอกาสทำให้เกิดได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคกระดูกเสื่อม ที่เกิดจากการใช้งานกระดูกมากจนเกินไประหว่างที่นอนผิดท่า […]

5 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุที่พบบ่อย หากเป็นแล้วรับมืออย่างไร?

5 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุที่พบบ่อย หากเป็นแล้วรับมืออย่างไร?

โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ นับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้สูงวัยกับการเป็นโรคเรื้อรังโรคใดโรคหนึ่ง เนื่องจากเมื่อเราก้าวเข้าสู่วัย 50 ปี ร่างกายก็จะเสื่อมลง ซึ่งทำให้มีโรคต่างๆ ตามมามากมายโดยเฉพาะกลุ่มโรคที่มีอาการเรื้อรัง ดังนั้น บุตรหลานจึงต้องเฝ้าระวังในพ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ของเราอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดโรคร้ายกับท่านได้ โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ คืออะไร ในผู้สูงอายุมักพบโรคใดบ้าง? โรคเรื้อรังเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเองหรือคนในครอบครัว เพราะการที่ต้องทนอยู่กับความเจ็บป่วยเป็นเวลานานอาจทำให้สุขภาพโดยรวมแย่ลง และอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตด้านต่างๆ อีกด้วย แต่ในเมื่อเกิดโรคขึ้นแล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยควรทำคือ ดูแลสุขภาพตนเอง และหาทางอยู่ร่วมกับโรคเรื้อรังอย่างปลอดภัยและมีความสุขที่สุด โรคเรื้อรัง คือ… โรคเรื้อรังนั้นมีหลายลักษณะและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดขึ้นในร่างกายเป็นเวลานานกว่าจะแสดงอาการ และอาจทำให้อวัยวะบางส่วนในร่างกายเกิดปัญหาหรือใช้งานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งโรคเรื้อรังบางชนิดยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นหรือลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ โดยตัวอย่างของโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อย คือ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ ผลกระทบเมื่อผู้สูงวัยมีภาวะโรคเรื้อรัง เมื่อเป็นโรคเรื้อรัง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกับการเจ็บป่วยธรรมดา เพราะโรคทั่วไปอย่างโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคปอดบวมนั้น เมื่อเป็นแล้วไม่นานผู้ป่วยก็จะหายจากโรคดังกล่าว แต่โรคเรื้อรังมักต้องใช้เวลานานกว่าจะควบคุมอาการได้ อีกทั้งบางโรคยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายเจ็บป่วยเท่านั้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อด้านอื่นๆ ในชีวิตอีกด้วย ซึ่งในโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถยกของหนัก เคลื่อนไหวร่างกาย และหยิบจับสิ่งของได้สะดวก หรือโรคเบาหวานก็ทำให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องควบคุมปริมาณการบริโภคน้ำตาล […]

ผู้สูงอายุ นอนติดเตียง ดูแลอย่างไรดีให้เหมาะสม?

ผู้สูงอายุ นอนติดเตียง ดูแลอย่างไรดีให้เหมาะสม?

ผู้สูงอายุ นอนติดเตียง เป็นภาวะของผู้ป่วยที่พบได้มากในหมู่ผู้สูงวัยของไทย เพราะในปัจจุบันมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันจำนวนผู้สูงอายุติดบ้านที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และผู้สูงอายุติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ใครมีผู้สูงอายุที่ต้องดูแล ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยยิ่งต้องให้ความสำคัญ และต้องเอาใจใส่สังเกตทั้งเรื่องสุขภาพร่างกายและสุขภาพใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี คนในครอบครัวต้องเข้าใจปัญหาต่างๆ ของผู้สูงอายุ รวมไปถึงการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม ผู้สูงอายุ นอนติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องดูแลอย่างไร? เมื่อประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” อย่างสมบูรณ์เมื่อมีประชากรอายุ 60 ปี เนื่องจากเริ่มมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับอวัยวะต่างๆ ทำงานช้ากว่าและบางคนอาจช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ซึ่งในลักษณะแบบนี้เรียกว่า “ผู้ป่วยติดเตียง” ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียงจำเป็นต้องดูแลและทำความเข้าใจอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการดูแลรักษา ผู้ป่วยติดเตียง คือ… ผู้สูงอายุติดเตียง คือ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา อาจเป็นเพราะเกิดการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรังที่เข้าสู่การลุกลามมากขึ้น จนส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งบางคนอาจจะสามารถขยับแขนหรือขาได้บ้าง แต่ยังต้องมีคนช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันทุกอย่าง เช่น การป้อนอาหาร ช่วยล้างหน้าแปรงฟัน ช่วยอาบน้ำ เป็นต้น ในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงอาศัยอยู่ด้วย คนในครอบครัวจะต้องสละเวลาส่วนใหญ่มาคอยดูแลผู้สูงอายุติดเตียงเหล่านี้ เพราะต้องได้รับการดูแลมากกว่าปกติ ทั้งทางด้านร่างกาย และสภาพจิตใจ ปัญหาที่ผู้สูงอายุนอนติดเตียงมักพบเจอ อาการ “นอนติดเตียง” สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม จนต้องนอนอยู่บนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลาไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จึงมักเกิดจากโรค […]

“เดินออกกําลังกาย” อย่างไรให้เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุ

"เดินออกกําลังกาย" อย่างไรให้เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุ

“เดินออกกําลังกาย” เป็นวิธีการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก หากแต่การเดินนั้น แม้จะเป็นกิจกรรมที่มนุษย์เราทำทุกวัน แต่เมื่อเป็นการออกกำลังกายมันก็จะมีความแตกต่างออกไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ชอบออกกำลังกายด้วยการเดิน จึงจำเป็นต้องรู้หลัก เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเดินอย่างแท้จริง “เดินออกกําลังกาย” ให้เหมาะกับผู้สูงวัย เดินอย่างไรให้ถูกต้อง? การเดินเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการออกกำลังกายที่ง่ายสะดวกและลงทุนน้อยเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ซึ่งการเดินที่ถูกต้องและสม่ำเสมอใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีแต่กลับสร้างเสริมสุขภาพที่แข็งแรงของเราได้ในระยะยาวช่วยให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายทำงานได้ดีมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นจนเราต้องประหลาดใจทีเดียว ทำไมการ “การเดิน” จึงสำคัญ? โดยปกติแล้วการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ว่าจะรูปแบบไหน อวัยวะส่วนนั้นจะทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ หากเราเคลื่อนไหวด้วยท่าที่ไม่ถูกต้องก็อาจเร่งการเสื่อมของอวัยวะได้ การเดินใช้อวัยวะและส่วนประกอบร่างกายหลายส่วน เช่น กล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท เมื่อเราเดินอวัยวะเหล่านี้จะขยับทำให้ถูกกดและเสียดสีกัน แม้ว่าส่วนประกอบเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่อรองรับการเคลื่อนไหวซึ่งรวมถึงแรงกดและแรงเสียดสีอยู่แล้ว แต่ถ้าหากเราเดินผิดท่าอาจเพิ่มแรงกดและแรงเสียดสีให้มากขึ้น ส่งผลให้อวัยวะได้รับผลกระทบจากแรงเหล่านี้มากกว่าปกติ เมื่อใช้งานบ่อย อวัยวะเหล่านั้นก็อาจเสื่อมก่อนเวลาที่ควรจะเป็นได้ เห็นได้ว่าท่าทางการเดินมีความสำคัญต่อทุกคนอยู่ไม่น้อย ยิ่งใครที่ออกกำลังกายด้วยการเดินและเดินเร็ว (Brisk Walking) หรือต้องเดินติดต่อกันหลายนาทีหรือชั่วโมง ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักการเดินด้วยท่าที่ถูกต้อง ผู้สูงอายุควรเดินอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ประเมินร่างกายก่อนออกเดิน ในผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนควรตรวจร่างกายว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่? มีทานยาหรือประวัติการดูแลพิเศษให้พกติดตัวไว้ การเดินควรเริ่มจากน้อยๆ ก่อน เช่น เดิน 5 นาที แล้วสังเกตว่าร่างกายรับไหวหรือไม่และค่อยๆ เพิ่มเวลาให้มากขึ้น ค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหม  เพราะอาจทำให้เกิดผลเสียได้ เลือกใส่เสื้อผ้า รองเท้าสำหรับการออกกำลังกาย ควรเลือกสวมเสื้อ […]

ศูนย์ดูแลผู้ป่วย stroke ฟื้นฟูผู้สูงอายุให้แข็งแรงมากขึ้น

ศูนย์ดูแลผู้ป่วย stroke ฟื้นฟูผู้สูงอายุให้แข็งแรงมากขึ้น

ศูนย์ดูแลผู้ป่วย stroke สถานที่ที่คอยช่วยฟื้นฟู เน้นคืนความสามารถในการเคลื่อนไหว การสื่อสาร ลดภาวะแทรกซ้อน เช่น ข้อติด ปวดบวม เพิ่มความแข็งแรง และเพื่อให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงกับระดับความสามารถก่อนป่วย และดูแลตนเองได้มากที่สุด โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุที่ในบางท่านอาจช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และบุตรหลานไม่มีเวลาดูแล ศูนย์ดูแลผู้ป่วยในผู้สูงอายุจึงถือเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุดสำหรับการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยในผู้ป่วยเส้นเลือดสมอง ศูนย์ดูแลผู้ป่วย stroke ดีอย่างไร ทำไมจึงจำเป็นต่อผู้ป่วยสูงอายุในยุคนี้? โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคหนึ่งที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงวัยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยส่วนมากเกิดมาจากสาเหตุความเสื่อมของหลอดเลือด ซึ่งส่งผลทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย และเกิดภาวะต่าง ๆ ตามมาหลังจากเกิดตัวโรค เช่น แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด สำลักอาหาร เป็นต้น Stroke หรือ โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ทำให้ขัดขวางการลำเลียงเลือดซึ่งนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมอง ส่งผลให้สมองสูญเสียการทำหน้าที่จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้สูงอายุ มีโอกาสเป็น Stroke ได้มากกว่าวัยอื่น? เรามักพบโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ เนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดซึ่งจะก่อให้เกิดอาการต่างๆ ทางระบบประสาทซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่อาจเป็นได้ทั้งหลอดเลือดสมองตีบเกิดจากการที่มีไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด หรือมีการอุดตันของหลอดเลือดสมองจากการที่มีลิ่มเลือดลอยไปอุดตันหลอดเลือดที่มีความเปราะบางกว่าปกติ ทำให้เนื้อสมองบางส่วนถูกทำลายไป ส่วนมากผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของระบบประสาทเกิดขึ้นทันทีทันใดเมื่อมีการอุดตันหรือมีการแตกของหลอดเลือดสมอง บริการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากศูนย์ดูแล การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่อยู่ใน […]

เหนื่อยง่าย กินอะไรดี – 5 เมนูสำหรับฟื้นฟูผู้สูงวัยอ่อนแรง

เหนื่อยง่าย กินอะไรดี - 5 เมนูสำหรับฟื้นฟูผู้สูงวัยอ่อนแรง

เหนื่อยง่าย กินอะไรดี มักเป็นคำถามของบุตรหลานเมื่อผู้สูงอายุเกิดอาการเหนื่อยง่ายและอ่อนเพลียว่าควรทำอย่างไรหรือหาเมนูอะไรให้พวกท่านทานดี เพื่อให้พวกท่านรู้สึกสดชื่นมากขึ้น เพราะโดยทั่วไปแล้ว ผู้สูงอายุมักมีปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต อันเนื่องมาจากการเสื่อมสมรรถภาพตามอายุที่มากขึ้น จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดนั่นเอง เหนื่อยง่าย กินอะไรดี – เมื่อผู้สูงอายุเกิดอาการอ่อนเพลีย ควรทานเมนูไหน? เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุหลายคนมักรู้สึกเหนื่อยง่ายและเคลื่อนไหวช้าลง บางคนอาจรู้สึกอ่อนเพลียและทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันลำบากขึ้น อาการเหล่านี้จัดเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่เรียกว่าภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ เฟรลตี้ (Frailty) ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ ภาวะเปราะบาง (Frailty) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้ที่มีสภาวะเปลี่ยนผ่านจากสภาพแข็งแรงสู่ภาวะอ่อนแอ (Vulnerability) ในหลายระบบทั้งทางกาย จิตใจ อันเป็นสาเหตุหลักของผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ (Adverse outcomes) ทั้งการหกล้ม ภาวะโรคต่างๆ คุณภาพชีวิตลดลง และภาวะทุพพลภาพ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในผู้สูงอายุมากที่สุด ภาวะเปราะบางมีลักษณะเฉพาะของอาการและอาการแสดงคล้ายกับความเสื่อมถอยทางกายที่พบเห็นได้ในผู้สูงอายุทุกคนเมื่ออายุมากขึ้นเกิดขึ้นจากความเสื่อมถอยตาม อายุ (Age-Related Decline) ในกระบวนการชรา (Aging Process) อาการที่บ่งบอกถึงภาวะเปราะบาง (Frailty Syndrome) หากมีอาการตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไปจาก 5 ข้อดังต่อไปนี้ถือว่าเป็นผู้ที่มีภาวะเปราะบาง 1.Weight Loss : น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ทราบสาเหตุ มากกว่า […]

7 เทคนิคการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านให้เหมาะสมและปลอดภัย

7 เทคนิคการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านให้เหมาะสมและปลอดภัย

การดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ค่อนข้างเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบันเพราะประเทศเรานั้นมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันจำนวนผู้สูงอายุติดบ้านที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และผู้สูงอายุติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ใครมีผู้สูงอายุที่ต้องดูแล ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยยิ่งต้องให้ความสำคัญ และต้องเอาใจใส่สังเกตทั้งเรื่องสุขภาพร่างกายและสุขภาพใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี คนในครอบครัวต้องเข้าใจปัญหาต่างๆ ของผู้สูงอายุ รวมไปถึงการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม การดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน สำคัญอย่างไร ทำไมบุตรหลานจำเป็นต้องรู้ เป็นเรื่องที่ต้องคอยเฝ้าระวังอย่างยิ่งเมื่อผู้สูงอายุในครอบครัวมีพฤติกรรมที่ค่อนข้างชอบอยู่บ้านมากกว่าออกไปข้างนอก หรือในบางกรณีคือผู้สูงวัยบางท่านอยู่ในสถานะเป็นผู้ป่วยติดเตียง นั่นจึงทำให้พวกท่านมีความน่าเป็นห่วงมากขึ้น เพราะถ้าหากบุตรหลานไม่อยู่บ้าน และผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านลำพัง ก็อาจทำให้มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมากขึ้นนั่นเอง การดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะถ้าผู้สูงอายุสุขภาพไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อย แน่นอนเราในฐานะลูกหลานคงไม่สบายใจ และคงเป็นกังวลอย่างมากกับอาการเหล่านั้นที่เกิดขึ้นกับท่านเราคงไม่อยากเห็นพ่อ แม่ พี่น้องเราไม่มีความสุขในบั้นปลายชีวิต เราควรดูแลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี แข็งแรงตั้งแต่เนิ่นๆ 7 เทคนิคการดูแลผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมติดบ้านให้เหมาะสมและปลอดภัย วิธีดูแลสุขภาพดีให้ผู้สูงอายุ การทำงานของร่างกายจะเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยวิธีดูแลสุขภาพผู้สูงอายุประกอบด้วยการดูแลอวัยวะส่วนต่างๆ และจัดการเรื่องเข้ารับการตรวจและรักษาปัญหาสุขภาพจากโรงพยาบาลหรือสถานอนามัยที่เชื่อถือได้ดังต่อไปนี้ 1.การดูแลสุขภาพดวงตา ลูกหลานควรพาผู้สูงอายุเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาหรือวัดสายตา เพื่อตัดแว่นสายตาที่เหมาะสม รวมทั้งตรวจดูว่าผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพตาหรือไม่ เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไปในกรณีที่ดวงตาผิดปกติ ไม่ควรให้ผู้สูงอายุสูบบุหรี่ รวมทั้งไม่สูบบุหรี่เมื่ออยู่ใกล้ผู้สูงอายุ เนื่องจากจะทำให้เสี่ยงเกิดจอตาเสื่อม หรือต้อกระจกได้ เตรียมผักและผลไม้ในแต่ละมื้ออาหารให้ผู้สูงอายุรับประทานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ เมื่อต้องออกแดดจ้าควรเตรียมแว่นกันแดดให้ผู้สูงอายุได้สวมใส่เพื่อถนอมสายตา 2.การดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุควรลดปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล รวมทั้งเลี่ยงรับประทานอาหารประเภทนี้ก่อนเข้านอน เพราะน้ำตาลอาจเกิดการสะสมและกลายเป็นแป้งอยู่ในช่องปากและฟัน ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพปากและฟันเกิดขึ้น ดูแลผู้สูงอายุให้แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 […]

5 โรคตาในผู้สูงอายุที่มักพบบ่อยมีอะไรบ้าง รักษาอย่างไร?

5 โรคตาในผู้สูงอายุที่มักพบบ่อยมีอะไรบ้าง รักษาอย่างไร?

โรคตาในผู้สูงอายุ นับเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานที่พบในผู้สูงอายุ เริ่มตั้งแต่ค่าสายตายาว สายตาสั้น ตาฝ้าฟาง ตาพร่ามัว เป็นต้น ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าเมื่อเราอายุมากขึ้น เราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเจ้าโรคทางตาและสายตาเช่นนี้ได้เลย ในวัยผู้สูงอายุนั้น การมีปัญหาสายตาเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งบุตรหลานอาจจะต้องศึกษาเกี่ยวกับโรคทางนี้ไว้ เพื่อเป็นการป้องกันและคอยระวังให้กับผู้สูงอายุอยู่เสมอ โรคตาในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง แต่ละโรครักษาอย่างไร? เมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะต่างๆ ในร่างกายที่เราใช้งานมาหลายสิบปีก็ย่อมเสื่อมสภาพเป็นเรื่องปกติ และ “ดวงตา” คือหนึ่งในอวัยวะที่มักพบความผิดปกติได้หลายรูปแบบ และนี่คือ 5 โรคตาที่ผู้สูงวัยไม่ควรมองข้าม เพราะโรคตาบางโรค…หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาก็อาจร้ายแรงถึงขั้นตาบอดได้ 5 โรคตาที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ 0 1 โรคต้อกระจก เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ดวงตาที่ถูกใช้งานมานานหลายสิบปีย่อมเสื่อมลง อย่างเลนส์ตาธรรมชาติที่ทำหน้าที่รับแสงมานานก็จะเกิดสีขุ่นขึ้นจนกลายเป็นสีเหลือง สีชา หรือกลายเป็นสีขาวขุ่นๆ ซึ่งนั่นคือต้นเรื่องของโรคต้อกระจก ที่ผู้สูงวัยในอายุ 50 ปีขึ้นไปควรระวัง รวมไปถึงผู้ที่ยังอายุไม่มากแต่มีคุณพ่อคุณแม่เป็นตาต้อกระจกก็จะมีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้น ลักษณะอาการ: เพราะเลนส์ตามีความขุ่นมัวมากขึ้น ทำให้การมองเห็นภาพมีลักษณะคล้ายเป็นหมอก หรือมีควันขาวๆ บัง สายตา การโฟกัสไม่ดีเหมือนเดิม ในผู้ป่วยต้อกระจกบางชนิดอาจมีอาการแพ้แสง และหากต้อกระจกเข้มมากจนสุก ก็จะบังลูกตาจนสูญเสียการมองเห็นได้ แนวทางการรักษา: การรักษาต้อกระจก ทำได้โดยการผ่าตัดนำเลนส์แก้วตาที่ขุ่นออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ โดยวิธีการผ่าตัดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ […]

อาการชักในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?

อาการชักในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?

อาการชักในผู้สูงอายุ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการปฐมพยาบาลหรือนำตัวพาไปรักษาทันทีเมื่อผู้สูงอายุเริ่มมีอาการ สาเหตุของการชักในผู้สูงวัยนั้นสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยมากๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอาการที่มาจากโรคประจำตัวหรืออาการทางสมองต่างๆ อย่างไรก็ดี แม้อาการชักจะสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ถ้าหากพบในเด็กหรือผู้สูงอายุแล้วละก็ อาการนี้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงบรรเทาอาการเท่านั้น อาการชักในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร อันตรายอย่างไรบ้าง? อาการชักเป็นอาการที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็วและถูกต้อง เนื่องจากอาการชัก ต่อเนื่องสามารถก่อให้เกิดความพิการทางสมองและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีและยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ดังนั้นผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการชักควรมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอาการและวิธีการรับมือ ผู้สูงอายุมีอาการชัก เกิดจาก…. ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งเกิดอาการโรคลมชักโดยไม่ทราบสาเหตุ และในกลุ่มที่สามารถระบุสาเหตุได้ มักเกิดจากการที่สมองถูกกระทบกระเทือน ภายในสมองนั้นเต็มไปด้วยเซลล์ประสาท กระแสไฟฟ้า และสารเคมีที่ถูกเรียกว่าสารสื่อประสาท หากถูกกระทบกระเทือนและเกิดความเสียหาย อาจทำให้สมองทำงานผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการชัก อย่างไรก็ดี อาการชักที่เกิดในผู้สูงอายุเช่นนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้ กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุอย่างแน่ชัด ซึ่งจากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าผู้สูงอายุในกลุ่มนี้ไม่มีสาเหตุการชักที่แน่ชัด ซึ่งอาจมีผลมาจากประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคลมชัก มีการสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือมีความผิดปกติของยีนในร่างกาย เป็นต้น กลุ่มที่สามารถพบสาเหตุได้อย่างชัดเจน คือกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถหาสาเหตุของโรคลมชักได้ โดยอาจเกิดจากโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง เกิดจากอุบัติเหตุที่ศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการพัฒนาของสมองที่ไม่สมบูรณ์ได้อีกด้วย โดยสาเหตุเหล่านี้ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดโรคลมชักในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กได้ด้วยเช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการชัก อายุ โรคลมชักสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุแต่ก็มักเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กตอนต้น […]