Category Archives: การดูแลผู้สูงอายุ

5 แอปฯ หาหมอออนไลน์! ตอบโจทย์ผู้สูงวัยยุคโควิด

5 แอปฯ หาหมอออนไลน์! ตอบโจทย์ผู้สูงวัยยุคโควิด

“หาหมอออนไลน์” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในยุคนี้ เพราะตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น “การเว้นระยะห่างทางสังคม” คืออีกหนึ่งวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เราเรียนรู้ในการอยู่กับมันนั่นเอง อย่างไรก็ตามการดำเนินชีวิตแนวใหม่นี้ก็ได้สร้างข้อจำกัดต่างๆ ในการไปไหนมาไหนของเราด้วยเนื่องจากจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อไปอีก ไม่ว่าจะเป็น ตลาด โรงเรียน และโรงพยาบาล สถานที่ที่จำเป็นที่สุดสำหรับผู้ที่เจ็บป่วย ผู้มีโรคประจำตัว และผู้สูงอายุ ดังนั้นการพบแพทย์ออนไลน์ หรือ การใช้แอปพลิเคชันคุยกับคุณหมอ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับช่วงเวลานี้ แอปฯ หาหมอออนไลน์ยุคนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง? จริงๆ แล้วแอปพลิเคชันพบแพทย์เปิดให้บริการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ซึ่งก็มีหลากหลายแอปพลิเคชันด้วยกัน มีทั้งแบบเสียเงินซื้อและแบบฟรีแล้วแต่ผู้ใช้จะสะดวก โดยฟังก์ชันส่วนใหญ่ในแอปฯเหล่านี้ค่อนข้างตอบโจทย์กับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาที่จะไปพบแพทย์และครอบครัวที่มีผู้สูงอายุที่ต้องพบแพทย์อยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นแอปฯพบแพทย์เหล่านี้จึงได้พัฒนาบริการต่างๆ ในแอปฯให้มีมากขึ้นโดยไม่จำกัดไว้เพียง VDO Call คุยกับคุณหมอเท่านั้นแต่ยังสามารถทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้อีก เช่น 1. พูดคุยกับทีมแพทย์ทางแชท เป็นฟังก์ชันหลักๆ ของตัวแอปพบหมอออนไลน์ ซึ่งหากผู้สูงวัยมีคำถามเกี่ยวกับสุขภาพที่ยังไม่ได้รับคำตอบและต้องการข้อมูลด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือก็สามารถสนทนาโดยตรงกับทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญได้ทุกที่ทุกเวลา 2. ซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพ แอปพลิเคชันพบแพทย์ออนไลน์บางแอปฯนั้น นอกจากจะสามารถคุยแชทกับคุณหมอได้แล้วก็ยังสามารถซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพจากทางแอปฯได้เลย เช่น วิตามินต่างๆ สำหรับร่างกาย วิตามินสำหรับผิว อาหารเสริม เป็นต้น และยังจัดส่งได้เลยในแอปฯเดียว 3. นัดพบแพทย์เพื่อพูดคุยได้แบบส่วนตัว หากผู้ป่วยสูงอายุท่านใดจำเป็นต้องเดินทางไปพบกับคุณหมอโดยตรงที่โรงพยาบาลก็สามารถนัดพบแพทย์ทางแอปฯนั้นๆ ได้เลย […]

“สายตายาว” ปัญหาสายตาของวัยชราที่เลี่ยงไม่ได้

"สายตายาว" ปัญหาสายตาของวัยชราที่เลี่ยงไม่ได้

“สายตายาว” ปัญหาของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ แท้จริงแล้วปัญหาทางสายนั้นมีได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น ยาว และเอียง ซึ่งตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าปัญหาเช่นนี้สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัยเพราะนอกจากค่าสายตาจะเปลี่ยนไปตามอายุแล้ว บางรายก็ยังสามารถมีปัญหาสายตาตั้งแต่กำเนิดได้ด้วยนั่นเอง ภาวะสายตายาวตามวัย สายตายาวตามวัย ไม่ใช่ ภาวะสายตายาว เป็นเรื่องที่มักเข้าใจผิดกันว่าปัญหาทางสายตา 2 แบบนี้คือปัญหาเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วเรื่องของสายตายาวนั้น มีด้วยกัน  2 ประเภทหลักๆ อย่างแรก คือ สายตายาวตั้งแต่กำเนิด โดยจะเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด อีกอย่าง หนึ่ง คือ สายตายาวตามวัย ซึ่งอาการสายตายาว 2 ประเภทนี้จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้ สายตายาวตั้งแต่กำเนิด เกิดจากขนาดของลูกตาที่มีขนาดเล็กเกินไป ทำให้จุดรวมแสงของภาพไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลไม่ไปโฟกัสบนจอประสาทตา จึงเป็นสาเหตุของการปวดตา และมองเห็น ไม่คมชัด สายตายาวตามวัย จะเกิดขึ้นหลังจากอายุ 40 ปี เป็นผลจากการปรับโฟกัสของเลนส์ตาแย่ลง ทำให้มองวัตถุระยะ ใกล้ไม่ชัด ทำให้ต้องยืดแขนออกเพื่อมองให้ชัด เพราะฉะนั้น อย่าสับสนระหว่างสองแบบนี้เด็ดขาด ปัญหาสายตายาวในผู้สูงอายุ-อาการ อาการของคนที่มีปัญหาสายตายาวสูงอายุ คือ มองระยะใกล้ไม่ชัด เวลาอ่านหนังสือต้องยื่นมือออกไป มากกว่าปกติ […]

5 รายการอาหารวันตรุษจีนที่ผู้สูงอายุต้องเลี่ยง

5 รายการอาหารวันตรุษจีนที่ผู้สูงอายุต้องเลี่ยง

“อาหารวันตรุษจีน” สิ่งสำคัญในวันปีใหม่จีน ลูกหลานมักต้องเตรียมอาหารคาวหวาน สิ่งของเครื่องใช้มงคลต่างๆ สำหรับกราบไหว้บูชาเทพเจ้าและบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อแสดงความกตัญญูและเริ่มต้นปีใหม่ด้วยความเป็นสิริมงคล โดยอาหารแต่ละอย่างก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป เพื่อความร่ำรวย เพื่อความอุดมสมบูรณ์ หลากหลายความมงคลแล้วแต่เลือกสรร หลังจากไหว้เสร็จแล้ว สมาชิกในครอบครัวก็นิยมนำของไหว้เหล่านั้นมารับประทานเพื่อความมงคลแก่ตนเอง หากแต่มิวายมีคำเตือนจากนักโภชนาการในการรับประทานอยู่ดี “อาหารเทศกาลตรุษจีน” เสริมมงคลแต่เสี่ยงโรคเรื้อรังในผู้สูงวัย ดังที่กล่าวไปตอนต้นว่าเป็นประเพณีสำหรับคนในครอบครัวที่จะนำอาหารต่างๆ หลักจากการไหว้มารับประทานเนื่องจากเชื่อกันว่าจะเกิดความเป็นมงคล แต่ความมงคลที่ว่าก็ตามมาด้วยความเสี่ยงในโรคต่างๆ เช่นเดียวกัน เนื่องจากแต่ละเมนูทั้งคาวหวานก็ต่างมีความสุดโต่งของรสชาติด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะ หวาน มัน เค็ม จัดได้ว่ามีครบทุกรายการ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่นักโภชนาต้องออกมาเตือนสำหรับว่าการรับประทานอาหารในวันปีใหม่จีนอาจนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิด โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพและผู้สูงอายุได้  5 รายการอาหารวันตรุษจีนที่ผู้สูงอายุต้องเลี่ยง 1. หมูสามชั้น-หัวหมู ถือเป็นเมนูคลาสสิคเมนูหนึ่งของเทศกาลนี้เลยก็ว่าได้ แต่หากรับประทานจนมากเกินไปก็จะนำไปสู่โรคอ้วน อ้วนลงพุง อีกทั้งโรคไต,ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, มะเร็ง อีด้วย 2. เป็ดพะโล้ แม้ในน้ำพะโล้จะอุดมไปด้วยเครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ แต่หากทานอย่างไม่ระมัดระวังก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ในการทานเป็นพะโล้นั้น ต้องหมั่นตรวจเช็กความสดใหม่อยู่เสมอ ห้ามค้างคืนเด็ดขาด เพราะโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่โดนเคี่ยว ต้ม ตุ๋นเป็นเวลานาน อาจเกิดสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ 3. ไก่ต้ม เป็นเมนูที่มีความหมายที่ดีมากทีเดียวสำหรับเมนูไก่ต้ม ซึ่งมีความเชื่อว่าเมนูนี้เสริมความเจริญก้าวหน้าให้กับหน้าที่การงานนั่นเอง […]

“ฟันปลอม” 5 ข้อที่ควรรู้ ผู้สูงวัยใช้แบบไหนจึงเหมาะสม

"ฟันปลอม" 5 ข้อที่ควรรู้ ผู้สูงวัยใช้แบบไหนจึงเหมาะสม

“ฟันปลอม” อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า เมื่ออายุมากขึ้นสุขภาพช่องปากก็จะเริ่มอ่อนแอขึ้นมีโรคต่างๆเข้ามามากขึ้น เนื่องจากฟันแท้ตามธรรมชาติที่อาจจะเริ่มอ่อนแอลงจึงจำเป็นต้องดูแลให้มากขึ้นเป็นพิเศษเพราะหากว่าสุขภาพฟันมีปัญหาก็จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายด้วย เนื่องจากทำให้รับประทานอาหารไม่ได้ ทำให้เบื่ออาหารตามมา ส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็น สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ทุกอย่างเกี่ยวเนื่องกันหมดในร่างกาย สำหรับผู้สูงวัยที่สูญเสียฟันแท้ตามธรรมชาติเพียงชุดเดียวไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการรักษาโดยด่วน และวิธีรักษาที่ดีที่สุดก็คงหนีไม่พ้นการใส่ฟันเทียมนั่นเอง “ฟันปลอม” กับ 5 ข้อที่ควรรู้ก่อนเลือกให้ผู้สูงอายุ 1. ผู้สูงวัยกับสุขภาพช่องปาก ผู้สูงวัยในปัจจุบันที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไปยังคงมีความเชื่อแบบเก่าๆว่า ฟันหลุดร่วงก็เป็นไปตามอายุขัย ไม่มีทางป้องกันได้เพราะใช้งานมานานก็ต้องเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติ จึงทำให้เกิดการละเลยในการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก โดยจากการศึกษาได้พบว่า ในผู้สูงวัย ร้อยละ 70 ประสบปัญหาไม่มีฟันบดเคี้ยวอาหาร ทางเลือกที่ดีที่สุดเมื่อเข้าพบทันตแพทย์ก็คือ การใส่ฟันเทียมแบบถอดได้ เพราะ ถือว่าเป็นการทดแทนฟันแท้ตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยเรื่องความสวยงามในช่องปากของผู้สูงวัยอีกด้วย 2. เลือกอุปกรณ์แบบไหนเหมาะสมกับผู้สูงวัย? อุปกรณ์ทางช่องปากชนิดนี้ถูกผลิตออกมาตามความเหมาะสมมากมายหลายรูปแบบ โดยมีทั้ง ถอดได้ ถอดไม่ได้ ถาวร หรือ ชั่วคราว โดยในกลุ่มของผู้สูงวัยนั้น ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมักจะแนะนำให้ใช้อุปกรณ์แบบถอดได้ นอกจากว่าผู้สูงวัยท่านนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทำให้ดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองไม่ได้ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทที่เกี่ยวเนื่องกับช่องปาก ทันตแพทย์จะไม่แนะนำให้ใส่ชนิดแบบถอดได้ เพราะอาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี จึงแนะนำให้ใช้ชนิดแบบติดแน่น ไม่สามารถถอดได้ เนื่องจากผู้สูงวัยจะสามารถปรับตัวได้ง่ายกว่า 3. จะเกิดอะไรขึ้นหากผู้สูงวัยไม่ใส่ฟันเทียม? […]

“บ้านหมุน” ผู้สูงวัยมีอาการแบบนี้อันตรายหรือไม่?

"บ้านหมุน" ผู้สูงวัยมีอาการแบบนี้อันตรายหรือไม่?

“บ้านหมุน” อาการที่มักเกิดขึ้นบ่อยในผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันเมื่อลุกขึ้นอย่างกระทันหัน หรือหลักๆ คือผู้ที่มีอาการจะรู้สึกเวียนศีรษะและเห็นว่าสิ่งต่างๆ รอบตัวหมุนไปรอบๆ ทั้งๆ ที่ตนเองอยู่กับที่และไม่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียสมดุลการทรงตัวและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ “บ้านหมุน” อาการเล็กๆ แต่เป็นเรื่องใหญ่ แท้จริงแล้วอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยและไม่ได้เป็นอาการเฉพาะของโรคใดโรคหนึ่ง แต่ด้วยหลักๆ นั้นการเวียนศีรษะประเภทนี้มักมีอาการร่วมหลายอย่าง เช่น สมองตื้อ รู้สึกไม่แจ่มใส มึนงง และการทรงตัวที่มีปัญหา ท้ายที่สุดคือนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งหากเทียบกันจริงๆ แล้ว “ผู้สูงอายุ” เป็นวัยที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดเนื่องจากหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจะรักษาการบาดเจ็บได้ยากกว่าวัยอื่นๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การเวียนศีรษะเช่นนี้มีสาเหตุมาจาก… 1. ความผิดปกติของหู เป็นความผิดปกติของหูชั้นในหรือระบบสมองที่ส่งผลต่อการทรงตัว 2. ความผิดปกติของระบบอื่นๆ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิตที่อาจทำงานไปหล่อเลี้ยงส่วนของร่างกายได้ไม่ดีมากนัก หรือระบบสายตา 3. ฤทธิ์จากยาบางชนิด ผู้สูงอายุบางท่านต้องรับประทานยาบางชนิดอยู่บ่อยครั้งซึ่งอาจเป็นยาเพื่อบรรเทาโรคประจำตัว แต่ฤทธิ์ข้างเคียงบางอย่างของยานั้นๆ อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุที่รับประทานมีอาการเวียนศีรษะได้ 4. ปัจจัยอื่นๆ เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เมารถ หรือเมาเรือ เป็นต้น กับคำถามที่ว่า “บ้านหมุน” อันตรายหรือไม่? การเกิดอาการนี้จะอันตรายหรือไม่ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เนื่องจากในผู้สูงอายุบางรายมีสาเหตุมาจากเนื้องอกหรือหลอดเลือดที่ทำงานผิดปกติซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ แต่หากเป็นสาเหตุทั่วๆ ไป เช่น […]

ไม้เท้าผู้สูงอายุเลือกอย่างไร 3 วิธีช่วยเลือกให้เหมาะ

ไม้เท้าผู้สูงอายุเลือกอย่างไร 3 วิธีช่วยเลือกให้เหมาะ

“ไม้เท้า” อุปกรณ์ที่หลายๆ คนมองว่าเป็นเพียงสิ่งที่มาเป็นตัวช่วยให้กับผู้สูงเท่านั้น ซื้อแบบใดก็เหมือนกันไม่ต้องคัดสรรอะไรมากมาย หากแต่สำหรับผู้สูงอายุแล้วอุปกรณ์ช่วยเดินชนิดนี้อาจเป็นเพื่อนเก่าเพื่อนแก่และผู้ช่วยในยามยากของท่านก็เป็นได้ เพราะต้องคอยอาศัยไว้ช่วยเดินไปไหนมาไหนตามที่ต้องการ เปรียบเสมือนเป็นอีกหนึ่งอวัยวะในร่างกายเลยก็ว่าได้ “ไม้เท้า” ผู้สูงอายุมีความสำคัญอย่างไร-ทำไมต้องพิถีพิถันในการเลือก 1. เพราะปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากวัยสูงอายุ เป็นวัยที่ประสบปัญหาทางต่างๆ ด้านสุขภาพอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือความอ่อนแอลงทางร่างกายตามกาลเวลา จนทำให้การเคลื่อนไหวในทุกๆ อิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆ สำหรับ ผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่บุตรหลานควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง 2. เพราะบางท่านจำเป็นต้องใช้ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนไหว นอกจากปัญหาในเรื่องสุขภาพแล้ว ผู้สูงอายุบางท่านประสบปัญหาการได้รับบาทเจ็บต่างๆ เช่น แผลจากการผ่าตัด โรคข้ออักเสบ เป็นต้น การมีอุปกรณ์ชนิดนี้จึงทำให้พวกท่านรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้นเมื่อเริ่มเดิน ลุก นั่ง เพราะเป็นการช่วยพยุงร่างกายเอาไว้ให้เกิดความสมดุล และเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวไปมาได้อย่างสะดวก “3 วิธี” ช่วยเลือกอุปกรณ์ช่วยเดินให้เหมาะกับผู้สูงอายุ คนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดของผู้สูงอายุควรเลือกซื้อไม้ที่เหมาะแก่ปัญหาของพวกท่าน โดยอาจขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรืออ่านคู่มือประกอบ ซึ่งสามารถพิจารณาจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้ 1. น้ำหนัก หากไม้มีน้ำหนักที่เบา หรือหนักจนเกินไป อาจทำให้ผู้สูงอายุยกขึ้นยาก และอาจเสี่ยงต่อการล้มเจ็บได้ง่าย ดังนั้นอาจเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักค่อนข้างพอดีอย่าง […]

“ใจสั่น” อาการในผู้สูงอายุกับ 6 สาเหตุที่ไม่น่าวางใจ

"ใจสั่น" อาการในผู้สูงอายุกับ 6 สาเหตุที่ไม่น่าวางใจ

“ใจสั่น” เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย หากแต่ในผู้สูงวัยนั้นจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าวัยอื่นๆ ซึ่งอาการประเภทนี้มักที่จู่ๆ ก็เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุว่ามากจากอะไร บางรายอาจเกิดขึ้นสักครู่แล้วหายไปเองหรือบางรายอาจเป็นถี่ๆ เป็นหลายครั้งต่อวัน ซึ่งนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าผู้สูงอายุในครอบครัวของคุณอาจตกอยู่กับการเป็นโรคร้ายแรงหรือเปล่า จู่ๆ ก็ “ใจสั่น” อาการนี้คืออะไรกันแน่ เป็นความรู้สึกที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะช้า เร็ว กระตุก หรือสะดุด ผลของอาการประเภทนี้เป็นได้ตั้งแต่มีอาการรำคาญ เหนื่อยง่าย อัมพาต ไปจนถึงเสียชีวิตกะทันหัน อาการนี้พบได้บ่อยโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจและอาจพบร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ หรือหมดสติ เป็นต้น การเต้นของหัวใจในภาวะปกติ หัวใจเต้นได้โดยอัตโนมัติ โดยปกติแล้วหัวใจห้องบนจะเริ่มเต้นก่อน แล้วจึงส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจห้องล่าง อัตราการเต้นของหัวใจขึ้นกับสภาพร่างกายและกิจกรรมที่ทำ เช่น เวลานอนหลับหัวใจจะเต้นช้ากว่าเวลาที่ออกกำลังหรือภาวะไข้สูง หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น การเต้นของหัวใจในภาวะปกติจะอยู่ในช่วง 50-100 ครั้งต่อนาที  6 สาเหตุที่ไม่น่าวางใจ โรคหัวใจหลาย ๆ ชนิด ทำให้เกิดอาการนี้ได้จากการที่มีหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เช่น โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหัวใจโตหรือในผู้ป่วยบางคนเกิดจากความผิดปกติของไฟฟ้าในหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด นอกจากโรคหัวใจแล้ว มีอีกหลายภาวะที่อาจทำให้เกิดอาการได้ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคโลหิตจาง […]

5 นวัตกรรมของใช้ผู้สูงอายุสุดล้ำ-เพื่อผู้สูงวัยยุค 2022

5 นวัตกรรมของใช้ผู้สูงอายุสุดล้ำ-เพื่อผู้สูงวัยยุค 2022

“ของใช้ผู้สูงอายุ” บางท่านอาจมองว่าสิ่งของเหล่านี้คงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุเท่านั้น เช่น สบู่ ยาสระผม และกางเกงผ้าอ้อม เป็นต้น และหากจะกล่าวกันตามจริงความคิดเช่นนั้นก็ไม่ใช่สิ่งผิด หากแต่เมื่อเวลาเดินมาข้างหน้า ทุกสิ่งทุกอย่างก็ก้าวตามมาด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเทคโนโลยีและวิถีชีวิตก็ต่างเป็นสิ่งที่เราต้องปรับตัวตามเพื่อความอยู่รอดทั้งสิ้น รวมถึงอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุที่ถูกพัฒนาถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาให้ไม่เป็นเพียงตัวช่วยผู้สูงวัยเท่านั้นแต่ยังเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์การดำเนินชีวิตในแต่ละวันของวัยชราในยุคนี้อีกด้วย “5 ของใช้ผู้สูงอายุ” สินค้าผู้สูงวัยสุดล้ำที่คุณอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน 1.หุ่นยนต์ ElliQ ElliQ เป็นตัวช่วยเพิ่มความแอคทีฟให้กับผู้สูงอายุ ให้สามารถเชื่อมต่อกับโลกภายนอก ติดต่อกับครอบครัว หรือเพื่อนได้ผ่านการแชท ผ่านเกมออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย จากการวิจัยพบว่า เมื่อผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว จะส่งผลให้สุขภาพกายและใจถดถอย จึงทำการคิดค้นและออกแบบ ElliQ ขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้สูงอายุที่ต้องอาศัยอยู่ลำพัง และไม่เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งนับเป็นอุปสรรคในด้านการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนหรือครอบครัว ให้สามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ยังสามารถกล่าวอรุณสวัสดิ์และบอกสภาพอากาศของวันนั้นๆ ได้อีกด้วย 2. โถสุขภัณฑ์ TrueLoo Vik Kashyap ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Toi Labs ตั้งเป้าที่จะเปลี่ยนห้องน้ำให้เป็นแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่ประโยชน์ หลังจากที่ตระหนักว่าสิ่งที่ถูกชะล้างออกไปนั้นสามารถชี้ให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ Kashyap ได้สร้างฝารองนั่งชักโครกที่เรียกว่า TrueLoo ด้วยความสามารถในการเข้ากับห้องน้ำ TrueLoo มีเซ็นเซอร์ที่สามารถระบุได้ว่าผู้ใช้เป็นใคร จากนั้นจะสแกนโถชักโครกเพื่อกำหนดขนาด สี ความสม่ำเสมอ ความถี่และรูปร่างของอุจจาระ […]

“โรคความดันสูง” ในผู้สูงอายุ กับ 8 ภาวะแทรกซ้อนมีอะไรบ้าง

"โรคความดันสูง" ในผู้สูงอายุ กับ 8 ภาวะแทรกซ้อนมีอะไรบ้าง

“โรคความดันสูง” มักได้รับการขนานว่า เป็น “ฆาตรกรเงียบ” หรือ “เพชฌฆาตเงียบ”  เนื่องจากโรคนี้ไม่มีอาการชัดเจนในระยะเริ่มแรก ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มักละเลยต่อการรักษา ควบคุม และดูแลตนเองให้ถูกต้องเหมาะสมและยิ่งหากเป็นในผู้ป่วยสูงอายุก็ยิ่งจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะสามารถเป็นโรคนี้ได้ง่ายมาก แต่หลังจากนั้นแล้วสิ่งที่แย่กว่าคือการที่มีโรคแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ตามมา “โรคความดันสูง” ในผู้สูงอายุเกิดจาก… กลไกการของการเกิดโรคนี้ เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีได้แก่ ปริมาตรเลือดที่เพิ่มขึ้น และการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุนั้นแตกต่างจากในผู้ใหญ่ เนื่องจากมีปัจจัยที่เพิ่มขึ้นจากความสูงวัย คือ จากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเมื่ออายุมากขึ้น ได้แก่ การที่หลอดเลือดแดงตีบแข็งเนื่องจากมีไขมันอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ ลักษณะอาการของโรคความดันโลหิตสูง โดยทั่วไปภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่มีสัญญาณหรืออาการใด ๆ แม้ว่าค่าความดันโลหิตจะอยู่ในระดับที่สูงเกินปกติ บางรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอาจมีอาการปวดศีรษะ หายใจถี่ หรือมีเลือดกำเดาไหล อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักไม่แสดงจนกว่าภาวะความดันโลหิตจะอยู่ในขั้นรุนแรง  การวินิจฉัยโรค ความดันโลหิตสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังต่อไปนี้ ความดันปกติ ระดับความดันที่ต่ำกว่า 120/80 มม. ถือว่าอยู่ในระดับปกติ ความดันสูงเล็กน้อย ความดันโลหิตระหว่าง 120/80 – 129/80 มม. ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 หากความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 130-139/80-89 มม. ปรอทถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 หากความดันโลหิตมีค่าเกินกว่า 140/90 ขึ้นไปถือเป็นความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงและถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 8 ภาวะแทรกซ้อนที่มักตามมากับความดันสูง ระดับความดันโลหิตสูงและอาการความดันสูงเฉียบพลันขึ้นมักก่อให้เกิดความเสียหายที่มากขึ้นตามไปด้วย ภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างเกิดจากความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีดังต่อไปนี้ 1. หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง  2. โรคสมองเสื่อม 3. ปัญหาเกี่ยวกับความจำหรือความเข้าใจ 4. โรคเมตาบอลิก หรือ ภาวะที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ […]

“เบื่ออาหาร” เมื่อพ่อแม่ไม่ยอมกินข้าวทำยังไงดี?

"เบื่ออาหาร" เมื่อพ่อแม่ไม่ยอมกินข้าวทำยังไงดี?

“เบื่ออาหาร” เป็นภาวะของผู้สูงอายุที่มักเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งจากสภาพร่างกาย และสภาพแวดล้อมรอบตัว ระบบย่อยอาหารทำงานลดลง อิ่มเร็ว แน่นท้องง่าย ร่วมกับท้องผูกได้ง่าย ยาหลายอย่างมีผลข้างเคียง ทำให้ไม่อยากอาหารซึ่งอาจเป็นอาการของโรคที่ซ่อนอยู่ เช่น โรคนิ่ว โรคไต โรคมะเร็ง โรคซึมเศร้า เป็นต้น “เบื่ออาหาร” สัญญาณเตือนโรคที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ จากข้อความข้างต้นที่ได้กล่าวไปว่า “ไม่อยากอาหาร” ในผู้สูงอายุอาจเป็นอาการของโรคที่ซ่อนอยู่ก็เป็นได้ ลูกหลายๆคน ทุกข์ใจไม่ใช่น้อย เมื่อเห็นคุณพ่อคุณแม่ที่สูงอายุขึ้น เพลียและเหนื่อยง่าย กินข้าวน้อยลง ผอมและกล้ามเนื้อลีบอย่างรวดเร็ว อาหารที่เคยชอบกิน กลับบ่นว่าไม่อร่อย หรือไม่อยากกิน จนทำให้ลูกๆกลุ้มใจไม่รู้จะทำยังไงดี หากปล่อยไว้ให้นานไป จะทำให้ท่านยิ่งอ่อนแอ และอาจไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติหรือทำกิจกรรมที่ชอบได้ เราจะมาทำความเข้าใจกับสาเหตุที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่กินน้อยกัน และมีวิธีอะไรที่ช่วยทำให้ท่านกินอาหารได้ แม้สูงอายุแต่ก็ยังแข็งแรง สดชื่น ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับครอบครัวและเพื่อนได้เหมือนก่อน “ทานน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น” นั้นมีสาเหตุ 1. การรับกลิ่นรสเปลี่ยน ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่ทำให้อาหารแต่ละอย่างมีความอร่อยและรสชาติที่ดีคือกลิ่นและรสของจานนั้นๆ หากแต่เมื่อเข้าสู่วัยชราต่อมการรับรสหรือกลิ่นก็เปลี่ยนไป ตั้งแต่อายุ 60 ปี จำนวนต่อมรับรสเริ่มลดลง การแยกแยะรสหวาน เค็ม เปรี้ยว ขม จะแย่ลงไปตามอายุ ตามด้วยการรับกลิ่นจะแย่ลงและเมื่ออายุ […]