Category Archives: การดูแลผู้สูงอายุ

“ไอบ่อย ไอมาก” สาเหตุของการสำลักอาหารของผู้สูงวัย

"ไอบ่อย ไอมาก" สาเหตุของการสำลักอาหารของผู้สูงวัย

ไอบ่อย ไอมาก เชื่อว่าผู้สูงอายุหลายๆ ท่านกำลังประสบปัญหากับอาการไอเรื้อรังเช่นนี้อยู่ ซึ่งการไอนั้นก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเกิดจากการเป็นไข้ ไม่สบายเพียงอย่างเดียว แต่ในบางครั้งก็มาแบบไม่รู้สาเหตุก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี อาการไอเรื้อรังเช่นนี้ ดูเผินๆ แล้วอาจดูไม่อันตรายอะไร แต่แท้จริงแล้วส่งผลเสียได้ง่ายๆ โดยเฉพาะในขณะที่ผู้สูงอายุกำลังรับประทานอาหาร ซึ่งอาจทำให้พวกท่านสำลักและเกิดผลร้ายแรงได้ในที่สุด “ไอบ่อย ไอมาก” เกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่หาไม่อยากให้ผู้สูงอายุเกิดการสำลักอาหาร? อาการไอ (Cough) คือ การตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งผิดปกติ โดยการดันลมออกจากปอดอย่างรวดเร็ว ซึ่งการไอสามารถเกิดจากความตั้งใจไอของผู้ที่มีอาการเองและสามารถเกิดขึ้นแบบอัตโนมัติจากกลไกของร่างกาย เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่นควัน มลพิษ สารเคมี เสมหะหรือน้ำมูกที่เกิดจากอาการป่วย ฯลฯ การไอจึงถือเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจอีกด้วย ประเภทของ “การไอ” ไอเป็นชุดๆ (Paroxysmal Cough) เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินหายใจทำให้มีการอักเสบของเยี่อบุทางเดินหายใจ ในระยะแรกเริ่มจะมีอาการเหมือนหวัดธรรมดาทั่วไป แต่เมื่อเข้าระยะ Paroxysmal Stage ในสัปดาห์ที่ 3 จะมีอาการไอต่อเนื่องเป็นชุด 5-10 ครั้งและสลับไปกับการสูดหายใจเข้าอย่างรุนแรง ทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอกและเหนื่อย ไอแห้ง (Dry Cough) เป็นอาการไอแบบไม่มีเสมหะ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การไอจากการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนเนื่องมาจากไข้หวัด […]

หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก ผู้สูงอายุมีอาการเช่นนี้ แก้อย่างไรดี?

หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก ผู้สูงอายุมีอาการเช่นนี้ แก้อย่างไรดี?

“หายใจไม่อิ่ม” ภาวะที่ผู้สูงอายุหลายๆ ท่านอาจจะกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ เนื่องจากพวกท่านจะรู้สึกอึดอัด คล้ายๆ กับหายใจได้ไม่เต็มปอด ซึ่งมีสาเหตุที่เกิดได้จากหลายปัจจัยมากๆ อีกทั้งในปัจจุบัน ยังมีโรคระบาดอย่าง Covid-19 ที่ก็มีผลต่อการหายใจเช่นกัน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่หลายๆ คน สงสัยว่า อาการที่ผู้สูงอายุกำลังพบเจอนี้มาจากอะไรกันแน่ แล้วมีความรุนแรงถึงขั้นไหน “หายใจไม่อิ่ม” เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่? หลายคนอาจเคยหรือกำลังเผชิญกับภาวะหายใจไม่สะดวก ซึ่งมีอาการอึดอัด หายใจไม่ออกหรือรู้สึกหายใจไม่เต็มปอด และแน่นหน้าอก หากอาการเหล่านี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคร้ายหรืออาการป่วยที่เป็นอันตราย ก็อาจบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ สาเหตุของอาการหายใจเหนื่อย ไม่เต็มปอด อาการเหล่านี้หลายคนอาจมองว่าไม่ใช่อาการรุนแรง และอาจเกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว หากคิดแบบนี้คงต้องบอกว่าถูกต้องเพียงครึ่งเดียว เนื่องจากอาการหายใจไม่สะดวก จากความเหนื่อยง่าย อาจไม่ใช่อาการเล็กน้อยเพียงอย่างเดียว หากแต่ส่วนหนึ่งของอาการเหล่านี้มีสาเหตุมาจากโรคร้ายที่เราไม่อาจมองข้ามไปได้ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด หรือการติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นต้น อาการที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การใช้แรงมากเป็นเวลานาน ไม่ค่อยออกกำลังกาย มีความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ มีอาการตกใจ หรืออาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราส่งผลให้มีอาการเหนื่อยล้า และหายใจไม่สะดวก เช่น สถานที่ความกดอากาศต่ำอย่างยอดเขา สถานที่อุณหภูมิสูงจนเกินไป เป็นต้น สาเหตุที่กล่าวมานี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถกลับมาเป็นปกติได้ในเวลาต่อมา […]

กรดไหลย้อน ผู้สูงอายุ อันตรายถึงชีวิตหากปล่อยไว้ ไม่รักษา

กรดไหลย้อน ผู้สูงอายุ อันตรายถึงชีวิตหากปล่อยไว้ ไม่รักษา

กรดไหลย้อน ผู้สูงอายุ ในหลายๆ ครอบครัวอาจเคยสังเกตเห็นผู้สูงอายุมีอาการแสบร้อนตรงกลางอก แน่นหน้าอก และเรอเปรี้ยว หลังรับประทานอาหาร อาการเหล่านี้ไม่ใช่อาการปกติ หากแต่เป็นสัญญาณของการเป็น กรดไหลย้อน โรคน่ากลัวอีกชนิดหนึ่งที่หากไม่รักษาและปล่อยให้เรื้อรังในผู้สูงอายุ อาจรุนแรงถึงขั้นชีวิตได้เลยทีเดียว แม้ว่าจะไม่ได้ส่งผลถึงชีวิตโดยตรง แต่เจ้าโรคชนิดนี้ก็ส่งผลเสียมากมายและทำให้ร่างกายของผู้สูงอายุอ่อนแอลง และเสียชีวิตลงในที่สุด กรดไหลย้อน ผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไรได้บ้าง? โรคกรดไหลย้อน หรือ โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร (อังกฤษ: Gastroesophageal reflux disease, GERD) เป็นภาวะระยะยาว (เช่น มีอาการมากกว่า 2 ครั้งต่ออาทิตย์เป็นเวลาหลายอาทิตย์) ที่สิ่งซึ่งอยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหารซึ่งทนต่อกรดและเอนไซม์ย่อยอาหารได้แค่ระดับหนึ่ง แล้วทำให้เกิดอาการต่าง ๆ หรือนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ สาเหตุของการเกิด “กรดไหลย้อน” ในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ จะมีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนสูงขึ้น เนื่องจาก หูรูดกระเพาะอาหารจะหย่อนมากกว่าปกติ และเยื่อบุต่างๆ เสื่อมสภาพลง น้ำลายลดลง หรือต้องรับประทานยาต่างๆ หลายชนิดที่มีผลข้างเคียง ทำให้น้ำลายลดลงหรือกินยาบางอย่างที่ทำให้หูรูดกระเพาะปิดไม่สนิท ก็มีอาการของโรคกรดไหลย้อนตามมา แต่ปัจจัยที่เป็นตัวการส่งเสริมให้เกิดโรคนี้อันดับต้นๆ คือ พฤติกรรมของผู้สูงอายุ เช่น รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ชอบอาหารรสจัด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เร่งรีบในการทานอาหาร เป็นต้น ซึ่งก็ส่งผลให้เกิดกรดไหลย้อนตามมาในที่สุด […]

5 วิธี ลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุ ห่างไกลโรคที่มากับความอ้วน

5 วิธี ลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุ ห่างไกลโรคที่มากับความอ้วน

ลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุ อย่างไรให้ห่างไกลที่มากับความอ้วน บุตรหลานหลายๆ คนอาจกังวลใจและเป็นห่วงผู้สูงอายุในครอบครัวเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับความอ้วนและน้ำหนักที่เกินมาตรฐานของพวกท่าน เพราะเมื่ออายุยิ่งเพิ่ม น้ำหนักที่มากขึ้นยิ่งตามมา ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดี เนื่องจากระบบเผาผลาญของพวกท่านไม่สามารถทำงานได้เต็มที่เท่าเมื่อตอนหนุ่มสาว นั่นจึงเป็นหน้าที่ของสมาชิกในบ้านที่ต้องคอยช่วยกันดูแลและควบคุมน้ำหนักของผู้สูงอายุให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมนั่นเอง ลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุ อย่างไรให้ห่างไกลที่มากับความอ้วน? เมื่ออายุมากขึ้น หลายคนประสบปัญหาน้ำหนักตัว แม้จะออกกำลังกายเป็นประจำ หรือพยายามควบคุมน้ำหนัก แต่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้ง่ายเหมือนตอนวัยรุ่น ผู้สูงอายุอ้วนง่ายจริงไหม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ต้นตอของน้ำหนักที่มากขึ้นนั้น เนื่องจากการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของกระดูกลดน้อยลง การทำงานที่สอดคล้องกับระบบประสาทลดลง ร่วมกับระดับฮอร์โมนต่างๆ ทำงานได้น้อยลงและปรับตัวช้าลง ซึ่งส่งผลทำให้การเผาผลาญพลังงานในคนสูงอายุลดลง จึงทำให้คนสูงอายุมีโอกาสอ้วนง่ายจากการเผาผลาญที่ลดน้อยลง ในผู้สูงอายุต้องระวังภาวะ “อ้วนลุงพุง” จากการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป ซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารผิดปกติ ไขมันหน้าท้องแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งจะยับยั้งกระบวนการเผาผลาญกลูโคสที่กล้ามเนื้อ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ตีบ หรืออุดตัน เป็นต้น โรคอะไรบ้างที่มาพร้อมกับ “ความอ้วน” ผู้ที่มีภาวะอ้วน จะส่งผลเสียกับร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังและอาการต่างๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต […]

“โรคไต” ในผู้สูงอายุ ป้องกันอย่างไรไม่ให้อาการเรื้อรัง

"โรคไต" ในผู้สูงอายุ ป้องกันอย่างไรไม่ให้อาการเรื้อรัง

“โรคไต” โรคน่ากลัวอีกโรคหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุที่บุตรหลานควรเฝ้าระวัง เนื่องจากหากปล่อยให้ผู้สูงวัยอยู่ในอาการป่วยของโรคนี้นานๆ อาจทำให้ท่านกลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรังเกี่ยวกับไตได้ สิ่งที่สำคัญสำหรับการป้องโรคนี้ให้กับผู้สูงอายุนั้นไม่เพียงแต่ต้องคอยดูแลเรื่องสุขภาพ หากแต่ต้องดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของท่านด้วย เพราะหากปล่อยปะละเลยก็อาจทำให้เสี่ยงที่จะต้องเป็นโรคและเข้ารับการล้างไตที่ผู้สูงอายุมีความกังวลในที่สุด “โรคไต” ในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร และป้องกันอย่างไร? โรคชนิดนี้ บ่อยครั้งทำให้ผู้สูงอายุตกใจอยู่ไม่น้อย กลัวว่าจะต้องฟอกไตหรือไม่ กังวลว่าสาเหตุเป็นจากอะไร ต้องทำอย่างไรต่อไป ค่าไตจะกลับมาเป็นปกติหรือไม่ จะใช้ยาอะไร ต้องกินยาล้างไตหรือไม่ ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของไตเมื่อย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจนั่นเอง สาเหตุของการเกิดโรคเกี่ยวกับไตในผู้สูงอายุ การแบ่งสาเหตุของอาจจะแบ่งได้หลายแบบ ที่นิยมกันจะแบ่งตามสาเหตุ เกิดจากกรรมพันธ์ ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานได้ อาการมักจะเกิดตั้งแต่วัยรุ่น เช่นโรค polycystic kidney disease. โรคที่พิการแต่กำเนิด มักจะทำให้การขับปัสสาวะถูกอุดกกลั้นซึ่งจะก่อให้เกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ หากอุดกลั้นมากๆไตจะบวมและอาจจะเกิดไตวาย โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่เป็นโรคจะมีอาการปวดเอว ปัสสาวะสีแดง ต่อมลูกหมากโต เนื่องจากผู้สูงอายุมีการอุดกลั้นของปัสสาวะทำให้ไตวายได้ เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากคนที่เป็นความดันโลหิตสูงนานๆจะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ ทำให้เกิดไตวายได้อีกด้วย เกิดจากโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุและวัยทั่วไป ค่าไตและการเปลี่ยนแปลงของไตในผู้สูงอายุ “ค่าไต” หรือ “ครีเอทินิน” เป็นตัวบ่งบอกการทำงานของไตที่เสื่อมลง เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ไตจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านโครงสร้างและการทำงานโดยรวม โดยไตจะมีขนาดเล็กลง น้ำหนักและปริมาตรจะลดลง ถ้าลองเปรียบเทียบกับคนหนุ่มสาว ไตปกติจะน้ำหนักประมาณ 245 – 290 […]

ผิวแห้งคัน ผู้สูงอายุ มีปัญหาผิวดูแลอย่างไรดี?

ผิวแห้งคัน ผู้สูงอายุ มีปัญหาผิวดูแลอย่างไรดี?

“ผิวแห้งคัน” ผู้สูงอายุ มีปัญหาผิวเช่นนี้ นับเป็นเรื่องปกติหรือไม่? จริงอยู่ที่เมื่อผู้สูงอายุมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ระบบต่างๆ ก็จะเสื่อมสมรรถภาพลง รวมถึงผิวพรรณที่หย่อนคล้อยไปตามกาลเวลา อย่างไรก็ดี ปัญหาผิวเช่นนี้เกิดขึ้นได้กับคนในทุกเพศทุกวัย อีกทั้งยังมีหลายปัญหาที่แตกแขนงกันออกไป เนื่องจากแต่ละคนนั้นมีสภาพผิวที่ไม่เหมือนกันและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันนั่นเอง แต่ ปัญหาผิวแห้ง มักจะเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงวัยที่ลูกหลานควรใส่ใจไม่ปล่อยละเลยให้เป็นปัญหาผิวเรื้อรัง ผิวแห้งคัน ผู้สูงอายุ มีปัญหาผิวเช่นนี้เกิดจากอะไร และดูแลอย่างไรดี? อาการคันผิวหนังเป็นอาการที่ผู้สูงอายุเป็นกันมาก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผิวแห้ง แต่ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้เช่น ผื่นแพ้สารเคมี การระคายเคือง การติดเชื้อราที่ผิวหนัง (เช่น เกลื้อน หรือ ส่า ) การติดเชื้อหิด โลน แมลงสัตว์กัดต่อย พยาธิในลำไส้ โรคเลือดข้น โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ โรคมะเร็ง (เช่นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง) หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาต่อยาบางชนิดได้ สาเหตุที่ทำให้สภาพผิวของผู้สูงอายุเกิดความแห้ง ผิวหนังคันแห้งลอก(Xerotic skin) เนื่องจากมีน้ำมันที่เคลือบผิวลดลง เกิดการสูญเสียน้ำในผิว ทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น รวมทั้งต่อมไขมันผลิตน้ำมันลดลง ผิวหนังจะมีลักษณะแห้งเป็ยขุยขาวร่วมกับมีอาการคัน อาการจะพบได้มากในคนที่สภาพผิวแห้งเป็นพื้นฐาน ถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจกลายเป็นผิวหนังแห้งอักเสบ (Xerotic eczema) ผิวหนังจะแดงสากเป็นขุยลอก […]

ทรงตัวไม่ได้ ล้มง่ายในผู้สูงอายุ แก้ได้ด้วย 6 ท่ากายบริหาร

ทรงตัวไม่ได้ ล้มง่ายในผู้สูงอายุ แก้ได้ด้วย 6 ท่ากายบริหาร

“ทรงตัวไม่ได้” ปัญหาที่ผู้สูงอายุในหลายๆ ครอบครัวกำลังพบเจอ บุตรหลานอาจมองว่า ระบบทรงตัวมีปัญหาในผู้สูงอายุ นั้นเป็นเรื่องทั่วไป ไม่ได้น่าเป็นห่วงเท่าไหร่ แต่แท้จริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมันหมายถึง ผู้สูงอายุมีปัจจัยที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะพลัดตกและหกล้มได้ง่ายนั่นเอง ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุเช่นนั้น ณ สถานที่ที่เป็นอันตราย เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ฯลฯ ก็อาจส่งผลถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น สมาชิกในครอบครัวจึงต้องหมั่นดูแลและส่งเสริมในทุกๆ วิธีที่ช่วยในเรื่องระบบการทรงตัวของผู้สูงวัยนั่นเอง “ทรงตัวไม่ได้” ล้มง่าย ล้มบ่อย เกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่? อาการเสียการทรงตัวในผู้สูงอายุเกิดได้จากหลายสาเหตุและปัจจัย โดยอาจมาจากความผิดปกติของสมองและระบบประสาท โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ หรือพฤติกรรมการเคลื่อนไหวบางท่าทางในชีวิตประจำวันก็อาจทำให้เกิดปัญหาด้านการทรงตัวได้ สาเหตุของการเสียการทรงตัวในผู้สูงอายุ การทรงตัวต้องอาศัยระบบ 3 ระบบทำงานประสานกันเพื่อให้ทรงตัวได้อย่างเป็นปกติ ซึ่งประกอบด้วย 1.  หูชั้นใน ซึ่งประกอบด้วยน้ำในหูและหินทรงตัว และเส้นประสาทการทรงตัวที่ช่วยให้เราทำกิจวัตรประจำวันในอิริยาบถต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การยืน การก้มหรือการหัน เป็นต้น 2. ระบบประสาทส่วนกลางและกล้ามเนื้อไขข้อ ซึ่งเป็นระบบประสาทที่มีหน้าที่คอยสั่งงานกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ ของร่างกายว่าต้องเดินและทรงตัวอย่างไรนั่นเอง 3. ตา เราต้องใช้ตาในการมองทิศทาง สิ่งกีดขวางเพื่อระวังตัวไม่ให้เดินชน สะดุดหกล้ม ดังนั้นถ้ามีปัญหาตาบางอย่าง เช่น […]

5 กิจกรรม ฟื้นฟูสมองเสื่อมและความจำในผู้สูงอายุ

5 กิจกรรม ฟื้นฟูสมองเสื่อมและความจำในผู้สูงอายุ

“ฟื้นฟูสมอง” เป็นขั้นตอนของการรักษาอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยในโรคสมองเสื่อมและหลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก เนื่องจากลักษณะอาการของโรคเหล่านี้จะส่งผลต่อสมองของผู้สูงอายุโดยตรง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม หลังจากการรักษาจากแพทย์ในโรงพยาบาล เราจึงจำเป็นต้องหากิจกรรมมาช่วยฟื้นฟูให้กับผู้สูงอายุนั่นเอง เพราะนอกจากผู้สูงอายุจะมีระบบประสาทที่ดีขึ้นแล้ว ก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติได้วัยขึ้นอีกด้วย “ฟื้นฟูสมอง” สำคัญอย่างไร ทำไมผู้สูงอายุต้องเข้ารับการบำบัด? เมื่อผู้สูงวัยที่มีภาวะของโรคสมองเสื่อมหรือได้รับความเสียหายทางระบบประสาทและสมอง นอกจาก การได้รับการดูแลด้วยความรัก ความเข้าใจจากลูกหลานและคนในครอบครัวแล้วนั้น การได้รับการตรวจประเมินภาวะทางด้านร่างกาย ด้านความจำ และอารมณ์ ก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการฟื้นฟูเช่นนี้จะช่วยเสริมสร้างภาวะทางจิตใจและทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โรคทางสมองที่มักพบในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยสูงอายุโรคทางสมองส่วนใหญ่ นอกจากโรคสมองเสื่อมแล้ว ก็ยังสามารถพบภาวะโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มหลอดเลือดสมองตีบและกลุ่มหลอดเลือดสมองแตก นั่นเอง และหากผู้ป่วยหลอดเลือดสมองทั้งสองกลุ่มผ่านพ้นช่วงวิกฤติแล้ว สมองจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วและทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถ้าผู้ป่วยได้รับการดูแลและการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม จุดประสงค์ของกิจกรรมในการฟื้นฟู ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันกับครอบครัวได้เป็นปกติ สมองและกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นและพัฒนาความสามารถในระยะยาว ผู้ป่วยสามารถดึงศักยภาพออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในการทำกิจกรรมต่างๆ 5 กิจกรรม ช่วยฟื้นฟูระบบสมองของผู้ป่วยสูงอายุสมองเสื่อมและโรคสมองอื่นๆ 1.ให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมประจำวันด้วยตนเอง เช่น กิจวัตรประจำวันพื้นฐานที่แบ่งไปตามความสามารถของผู้ป่วย ซึ่งอาจจะเป็นการสวมเสื้อผ้า การอาบน้ำ รับประทานอาหาร ฯลฯ ที่ถือว่าเป็นการดำรงชีวิตอย่างเป็นอิสระพอสมควรภายในบ้านหรือที่พักอาศัย 2.ส่งเสริมด้านภาษาทั้งเขียนและพูด […]

เฝ้าสังเกต! ผู้สูงอายุติดรสอาหารรสไหน เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

เฝ้าสังเกต! ผู้สูงอายุติดรสอาหารรสไหน เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

“รสอาหาร” เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกิน แน่นอนว่าการรับประทานอาหารต่างๆ ไม่ว่าวจะคาวหรือจะหวาน ย่อมเป็นความสุขของมนุษย์เรา ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน วัยไหน ก็ย่อมชอบที่รับประทานของอร่อยๆ ด้วยกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี แม้ว่าการกินอาหารจะเป็นสิ่งสำคัญในการที่ทำให้ชีวิตของเราดำเนินต่อไปได้ในแต่ละวัน แต่หากกินแบบผิดๆ ก็เสี่ยงต่อชีวิตได้เช่นกัน ในวัยหนุ่มสาวเรายังสามารถตามใจปากได้ อยากทานอะไรก็ได้ทาน แต่เมื่อชราลง ก็ยิ่งต้องเลือก เพราะมิเช่นนั้นอาจมีโรคถามหา “รสอาหาร” มีกี่รส ผู้สูงวัยติดทานรสไหน เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง? แน่นอนว่าความอร่อยต้องมาก่อนเสมอ แต่ความสมดุลก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญด้วย โดยการแพทย์จีนแนะนำให้กินอาหารที่มีรสชาติทั้งห้าในสัดส่วนที่สมดุลกันคือ รสเค็ม รสเปี้ยว รสหวาน รสขม และรสเผ็ด ซึ่งรสชาติถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้อวัยวะสำคัญได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไม บุตรหลานจึงต้องคอยดูแลและใส่ใจที่จะคอยสังเกตว่าผู้สูงอายุในครอบครัวท่านติดทานรสชาติอาหารรสไหนเป็นพิเศษ เพราะถ้าหากทานรสใดรสหนึ่งมากจนสุดโต่ง ก็อาจจะส่งผลให้ผู้สูงอายุท่านนั้นๆ มีโรคต่างๆ ตามมา เมื่อผู้สูงอายุติดทานอาหาร รส…. รสเค็ม ประโยชน์: ช่วยบำรุงไต เพราะไตมีหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย ออกไปทางปัสสาวะ และช่วยรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ไม่มากหรือต่ำเกินไป จึงควรทานอย่างเหมาะสมคือ บุตรหลานอาจจะดูแลให้ผู้สูงวัยบริโภคโซเดียมได้ไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน ข้อเสีย: รสเค็มจัดนั้น นอกจากจะส่งผลต่อไตแล้ว ยังมีผลต่อระบบไตและหลอดเลือดด้วย […]

4 โรคทางพันธุกรรม มีโรคใดบ้างที่ส่งต่อให้ลูกหลานได้

4 โรคทางพันธุกรรม มีโรคใดบ้างที่ส่งต่อให้ลูกหลานได้

“โรคทางพันธุกรรม” เป็นสิ่งที่สามารถส่งต่อกันได้จากรุ่นสู่รุ่น และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เนื่องจากต้นตอของโรคนั้นๆ อยู่ในโครโมโซมของเราตั้งแต่กำเนิด ซึ่งการส่งต่อโรคเหล่านี้ทางพันธุกรรมก็มีอยู่หลายโรคด้วยกัน บ้างก็ไม่อันตราย แต่บ้างก็อันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว และในเมื่อเราไม่อาจเลี่ยงการเป็นโรคที่ส่งต่อทางพันธุกรรมได้ สิ่งที่ควรทำก็คือศึกษาเพื่อหาแนวทางการดูแลตนเองให้ดีที่สุดนั่นเอง “โรคทางพันธุกรรม” เกิดจากอะไร และมีกี่ประเภท? โรคที่เกิดจากความผิดปกติในพันธุกรรม หรือเกิดขึ้นในโครโมโซม ซึ่งสามารถถ่ายทอดภายในครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นได้ และก่อให้เกิดความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายได้ ทำได้เพียงรักษาตามอาการและติดตามผลเป็นระยะเท่านั้น ประเภทของโรคทางพันธุกรรม โรคที่เกิดจากความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในโครโมโซมเพศ (Sex chromosome) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมเพศจำนวน 1 คู่ หรือ 2 แท่ง ในผู้หญิงจะเป็นโครโมโซม XX ส่วนในผู้ชายจะเป็นโครโมโซม XY จะมีโอกาสเกิดขึ้นมากในเพศใดเพศหนึ่ง ตัวอย่างของโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในโครโมโซมเพศ ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย โรคตาบอดสี โรคบกพร่องทางเอ็นไซม์ เป็นต้น โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม (Autosome) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในร่างกายที่มี 44 แท่ง หรือ 22 คู่ เป็นความผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ความผิดปกติที่จำนวนออโตโซม และความผิดปกติที่รูปร่างโครโมโซม สาเหตุของโรคต่างๆ […]