Author Archives: seo_content

หยุดหายใจ ตอนหลับ ผู้สูงอายุมีอาการนี้ ต้องรีบแก้ก่อนสาย

หยุดหายใจ ตอนหลับ ผู้สูงอายุมีอาการนี้ ต้องรีบแก้ก่อนสาย

“หยุดหายใจ ตอนหลับ” เหตุการณ์ที่น่ากลัวสำหรับเราทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาจเกิดภาวะนี้เมื่อไหร่ก็ได้ โดยการเกิดภาวะนี้ในผู้สูงอายุถือเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นระหว่างนอนหลับ เป็นอันตรายและอาจทำให้เกิดความผิดปกติอื่นตามมาจนถึงเสียชีวิตได้ ดังนั้น บุตรหลานไม่ควรนิ่งนอนใจและหาทางแก้ไขก่อนเกิดเหตุการณ์ร้ายๆ ขึ้น “หยุดหายใจ ตอนหลับ” ในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรดี? ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) เป็นภาวะอันตรายสังเกตได้จากการนอนกรนเกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนต้นที่แคบลง หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาจะเสี่ยงโรคทางหัวใจ และโรคอื่น ๆ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต สามารถวินิจฉัยได้ผ่านการทำ Sleep Test เพื่อวัดความรุนแรงของอาการเป็นข้อมูลสำหรับทำการรักษาต่อไป ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจาก… ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เกิดจากการปิดกั้นของทางเดินหายใจขณะหลับ  ทำให้อากาศไม่สามารถผ่าน หรือผ่านได้น้อย ส่งผลให้เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดลดลง มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงขึ้น ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากขึ้น และเพื่อที่จะลดภาวะการหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ สมองจะเกิดการตื่นขึ้น บางครั้งสั้นมากเป็นวินาที ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวว่าตื่น เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นหลายครั้งในหนึ่งคืน ในรายที่มีอาการมากอาจเกิดขึ้นมากกว่าร้อยครั้งใน 1 ชั่วโมง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีกี่ประเภท ประเภทการอุดกั้นทางเดินหายใจ (Obstructive Sleep Apnea) : เป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่พบได้บ่อยที่สุด จากระบบทางเดินหายใจที่แคบลง ประเภทความผิดปกติจากสมองส่วนกลาง  (Central sleep […]

6 ปัญหาของผู้สูงอายุ ยิ่งชรายิ่งต้องเจอ

6 ปัญหาของผู้สูงอายุ ยิ่งชรายิ่งต้องเจอ

“ปัญหาของผู้สูงอายุ” สิ่งไม่พึงประสงค์ที่ผู้สูงวัยมีอายุที่มากขึ้น เราทุกคนต่างรู้ดีว่า เมื่อเราแก่ตัวลง ร่างกายของเรานั้นก็จะทำงานได้ไม่เหมือนเดิม ระบบต่างๆ อวัยวะต่างๆ ก็มีประสิทธิภาพที่ไม่เท่าสมัยหนุ่มสาว นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้สูงอายุจึงมีปัญหาเรื่องสุขภาพได้มากกว่าคนวัยอื่นๆ ซึ่งปัญหาที่ว่านั้น ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง บทความนี้เราจะมาคุยกัน “ปัญหาของผู้สูงอายุ” ที่มักพบเจอ มีอะไรบ้าง? ปัญหาของผู้สูงอายุที่พบบ่อยนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือ กลุ่มโรคสามัญทั่วไป ที่เป็นได้แม้ยังไม่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ ไต ซึ่งเกิดได้กับคนทุกวัย แต่พออายุมากขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มอาการที่เกิดเฉพาะกับผู้สูงอายุ คือ เกิดจากความชราภาพของร่างกาย หรือจากผลข้างเคียงจากโรคที่มารุมเร้าทำให้การดูแลตนเองถดถอยลง 6 ปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัย ยิ่งปล่อยไว้ ยิ่งน่ากลัว 1. ความเสื่อมของสติปัญญา เนื่องจากเซลล์สมองจะน้อยลง ขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากเลือดไหลเวียนสมองน้อยลงและภาวะขาดอาหารและวิตามินบางชนิด ผู้สูงอายุจะมีความจำเสื่อม หลงลืม นอนไม่หลับ ภาวะสมองเสื่อมอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ เช่น การพลัดหลง, อุบัติเหตุ, การขาดอาหาร, การติดเชื้อ ฯลฯ การป้องกันและการดูแล […]

5 วิธี การจัดท่าผู้ป่วยติดเตียง ให้ผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง

5 วิธี การจัดท่าผู้ป่วยติดเตียง ให้ผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง

“การจัดท่าผู้ป่วยติดเตียง” นั้นเป็นสิ่งสำคัญเพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยสูงอายุรู้สึกสบายตัวแล้ว ยังช่วยลดป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย เนื่องจากในผู้สูงวัยนั้นมักมีภาวะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และอาการเกร็ง ที่ค่อนข้างส่งผลเสียให้กับร่างก่ยของพวกท่าน ดังนั้น หากผู้สูงอายุท่านใดที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง บุตรหลานควรศึกษารายละเอียดการจัดท่านอนไว้เพื่อนำไปปรับใช้ “การจัดท่าผู้ป่วยติดเตียง” คืออะไร ทำไมจึงสำคัญต่อผู้สูงวัย? การจัดท่านอนและท่านั่งให้กับผู้ป่วยติดเตียงเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากจะช่วยป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ลดอาการเกร็ง ป้องกันข้อติดแข็ง อาการปวดและบวมของร่างกายข้างที่อ่อนแรง นอกจากนี้ยังช่วยลดการกดทับที่เส้นประสาท และลดการเกิดแผลกดทับซึ่งส่วนมากจะเกิดบริเวณก้นของผู้ป่วยติดเตียงอีกด้วย ทำไม “การจัดท่านอน” จึงสำคัญ อาการ “นอนติดเตียง” สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม จนต้องนอนอยู่บนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลาไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ บางรายอาจจะพอขยับร่างกายบางส่วนได้บ้างเคลื่อนไหวได้ หรือบางรายอาจไม่รู้สึกตัวเลย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยมีอาการนอนติดเตียง มักเกิดจากโรค อุบัติเหตุ รวมถึงจากการผ่าตัดใหญ่ สิ่งที่ตามมาจากภาวะการนอนติดเตียง คือผลข้างเคียงที่นำพาไปสู่การเสียชีวิต เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดแผลกดทับ การขาดอาหารอย่างรุนแรง เป็นต้น ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง จึงจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้อง จุดประสงค์ของการจัดท่านอนให้กับผู้ป่วยติดเตียง 1.เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีที่สุด ไม่มีแผลกดทับ ลดการติดเชื้อ ลดอาการข้อติด ไม่ขาดสารอาหาร มีความสะอาด การขับถ่ายถูกหลักอนามัย 2.ลดภาระของผู้ดูแลให้น้อยที่สุด คือพยายามให้ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุร่วมมือกับผู้ดูแลในการขยับ หรือยกส่วนต่างๆ […]

กายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง ฟื้นฟูผู้สูงอายุให้ดีขึ้น

กายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง ฟื้นฟูผู้สูงอายุให้ดีขึ้น

“กายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง” เป็นการขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหากล้ามเนื้อกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ เนื่องจากผู้สูงอายุจะไม่สามารถหยิบจับสิ่งของหรือลุกได้ตามปกติ จึงจำเป็นต้องใช้การทำกายภาพมาช่วยบำบัดและฟื้นฟูทักษะและสมรรถภาพร่างกายของพวกท่านให้ดีขึ้นนั่นเอง “กายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง” ช่วยฟื้นฟูร่างกายของผู้สูงวัยให้ดีขึ้น ขาอ่อนแรงเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย เช่น ขาอ่อนแรงในเด็กที่มีผลมาจากพัฒนาการของสมอง ขาอ่อนแรงในวัยกลางคน เนื่องจากมีภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หรือมีภาวะหลอดเลือดสมอง ที่ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนแรงของร่างกาย นอกจากนี้ในผู้สูงอายุที่มีการเคลื่อนไหวน้อยลง กล้ามเนื้อฝ่อลีบลง ก็มักจะพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาร่วมด้วยเช่นกัน สาเหตุของขาอ่อนแรงมีอะไรบ้าง? ขาอ่อนแรงเป็นอาการแสดงที่สำคัญของโรค หรือความผิดปกติของการทำงานของร่างกายหลายส่วน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ 1.ขาอ่อนแรงจากระบบประสาท (Nervous system) จะรวมความผิดปกติของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท ซึ่งทำหน้าที่สั่งการให้กล้ามเนื้อเกิดการเคลื่อนไหว เช่น การอ่อนแรงจากโรคหลอดเลือดสมอง การอ่อนแรงจากเส้นประสาทถูกกดทับหรือได้รับบาดเจ็บ 2.ขาอ่อนแรงจากระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นโดยตรงกับกล้ามเนื้อบริเวณขาเอง ซึ่งอาจจะเกิดการอ่อนแรงเพียงมัดเดียว แต่กล้ามเนื้อนั้นมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหว หรือเกิดได้ที่กล้ามเนื้อหลายๆ มัดพร้อมกันก็ได้ เช่น กรณีการฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งาน (Disuse atrophy) ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยอ่อนแรง ป้องกันภาวะข้อติดจากการนอนเป็นเวลานาน ป้องกันกล้ามเนื้อฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งานในข้างที่มีแรง กระตุ้นการทำงานและเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อข้างที่อ่อนแรง 5 ท่ากายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงวัยขาอ่อนแรง ท่าที่ 1 : นอนหงายเหยียดแขนแนบลำตัว […]

“กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ” วิธีฟื้นฟูร่างกายผู้สูงวัยที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวต่างๆ

"กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ" วิธีฟื้นฟูร่างกายผู้สูงวัยที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวต่างๆ

“กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ” หนทางที่ช่วยผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวต่างๆ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติมากขึ้น เราทุกคนทราบดีว่าเมื่อแก่ตัวลง ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมสมรรถภาพตามไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้นคือปัญหานี้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากๆ เนื่องจากหากการเคลื่อนไหวมีปัญหาก็จะทำให้เกิดอุบัติเหตุและการพลัดตกหกล้มต่อผู้สูงอายุได้ด้วย “กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ” คืออะไร และช่วยอะไรได้บ้าง? อายุที่มากขึ้น มักมาพร้อมกับความทรุดโทรมของสุขภาพในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะดูแลสุขภาพอย่างดีแค่ไหน ก็มีโอกาสเกิดอาการปวดเมื่อยข้อเข่า หรือได้รับผลกระทบจากโรคเรื้อรังต่างๆ เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคแต่ละโรคนั้นมีวิธีการรักษาแตกต่างกันออกไป และหนึ่งในอาการที่ผู้สูงอายุพบบ่อยที่สุดก็คือเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งสามารถรักษาได้หลายวิธี รวมถึงการทำกายภาพบำบัดผู้อายุด้วย กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ คืออะไร… การทำกายภาพสำหรับผู้สูงอายุ (Geriatric Physical Therapy) นั้น เป็นการกายภาพบำบัดที่เน้นพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายสำหรับผู้สูงอายุด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อ ใช้อุปกรณ์ต่างๆ เสริมการรักษา เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะเกิดความสึกหรอจนเกิดอาการปวดตามข้อ และตำแหน่งต่างๆ ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เป็นปกติ การทำกายภาพบำบัดในผู้สูงอายุจะสามารถเสริมความแข็งแรง และความคล่องตัวให้กับกล้ามเนื้อได้ ช่วยให้สามารถทรงตัวได้ดีขึ้น ลดโอกาสลื่นล้มจนเกิดการบาดเจ็บ ผู้สูงอายุท่านใดบ้างที่เหมาะกับการทำกายภาพบำบัด ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ (Arthritis) ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดสะโพก ผู้ที่ต้องใส่ข้อเข่าเทียม ผู้ที่มีปัญหาด้านการทรงตัว (Balance disorders) ผู้ที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด […]

“กระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า” วิธีฟื้นฟู อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคสมองในผู้สูงอายุ

"กระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า" วิธีฟื้นฟู อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคสมองในผู้สูงอายุ

“กระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า” เป็นวิธีการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาทที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากสามารถรักษาโรคทางสมองได้หลากหลาย รวมถึงส่งผลอันตรายต่อร่างกายน้อยมากๆ จึงทำให่ค่อนข้างเป็นที่นิยมและแพทย์มักแนะนำแก่ผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีนี้รวมถึงผู้สูงอายุที่สามารถใช้การกระตุ้นสมองชนิดนี้ฝนการฟื้นฟูระบบสมองให้ดีขึ้น “กระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า” คืออะไร มีแบบไหนบ้าง? การกระตุ้นสมองแบบ non-invasive (non-invasive brain stimulation) เพื่อการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ การกระตุ้นซ้ำด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะ (repetitivetranscranial magneticstimulation; rTMS) การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะ (transcranial direct current stimulation; tDCS) การกระตุ้นด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะจะส่งผลต่อสมองส่วนต่างๆ เป็นบริเวณกว้างและไม่เฉพาะเจาะจง ส่วนการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะส่งผลต่อสมองเฉพาะบริเวณที่ได้รับการกระตุ้นเป็นบริเวณแคบกว่า ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะ ซึ่งเครื่องมือมีขนาดกะทัดรัด ราคาถูกและการนำไปใช้ในทางปฏิบัติสะดวกกว่าการกระตุ้นซ้ำด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะ การกระตุ้นสมองด้วย “แม่เหล็ก” และ “ไฟฟ้า” ต่างกันอย่างไร? การรักษาด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (tDCS) หลักการทำงาน การรักษาโดยเครื่องกระตุ้นสมอง ด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน คือ การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงอย่างอ่อนผ่านกะโหลกศีรษะ (Transcranial Direct Current Stimulation : TDCS) โดยใช้เครื่องมือที่ส่งกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนประมาณ 1-2 mA […]

ไมเกรนผู้สูงอายุ – บอกลาอาการปวดหัวด้วยคลื่นไฟฟ้า

ไมเกรนผู้สูงอายุ - บอกลาอาการปวดหัวด้วยคลื่นไฟฟ้า

“ไมเกรนผู้สูงอายุ” เชื่อว่าผู้สูงอายุหลายๆ ท่านต้องเคยประสบปัญหานี้มาก่อน หรืออาจกำลังประสบอยู่ อาการปวดหัวที่ค่อนข้างสร้างความเจ็บปวดและรำคาญใจในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยธรรมชาติแล้วเมื่ออายุมากขึ้น อุบัติการณ์ของการปวดศีรษะไมเกรนจะลดน้อยลง อันเนื่องมาจากภาวะฮอร์โมนในร่างกายบางอย่างลดลง แต่ก็ยังพบการปวดศีรษะไมเกรนได้ในผู้สูงอายุ โดยความสำคัญของการวินิจฉัยและรักษานั้นค่อนข้างจะมีความซับซ้อน บุตรหลานจึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด “ไมเกรนผู้สูงอายุ” เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่? จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า โดยธรรมชาติแล้วเมื่ออายุมากขึ้น อุบัติการณ์ของการปวดศีรษะไมเกรนจะลดน้อยลง อันเนื่องมาจากภาวะฮอร์โมนในร่างกายบางอย่างลดลง แต่ก็ยังพบการปวดศีรษะไมเกรนได้ในผู้สูงอายุ แต่การจะตรวจสุขภาพและทำการรักษานั้นค่อนข้างจะมีความซับซ้อน เนื่องจากผู้สูงอายุอาจมีโรคประจำตัวอื่นๆ ที่ต้องใช้ยารับประทานเป็นประจำ และยังต้องระวังการปวดศีรษะที่มาจากภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น สาเหตุของการเกิดไมเกรนในผู้สูงอายุ กระแสไฟฟ้าบริเวณผิวสมองผิดปกติ ภาวะปวดศีรษะไมเกรน เกิดจากการส่งกระแสไฟฟ้าบริเวณผิวสมองผิดปกติ  ส่งผลให้สมองไวต่อสิ่งกระตุ้น มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งเมื่อสมองถูกกระตุ้นจะเกิดกระแสไฟฟ้าวิ่งไปตามผิวของสมอง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของเส้นเลือดในสมอง อีกทั้งยังไปกระตุ้นเส้นประสาทสมองให้หลั่งสารสื่อประสาทบางชนิดที่ทำให้หลอดเลือดสมองขยายตัวและเกิดการอักเสบ จนเป็นผลทำให้ปวดศีรษะ สิ่งกระตุ้นอื่นๆ ที่ทำให้ปวดไมเกรน สิ่งกระตุ้นที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน ได้แก่ ความเครียด พักผ่อนน้อย การสูดกลิ่น หรือควัน แสงแดด อากาศร้อนหรือหนาวจัด รวมถึงอาหารบางชนิด เช่น ของหมักดอง  ชีส และไวน์  ซึ่งบุตรหลานควรดูแลให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ การเข้ารับการรักษาช้า […]

“ฟื้นฟูสมอง” สำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสำคัญอย่างไร ทำวิธีไหนได้บ้าง?

"ฟื้นฟูสมอง" สำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสำคัญอย่างไร ทำวิธีไหนได้บ้าง?

“ฟื้นฟูสมอง” สำหรับผู้ป่วยสูงอายุในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน ถือเป็นวิธีสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโรคหลอดเลือดเช่นนี้มีสถิติที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุมากเป็นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ และเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยของความพิการ ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวัน เคลื่อนไหวและเดินได้ตามปกติ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอีกด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูระบบสมองของผู้สูงวัยหลังจากป่วยโรคนี้ให้ดีขึ้นนั่นเอง “ฟื้นฟูสมอง” คืออะไร ทำไมจึงสำคัญต่อผูป่วยโรคหลอดเลือดสมอง? โรคหลอดเลือดสมองถือเป็นโรคร้ายในลำดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนถึงปัจจุบัน นับเป็นโรคที่คนทุกวัยควรระวัง ทั้งผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน หรือวัยรุ่น ก็อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยสาเหตุที่ต่างกัน โดยเฉพาะช่วงอายุ 18 – 50 ปีจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น การสังเกตอาการและรู้ทันเพื่อรับมือให้ถูกวิธีจึงเป็นเรื่องสำคัญ โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มหลอดเลือดสมองตีบ และ กลุ่มหลอดเลือดสมองแตก  ซึ่งเป็นภาวะที่สมองขาดเลือดและออกซิเจน เนื่องจากหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก เลือดจึงไม่สามารถไหลเวียนไปยังสมองได้ เมื่อเซลล์สมองถูกทำลายจนเซลล์ตาย จึงไม่สามารถควบคุมอวัยวะและระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ สาเหตุของการเกิดโรคเส้นเลือดสมองในผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่พบมากขึ้นในคนสูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยจนถึงประเทศที่มีรายได้ปานกลางยิ่งมีอายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น ในต่างประเทศเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า domino effect ซึ่งสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ คือ เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงตีบแข็งทั่วร่างกาย (atherosclerosis) […]

5 วิธี “กระตุ้นสมอง” สำหรับผู้สูงวัย พิชิตโรคหลอดเลือดสมอง

5 วิธี "กระตุ้นสมอง" สำหรับผู้สูงวัย พิชิตโรคหลอดเลือดสมอง

“กระตุ้นสมอง” ขั้นตอนสำคัญหลังทำการรักษาทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคสมองให้กับผู้สูงอายุ จริงอยู่ที่ขั้นตอนการรักษาทางการแพทย์เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากการเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนใดๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลานี้ แต่ช่วงการพักฟื้นของผู้สูงอายุหลังจากนั้นก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกเช่นเดียวกัน เพราะผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยโรคทางสมองจะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้มากน้อยแค่ไหนนั้นก็จะขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราต้องมีการรักษาและกิจกรรมที่กระตุ้นสมองไว้เพื่อฟื้นฟูผู้สูงวัยนั่นเอง “กระตุ้นสมอง” คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และมีวิธีใดบ้าง? โรคทางสมอง เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งอันดับต้นๆ จะเป็นอาการของภาวะสูญเสียความทรงจำ หรือที่เราเรียกกันว่าสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ ภาวะหลอดเลือดในสมองตีบและตัน เป็นต้น อย่างไรก็ดีการป้องกันโรคเหล่านี้ไว้ก่อนย่อมดีที่สุด และถึงแม้จะป้องกันไม่ได้ก็สามารถฟื้นฟูผู้ป่วยสูงอายุทางโรคสมองต่างๆ ได้ ด้วยวิธีกระตุ้นสมองในแบบต่างๆ ที่จะทำให้ผู้สูงอายุกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติมากขึ้น โรคทางสมองที่มักพบเจอบ่อยในผู้สูงอายุ โรคสมองเสื่อม เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการหลงลืม การใช้ภาษาผิดปกติ และพฤติกรรมรวมถึงอารมณ์เปลี่ยนไปซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งที่แก้ไขได้และแก้ไขไม่ได้ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มหลอดเลือดสมองตีบและกลุ่มหลอดเลือดสมองแตก นั่นเอง และหากผู้ป่วยหลอดเลือดสมองทั้งสองกลุ่มผ่านพ้นช่วงวิกฤติแล้ว สมองจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วและทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถ้าผู้ป่วยได้รับการดูแลและการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุแต่ไม่ใช่ความเสื่อมโดยธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นโรคนี้กันทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (ชนิดไม่ละลายน้ำ) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อยๆ ลดลง เริ่มจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่มีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลใหม่ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำโดยเฉพาะความจำระยะสั้น อัมพฤกษ์ […]

“เนอร์สซิ่งโฮม” คืออะไร ทำไมถึงได้รับความนิยม?

"เนอร์สซิ่งโฮม" คืออะไร ทำไมถึงได้รับความนิยม?

“เนอร์สซิ่งโฮม” สถานที่ดูแลผู้สูงอายุที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน สืบเนื่องจากว่าประเทศของเรานั้นกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว จึงไม่แปลกอะไรที่บ้านดูแลผู้สูงอายุจะได้รับความนิยม หลายๆ คนอาจจะกำลังเข้าใจว่าการที่หลายๆ ครอบครัวในปัจจุบันนำพ่อกับแม่มาฝากที่ศูนย์ดูแลผู้สูงวัยเป็นการกระทำที่ขัดหลักศีลธรรมในการดูแลพ่อแม่ตนเองยามแก่เฒ่า แต่แท้จริงแล้วสถานดูแลผู้สูงอายุเช่นนี้ ไม่ได้เป็นที่รองรับชุดความคิดผิดๆ เช่นนี้แต่อย่างใด แต่กลับกลายเป็นทางเลือกที่ทำให้ทั้งผู้เป็นบุตรหลานและผู้สูงอายุเองมีความสบายใจกันทั้ง 2 ฝ่าย เป็นเป็นที่ที่คอยดูแลผู้สูงวัยในยามที่บุตรหลานไม่สะดวกอยู่กับพวกท่านในระหว่างวันเท่านั้น   รู้หรือไม่! ทำไม “เนอร์สซิ่งโฮม” ถึงสำคัญและจำเป็นกับผู้สูงวัยในปัจจุบัน หลายๆ ท่านคงทราบดีว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มมากขึ้นกลายเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่าโลกของเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างแท้จริง โดยในช่วง 2-3 ปีมานี้ จะเห็นได้ว่ามีบริการรูปแบบใหม่เกิดขึ้นเพื่อรองรับปรากฎการณ์ดังกล่าวอย่างมากมายทีเดียว Nursing Home คือ… Nursing Home หรือ บ้านพักผู้สูงอายุ เป็นสถานที่ดูแลพักฟื้น และให้การช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวันแก่ผู้สูงอายุ ผู้ทุพพลภาพ ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่ต้องการพักฟื้นระยะสั้น และผู้ป่วยที่ต้องการพักฟื้นระยะยาว เช่น ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษหรือการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย โดยผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลโดยทีมแพทย์ พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะภายใต้การจัดการที่เป็นระบบ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวกและสอดส่องดูแลด้านความปลอดภัย ลักษณะเด่นของการดูแลรูปแบบนี้คืออะไร ต่างจากบ้านพักคนชราอย่างไร? โดยส่วนมากแล้วบ้านพักผู้สูงอายุที่ให้บริการในลักษณะ nursing […]