Category Archives: การดูแลผู้สูงอายุ

โรควิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก ในผู้สูงวัย เกิดจากอะไรกันแน่

โรควิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก ในผู้สูงวัย เกิดจากอะไรกันแน่

โรควิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกายของเรา โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ที่เมื่อพวกท่านต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก หรือสถานการณ์ที่ยากจะรับมือ อาจทำให้เกิดอาการวิตกกังวล ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น เมื่อร่างกายเกิดความวิตกกังวลจะทำให้หัวใจของท่านเริ่มเต้นแรงขึ้น บางครั้ง ความวิตกกังวล ทำให้กล้ามเนื้อกระตุกได้อีกด้วยนั่นเอง ซึ่งหากเกิดภาวะเช่นนี้ บุตรหลานควรรับมืออย่างไร? โรควิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก ในผู้สูงวัย เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่? อาการกระตุกนั้นเป็นอาการอย่างหนึ่งเมื่อร่างกายเกิดความวิตกกังวล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกๆ คนที่มีอาการวิตกกังวลจะเกิดอาการกระตุกได้ อาการกระตุก เป็นอาการของกล้ามเนื้อ หรือกลุ่มของกล้ามเนื้อเกิดการสั่นไหว เคลื่อนไหว โดยที่ไม่ได้ผ่านการสั่งการจากสมอง ซึ่งอาจจะเป็นเพียงการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยไปจนถึงการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น เช่น มือกระตุกขยับขึ้นลง อาการกล้ามเนื้อกระตุกที่เกิดจากความวิตกกังวล นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในกล้ามเนื้อทุกๆ ส่วนของร่างกาย เมื่อเกิดอาการกระตุกอาจจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาที หรืออาจจะเกิดขึ้นนานกว่านั้นก็ได้ สำหรับบางคนอาจจะมีอาการกระตุกเกิดขึ้นได้เรื่อยๆ กล้ามเนื้อที่ได้รับผลจากความวิตกกังวลมากที่สุดคือ กล้ามเนื้อบริเวณดวงตา อาการกล้ามเนื้อกระตุกที่เกิดจากความวิตกกังวลนั้นมักจะรุนแรงในช่วงก่อนนอน เพราะเป็นช่วงที่เรามักจะคิดวนเวียนถึงเรื่องที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล แต่เมื่อหลับไปแล้วอาการกล้ามเนื้อกระตุกก็จะหายไปเอง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณมีเรื่องให้คิดจนมีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น ก็จะส่งผลให้อาการกล้ามเนื้อกระตุกนั้นรุนแรงขึ้นได้ อย่างไรก็ตามเมื่ออาการวิตกกังวลหายไป แต่อาการกล้ามเนื้อกระตุกอาจจะยังคงอยู่สักพัก และจะค่อยๆ หายไปเองได้ สาเหตุที่ความวิตกกังวล ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก ความวิตกกังวล ความวิตกกังวลจะทำให้ระบบประสาทปล่อยสารสื่อประสาทออกมา ซึ่งสารสื่อประสาทบางชนิดจะไปส่งสารให้กล้ามเนื้อนั้นเกิดการขยับ จึงทำให้ร่างกายเกิดอาการกระตุก ความเครียด ความเครียดทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาทนั้นตึง […]

การเดินของผู้สูงอายุผิดปกติ? อาจเสี่ยงภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง

การเดินของผู้สูงอายุผิดปกติ? อาจเสี่ยงภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง

การเดินของผู้สูงอายุผิดปกติ เชื่อว่าบุตรหลานหลายๆ คนต้องเคยเห็นการเดินผิดปกติของผู้สูงอายุที่บ้านกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการเดินเซ เดินแล้วทรงตัวไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าเมื่อเราแก่ตัวลง สมรรถภาพทางร่างกายก็จะเสื่อมลงไปตามวัย แต่สิ่งที่เรารู้กันมานั้นถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ เพราะการเดินผิดปกติเช่นนี้อาจไม่ได้มาจากความเสื่อมของเข่าและขาของผู้สูงวัยอย่างเดียว การเดินของผู้สูงอายุผิดปกติ คืออะไร ทำไมจึงเสี่ยงภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง? สมองของเราจะมีโพรงอยู่ภายใน โพรงสมองจะมีน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ป้องกันดูดซับแรงกระทบกระแทกจากภายนอก ในสภาวะที่การดูดซึมของน้ำผิดปกติ จะมีน้ำคั่งและดันให้โพรงสมองมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง คือ… สมองของมนุษย์นั้นไม่ใช่ก้อนเนื้อตัน แต่มีโพรงน้ำอยู่ภายใน น้ำดังกล่าว คือ น้ำหล่อสมองและไขสันหลัง ซึ่งในที่นี้จะเรียกสั้นๆว่า น้ำ  ซึ่งน้ำดังกล่าวจะทำหน้าที่ดูดซับแรงกระเทือน และถ่ายเทสารเคมีหลายอย่าง ในสภาวะที่การดูดซึมของน้ำผิดปกติไปก็จะมีน้ำคั่งดันโพรงสมองให้โตผิดปกติ และเกิดภาวะน้ำเกินในโพรงสมองนั่นเอง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดโรค ผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 60 ปี ภาวะติดเชื้อในสมอง เลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง หรืออาจเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุก็ได้ จะรู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเดินร่วมกับสติปัญญาลดลง หรือ ปัสสาวะราด คือ ผู้ที่เข้าข่ายน่าสงสัย ว่าจะมีโรคนี้และสมควรได้รับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan) หรือ แม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI) ถ้าแพทย์พบว่าขนาดของโพรงสมองจากการตรวจดังกล่าว โตผิดปกติ จะถือว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคนี้ และจะแนะนำให้ทำการตรวจเพิ่มเติม […]

อาการนอนกระตุก ในผู้สูงอายุ ภัยร้ายที่อันตรายกว่าที่คิด

อาการนอนกระตุก ในผู้สูงอายุ ภัยร้ายที่อันตรายกว่าที่คิด

อาการนอนกระตุก เป็นการเคลื่อนไหวทางร่างกายที่เราไม่รู้ตัวและไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งในผู้สูงอายุบางท่านอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น รู้สึกเหมือนตกจากที่สูง หัวใจเต้นถี่-เต้นรัว ซึ่งสามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงก่อนนอนไปจนถึงระหว่างการนอนของผู้สูงอายุ ส่งผลให้พวกท่านนอนหลับไม่สนิทและสะดุ้งตื่นกลางดึกได้ อาการนอนกระตุก ในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่? โดยทั่วไปแล้วมนุษย์เรานั้นต้องมีเวลานอนนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุนั้น การนอนพักผ่อนเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอนั่นเอง อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดอาการกระตุกในขณะที่นอนหลับนั้น ทำให้ผู้สูงอายุบางท่านต้องสะดุ้งตื่นและหลับไม่สนิทได้ ทำให้นอนได้ไม่เต็มอิ่มและไม่เต็มที่ และส่งผลเสียต่อสุขภาพในที่สุด ซึ่งหากเป็นเช่นนี้บุตรหลานควรรับมืออย่างไร? นอนกระตุกในผู้สูงวัยเกิดจาก….. นอนกระตุก (Hypnic Jerks) เกิดจากการหดตัวจากกล้ามเนื้อซึ่งทำให้เกิดอาการการกระตุกอย่างกะทันหันในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ใช่อาการผิดปกติจากการนอนหลับ อย่างไรก็ตาม ความผิดปกติจากการนอนหลับ อาจนำไปสู่ความวิตกกังวล และทำให้นอนไม่หลับ เพราะกังวลว่าจะเกิดการกระตุกซ้ำๆ ขณะนอนหลับ ลักษณะอาการ ผู้ป่วยที่มีอาการนอนกระตุกบ่อย ๆ จะมีลักษณะอาการระดับรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่มีลักษณะอาการดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อกระตุกขณะนอนหลับ หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น เหงื่อออก อารมณ์แปรปรวน สาเหตุที่ทำให้เกิดการนอนกระตุกในผู้สูงอายุ แม้จะดูเป็นอาการธรรมดา แต่การนอนกระตุกในผู้สูงอายุนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ในบางรายนั้นมักไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างอาจกระตุ้นให้เกิดอาการได้ เช่น 1.ความเครียดและวิตกกังวล อารมณ์ทางลบ […]

สมองฝ่อในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร อันตรายไหม รักษาอย่างไรดี?

สมองฝ่อในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร อันตรายไหม รักษาอย่างไรดี?

“สมองฝ่อในผู้สูงอายุ” อาการทางสมองชนิดหนึ่งในผู้สูงอายุ ที่เนื้อสมองสูญหายไปจำนวนหนึ่ง หลายๆ คนอาจสับสนกับภาวะสมองเสื่อมแต่แท้จริงแล้วไม่ใช่อาการเดียวกัน โดยโรคนี้ค่อนข้างเป็นความเสี่ยงในวัยชราในช่วงอายุ 75 ปีขึ้นไป เพราะเป็นผลจากการที่เซลล์สมองเสื่อมตามอายุที่มากขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ดีโรคนี้สามารถรักษาและป้องกันได้ ดังนั้นบุตรหลานจึงควรทำความรู้จักและศึกษาวิธีการป้องกันภาวะนี้ไม่ให้เกิดกับผู้สูงอายุในครอบครัวได้ “สมองฝ่อในผู้สูงอายุ” เกิดจากอะไร รักษาและป้องกันอย่างไรดี? ความเสื่อมของร่างกายนั้นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยชรา ไม่เพียงแต่สมองเท่านั้นที่เสื่อมลง อวัยวะอื่นๆ ก็เสื่อมด้วย เช่น ผิวหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ผมร่วง ฟันโยกคลอน ตาฝ้าฟาง หูตึง เป็นต้น “ภาวะสมองฝ่อ” เกิดจาก… โรคสมองฝ่อพบได้มากในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุ 75 ปีขึ้นไป เกิดจากปริมาณเซลล์เนื้อสมองลดลงถือเป็นการเสื่อมสภาพของร่างกายตามช่วงอายุ ซึ่งมีปัจจัยและความเสี่ยงของโรคสมองฝ่ออยู่อีกหลายข้อ ได้แก่ เกิดจากพันธุกรรม : ทำให้บางคนเป็นแต่กำเนิด หรือเป็นตอนอายุค่อนข้างมาก เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน : การทานอาหารในปริมาณมากเกินไป การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการสูบบุหรี่ดื่มแอลกอฮอล์ เกิดจากปัจจัยอื่น : โรคร้ายบางชนิด เช่น โรคติดเชื้อหรือโรคหลอดเลือดสมอง การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อสมอง การรับสารพิษ และการขาดออกซิเจน หากเกิดโรคสมองฝ่อตรงจุดที่ส่งผลต่อการควบคุมอวัยวะในร่างกายจะส่งผลต่ออวัยวะนั้นโดยตรง นอกจากนี้อาจเกิดอาการสมองเสื่อมได้หากส่วนของความทรงจำเกิดการฝ่อ ลักษณะอาการ สำหรับอาการของโรคสมองฝ่อ […]

“อรรถบําบัด” การบำบัดช่วยฟื้นฟูการพูดและการกลืนในผู้สูงอายุ

"อรรถบําบัด" การบำบัดช่วยฟื้นฟูการพูดและการกลืนในผู้สูงอายุ

“อรรถบําบัด” วิธีที่ช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูการพูดและกลืนอาหารให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประเภทต่างๆ ให้กลับมาทำงานได้ปกติและรวดเร็วมากขึ้น บุตรหลานหลายๆ ท่านอาจเคยได้ยินและคุ้นเคยกับการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้สูงอายุเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจไม่เคยได้ทำความรู้จักกับวิธีการบำบัดการพูดเช่นนี้มาก่อน โดยในบทความนี้เราจะมาพูดคุยกันว่าวิธีการฟื้นฟูทักษะการพูดและการกลืนอาหารเช่นนี้ คืออะไร และช่วยผู้สูงอายุได้จริงหรือไม่ “อรรถบําบัด” คืออะไร ทำไมจึงเหมาะกับผู้สูงอายุในโรคหลอดเลือดสมอง? การบำบัดการพูด เป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคลด้านการกลืน และการพูดเพื่อการสื่อสาร การบำบัดนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า การแก้ไขการพูด การบำบัดการพูโจะสามารถรักษาผู้ป่วยในทุกช่วงอายุโดยเฉพาะผู้สูงวัย ในทุกรูปแบบความผิดปกติ Speech Therapy คือ… การรักษาความผิดปรกติทางภาษาและการพูด เป็นวิธีฟื้นฟูในผู้ป่วยที่มีภาวะเสียการสื่อความหมายจากโรคหลอดเลือดสมอง มีความพิการทางสมอง ผู้ป่วยที่มีเสียงผิดปกติ พูดไม่ชัด โดยนักกายภาพฟื้นฟูด้านการสื่อสาร (Speech-Language pathologist) จะทำการทดสอบความสามารถทางภาษาและการพูดเพื่อประเมินสภาพความผิดปรกติต่างๆ และบำบัดแก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพความผิดปกติทางการความเข้าใจภาษาและการพูด อันเนื่องมาจากความบกพร่องของการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดหรือการได้ยิน เป็นต้น ความผิดปกติด้านการพูดของผู้ป่วยว่ามีกลุ่มใดบ้าง? ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความผิดปกติด้านการควบคุมการพูดที่เกิดขึ้นอยู่ในกลุ่มใด โดยแบ่งออกเป็น  2 กลุ่ม คือ  กลุ่มที่การควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ (Dysarthria) และกลุ่มที่การควบคุมโปรแกรมการพูดผิดปกติ (Apraxia) ดังนั้นจึงควรทราบว่าผู้ป่วยที่เราดูแลจัดอยู่ในกลุ่มใด กลุ่มการควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ (Dysarthria) จะมีลักษณะการพูดไม่ชัดที่เกิดจากความบกพร่องของเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดทำให้กล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดมีการอ่อนแรง เกร็ง หรือทำงานไม่ประสานสัมพันธ์กัน การพูดไม่เป็นความ ทำให้มีการพูดเสียงเบา เสียงขึ้นจมูก จังหวะของการพูดช้า พูดไม่ชัด กลุ่มการควบคุมโปรแกรมการพูดผิดปกติ (Aphasia) […]

8 ท่า กายภาพบําบัด ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก สำหรับผู้สูงวัย

8 ท่า กายภาพบําบัด ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก สำหรับผู้สูงวัย

กายภาพบําบัด ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก เป็นวิธีการที่ช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของกล้ามเนื้อผู้สูงอายุในผู้ป่วยอัมพาตได้เป็นอย่างดี เนื่องจากภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต คือ อาการที่อวัยวะบางส่วนของร่างกาย เช่น แขน ขา ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือกระดุกกระดิกได้ และการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบางส่วน ดังนั้นการทำกายภาพจึงค่อนข้างสำคัญต่อผู้สูงอายุในผู้ป่วยโรคอัมพาตครึ่งซีกนั่นเอง “อัมพาตครึ่งซีก” คืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง? อัมพาตครึ่งซีกคือภาวะที่ร่างกายมีการสูญเสียการทำงานของแขนและขาในด้านเดียวกัน ของลำตัวสาเหตุมีหลายอย่างแต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ สาเหตุจากโรคหลอดเลือดสมองซึ่งจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ “อัมพาต” เกิดจาก…. 1. หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน สาเหตุเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังสมองลดลงเกิดการตายของเนื้อสมอง ซึ่งกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้จะรวมกลุ่มโรค Transient Ischemic Attack (TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่จากระบบประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราวส่งผลให้สมองหรือจอประสาทตาขาดเลือด ทำให้ระบบประสาทเกิดความผิดปกติโดยจะใช้ระยะเวลาจะน้อยกว่า 24 ชั่วโมงก็จะกลับมาเป็นปกติ 2. หลอดเลือดสมองแตก สาเหตุเกิดจากมีการแตกของหลอดเลือดแบ่งออกเป็น ICH (Intracerebralhemorrhage),IVH (Intraventricular hemorrhage) มักเกิดร่วมกับการมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง, SAH (Subarachnoid hemorrhage) ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดแดงโป่งพองเฉพาะที่ภายในสมอง ทั้ง 2 ภาวะดังกล่าวทำให้เนื้อเยื่อสมองในบริเวณที่หลอดเลือดนั้นหล่อเลี้ยงเกิดอาการขาดเลือดทำให้การทำงานของสมองส่วนนั้นๆ […]

6 ท่า กายภาพบําบัด ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ

6 ท่า กายภาพบําบัด ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ

กายภาพบําบัด ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง – หลายๆ คนคงเคยได้ยินหรือรู้จักกันมาบ้างแล้วกับการบำบัดและฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดด้วยวิธีนี้ เพราะโรคหลอดเลือดสมองที่ส่งผลทำให้คุณภาพการใช้ชีวิตประจำวันลดลง การทำกิจกรรมต่างๆ ยากมากขึ้นเนื่องจากมีการอ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีก ซึ่งการรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยสูงอายุในโรคหลอดเลือดสมองจะช่วยฟื้นฟูให้ผู้ป่วยให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวัน ทำกิจกรรมต่างๆได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด บุตรหลานจึงควรศึกษาวิธีการทำกายภาพไว้ เพราะเป็นแนวทางง่ายๆ ที่สามารถทำได้เองที่บ้าน   “โรคหลอดเลือดสมอง” ภัยร้ายในผู้สูงอายุที่ไม่ควรมองข้าม โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือเรียกว่า อัมพฤกษ์ เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย ประเภทของโรคหลอดที่มักพบเจอในผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกได้เป็นชนิดต่างๆ ดังนี้ คือ โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด (Ischemic Stroke)  พบได้กว่า 80 % ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดจนทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke)  เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองแตก หรือฉีกขาด ทำให้เลือดรั่วไหลเข้าไปในเนื้อเยื่อสมอง พบได้ประมาณ 20 % ทำไมต้องทำกายภาพให้กับผู้สูงอายุในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง? สำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำกายภาพบำบัดคือ หลังจากที่อาการผู้ป่วยคงที่ แพทย์เห็นสมควรให้เริ่มกายภาพบำบัดได้ ซึ่งในช่วง 3-6 เดือนแรกหลังจากเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นช่วงที่ผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้เร็วที่สุด นับว่าเป็น “ ช่วงเวลาที่ดีของการฟื้นตัว” อันเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของตัวสมองในส่วนที่เสียหายเองร่วมกับการเรียนรู้การเคลื่อนไหว หลังจากนั้นการฟื้นฟูจะช้าลง เมื่อสิ้นสุดช่วงที่สมองฟื้นตัวขึ้นมาเอง ก็จะเข้าสู่ระยะที่มีการปรับตัวเองของเซลล์สมองส่วนที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งพบว่าหากมีการฝึกพัฒนาการเคลื่อนไหวให้ถูกวิธี สมองสามารถพัฒนาไปได้อีกถึง […]

“ท่าบริหารเส้นเลือดตีบ” 5 ท่าง่ายๆ สำหรับผู้สูงอายุ

"ท่าบริหารเส้นเลือดตีบ" 5 ท่าง่ายๆ สำหรับผู้สูงอายุ

“ท่าบริหารเส้นเลือดตีบ” แม้จะเป็นวิธีง่ายๆ แต่ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงภาวะเส้นเลือดตีบและอุดตันในผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่แล้วปัญหาของผู้สูงที่มักพบเจอ นอกจากโรคต่างๆ ก็จะมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวที่ยังคงมีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงวัยเสมอ บุตรหลานบางท่านอาจมองว่าเป็นปัญหาเล็กน้อย แต่แท้จริงแล้วการที่ผู้สูงอายุขยับร่างกายได้น้อย กลับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เส้นเลือดของพวกท่านเกิดการอุดตันได้ง่ายขึ้นนั่นเอง   “ท่าบริหารเส้นเลือดตีบ” วิธีง่ายๆ ช่วยผู้สูงวัยห่างไกลภาวะเส้นเลือดอุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันกันว่าเป็นอาการ อัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นอาการที่คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะกลัวกันมาก เมื่อมีอาการแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายแล้วมักจะไม่ค่อยหาย หรือหายแต่ไม่หายสนิท ต้องใช้เวลาฟื้นฟูสมรรถภาพค่อนข้างนาน มีความพิการหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย สาเหตุของอาการมีได้หลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ จนทำให้สมองขาดเลือด และทันทีที่สมองขาดเลือด เซลล์สมองต่างๆ จะค่อยๆถูกทำลาย ส่งผลให้สมองสูญเสียหน้าที่จนเกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ ประเภทของโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ โดยทั่วไปโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุจะเหมือนกับภาวะที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 1. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน (ischemic stroke) สาเหตุเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังสมองลดลงเกิดการตายของเนื้อสมอง ซึ่งกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้จะรวมกลุ่มโรค Transient Ischemic Attack (TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่จากระบบประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราวส่งผลให้สมองหรือจอประสาทตาขาดเลือด ทำให้ระบบประสาทเกิดความผิดปกติโดยจะใช้ระยะเวลาจะน้อยกว่า […]

6 เมนูลดไขมันในเลือด ช่วยลดปัญหาไขมันอุดตันให้ผู้สูงอายุ

6 เมนูลดไขมันในเลือด ช่วยลดปัญหาไขมันอุดตันให้ผู้สูงอายุ

“เมนูลดไขมันในเลือด” ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “อาหาร” คือปัจจัยและเป็นรากฐานที่สำคัญของการมีสุขภาพที่ดี ดังคำกล่าวที่ว่า “กินอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น” ก็เห็นจะจริง เพราะหากทานอาหารที่ดี ปัญหาเรื่องสุขภาพต่างๆ ก็สามารถลดไปได้กว่าครึ่ง แต่หากทานแต่สิ่งที่ไม่มีประโยชน์ก็จะให้โทษแก่ร่างกายอย่างมหาศาล โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ระบบย่อยอาหาร และระบบอื่นๆ ในร่างกายไม่ได้ทำงานได้ดีเช่นเมื่อก่อน ส่งผลให้ร่างกายของพวกท่านได้รับผลพวงหลายๆ อย่างที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ไขมันเกิน เป็นต้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม บุตรหลานจึงควรดูแลและใสใจเรื่องอาหารของพวกท่านเป็นอย่างดี “เมนูลดไขมันในเลือด” ลดปัญหาไขมันเกินในเลือดสำหรับผู้สูงอายุ ไขมันในเลือด สูงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการจากไขมันในเลือดสูงแต่อาจมีปัญหาระยะยาวจากการที่ไขมันในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานแล้วทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ตีบตัน ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆของร่างกายได้ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ (โรคอัมพฤกษ์) ไขมันในเลือดสูงในผู้สูงอายุ เกิดจาก… ภาวะไขมันในเลือดสูงนั่นเกิดได้จากสาเหตุของ ความผิดปกติทางพันธุกรรม ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด แต่สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรืออาหารที่มีพลังงานมากเกินความต้องการของร่างกายและการดื่มเครื่องดื่มในปริมาณมากเป็นประจำ รวมถึงการไม่ออกกำลังกายอีกด้วย “ไขมันชนิดต่างๆ” ตัวการสำคัญของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอล คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างเองได้ และจำเป็นต่อการสร้างเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย โดยจะพบได้ตรงผนังของเซลล์ และจัดเป็นไขมันที่สำคัญที่ร่างกายต้องการ โดยปกติแล้วคอเลสเตอรอลจะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ คอเลสเตอรรอลชนิดที่ดี High-Density […]

ท้องอืด ท้องผูก – 5 วิธีช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ผู้สูงวัย

ท้องอืด ท้องผูก - 5 วิธีช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ผู้สูงวัย

“ท้องอืด ท้องผูก” ความผิดปกติของระบบขับถ่ายที่ส่งผลให้ขับถ่ายไม่ออก หรือใช้เวลานานกว่าจะขับถ่ายได้ในแต่ละครั้ง โดยปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เนื่องจากระบบขับถ่ายของพวกท่านนั้นค่อนข้างมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงทำให้พวกท่านมีปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายอยู่บ่อยครั้ง ท้องอืด มีแก๊สเยอะ ท้องผูก ขับถ่ายไม่ออก เป็นต้น “ท้องอืด ท้องผูก” ในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรดี? ท้องอืด นอกจากจะเป็นสิ่งที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของลำไส้ซึ่งมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ลดน้อยลง กระทั่งพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่มีแก๊สสูง ทำให้เกิดภาวะท้องอืด ส่วน ท้องผูก คืออาการถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องเบ่งและใช้เวลานาน อุจจาระมีลักษณะแข็งมาก หลังจากถ่ายเสร็จแล้วยังปวดท้องและมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมด รวมถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ สาเหตุของปัญหาระบบขับถ่ายและย่อยอาหารในผู้สูงอายุ ท้องอืด แน่นท้อง ในผู้สูงอายุ สาเหตุของอาการท้องอืดและท้องเฟ้อในผู้สูงอายุมาจากการที่ลำไส้บีบตัวได้น้อยลง เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นย่อมทำให้อวัยวะดังกล่าวทำงานได้ลดลง และส่วนหนึ่งมาจากการกินอาหารที่มีแก๊สในปริมาณสู  เช่น อาหารกลุ่มโปรตีนอย่างถั่วหรือน้ำอัดลมรวมถึงบริโภคอาหารในกลุ่มที่ย่อยยาก เช่น เนื้อแดง (ผู้สูงอายุสามารถบริโภคเนื้อแดงได้ แต่ควรหั่นให้ชิ้นเล็ก อีกทั้งต้องเคี้ยวให้ละเอียด) และอย่างที่กล่าวไปว่า เมื่ออายุมากขึ้น เอนไซม์ช่วยย่อยทำงานลดลง อีกทั้งกรดและด่างในกระเพาะอาหารก็ทำงานผิดเพี้ยนไป ประสิทธิภาพการช่วยย่อยก็ลงน้อยลงเช่นกัน นั่นจึงเป็นสาเหตุหลักๆ ของปัญหาดังกล่าว ท้องผูก […]