Category Archives: การดูแลผู้สูงอายุ

3 เคล็ดลับสำหรับผู้สูงวัย! ต้าน “ภาวะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ”

3 เคล็ดลับสำหรับผู้สูงวัย! ต้าน "ภาวะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ"

“มวลกล้ามเนื้อ” โรคที่มักพบในผู้สูงอายุและใกล้ตัวกว่าที่เราคิด เมื่ออายุเราเริ่มก้าวเข้าสู่ 40 ปี กล้ามเนื้อของเรานั้นจะลดลงไปตามธรรมชาติ และยิ่งถ้าหากเราไม่ได้ทำการออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวน้อยลง กล้ามเนื้อของเราก็จะลดน้อยลงด้วย เมื่อเกิดภาวะเช่นนี้ก็จะส่งผลให้เรานั้นไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้สะดวกดังเดิม และยิ่งถ้าหากเกิดในผู้ป่วยสูงอายุด้วยแล้ว ก็ยิ่งน่าเป็นห่วงกว่าคนวัยอื่นๆ ดังนั้น บุตรหลานจึงควรหาวิธีดูแลคุณพ่อคุณแม่ที่บ้านให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงอยู่เสมอ “ภาวะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ” คืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร ภาวะกล้ามเนื้อน้อย หรือ Sarcopenia คือ การสูญเสียมวลของกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งภาวะนี้ถือเป็นกลุ่มอาการของผู้สูงอายุ (Geriatric Syndrome) ที่พบบ่อยถึง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุทั่วไป ตามธรรมชาติแล้ว เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ร่างกายจะสูญเสียกล้ามเนื้อไปประมาณร้อยละ 8 ในทุกๆ 10 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุ 70 ปี อัตราการสูญเสียกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวถึงร้อยละ 15 ในทุกๆ 10 ปี นั่นหมายความว่า เมื่อคุณอายุ 70 ปี กล้ามเนื้อของผู้สูงอายุจะสูญเสียไปถึงร้อยละ 24 เลยทีเดียว ในช่วงแรกอาจจะยังไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อหลังอายุ […]

ช่วยผู้สูงวัยเลิกบุหรี่เริ่มต้นตรงไหนดี- 3 วิธีนี้ช่วยได้

ช่วยผู้สูงวัยเลิกบุหรี่เริ่มต้นตรงไหนดี- 3 วิธีนี้ช่วยได้

“เลิกบุหรี่” สำหรับผู้สูบบุหรี่แล้วการทำสิ่งนี้คงเป็นเรื่องที่ยาก และหลายๆ คนก็ถอดใจไปก่อนที่จะเลิกได้ เราทุกคนทราบกันดีว่าการสูบบุหรี่นั้นเป็นเรื่องที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก อีกทั้งควันของมันก็ส่งผลเสียต่อคนรอบข้างด้วย อย่างไรก็ดี ผู้สูบบุหรี่นั้นก็มีอยู่ในหลายช่วงอายุ ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนวัยชรา และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ หลายคนพออยากจะเลิกสูบ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร จะเริ่มจากตรงไหนก่อน บางคนคิดว่าติดบุหรี่มากๆ คงเลิกไม่ได้ และหากยิ่งเป็นผู้สูงอายุด้วยแล้ว ก็คงเป็นเช่นคำสุภาษิตที่ว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” การจะยอมเลิกสูบคงยากกว่าวัยอื่นๆ หากแต่จริงแล้วมันมีวิธีง่ายๆ ที่ช่วยผู้สูงอายุให้เลิกสูบบุหรี่ได้อยู่ “เลิกบุหรี่” เลิกได้ ช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีขึ้น ผู้สูบบุหรี่แต่ละคนเลิกสูบบุหรี่ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน เป็นเหตุผลเฉพาะตน การรู้ว่าตนเองต้องการอะไรจากการเลิกสูบบุหรี่จะช่วยให้เกิดความมุ่งมั่นในการเลิกสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น ซึ่งการติดบุหรี่เกิดจากปัจจัยอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านนิสัยพฤติกรรม คือการสูบบุหรี่ร่วมกับการกระทำบางอย่าง เช่น สูบหลังกินข้าว กินเหล้าแล้วสูบ เป็นต้น ด้านความคิดและอารมณ์ คือ สูบบุหรี่เมื่อมีความคิดหรืออารมณ์บางอย่าง เช่น อารมณ์กังวล เบื่อ โดยทั้ง 2 ด้านนี้รวมเป็นความเคยชินในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ด้านร่างกายหรือการติดนิโคติน ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีส่วนประกอบในบุหรี่ สาเหตุของการติดบุหรี่ เกิดจาก “บุหรี่ติดง่าย แต่เลิกยาก” เป็นประโยคที่ไม่อาจปฏิเสธได้ สาเหตุที่เป็นเช่นกันก็เพราะในบุหรี่มีสาร […]

รู้ทัน “ภาวะเครียดในผู้สูงวัย” ปัจจัยเสี่ยงสู่โรคซึมเศร้า

รู้ทัน "ภาวะเครียดในผู้สูงวัย" ปัจจัยเสี่ยงสู่โรคซึมเศร้า

“ภาวะเครียด” ภาวะที่ใครๆ ก็มีได้ หรือหลายๆ คนก็กำลังประสบปัญหากับภาวะนี้อยู่ ความเครียดนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็เห็นจะเป็นวัยสูงอายุที่ถ้าหากเกิดภาวะนี้ขึ้น เพราะจะมีปัญหาหลายๆ อย่างตามมา สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะผู้สูงวัยนั้นไม่ได้มีปัญหาเพียงความเครียดที่ต้องรับมือเท่านั้นเพราะพวกท่านเป็นวัยที่ต้องสู้กับอีกหลายๆ ปัญหาในร่างกายของตนเอง เพราะเมื่อยิ่งอายุมากขึ้นระบบต่างๆ รวมถึงอวัยวะในร่างกายก็เริ่มเสื่อมสภาพลง จึงต้องคอยหมั่นดูแลตัวเองนั่นเอง และถ้าหากมีปัญหาความเครียดเข้ามาอีก ก็อาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ง่ายๆ บุตรหลานจึงต้องเฝ้าระวังอย่าให้ภาวะนี้เกิดขึ้น “ภาวะเครียด” ในผู้สูงวัย เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีอาการยังไงบ้าง? การเข้าวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ การเปลี่ยนแปลงในด้านสภาพแวดล้อมต่างๆ หรือบุคคลใกล้ชิด ต่างส่งผลต่อความเครียดของผู้สูงอายุทั้งสิ้น   โดยเรื่องของจิตใจที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้นมักเกี่ยวข้องกับความรู้สึกสูญเสีย เช่น การเคยเป็นที่ยอมรับ เป็นผู้นำ หรือสูญเสียคนใกล้ชิด ทำให้เกิดความรู้สึกว้าเหว่ เหงา เบื่ออาหาร ไม่มีแรง และมีปัญหาทางสังคมจนเกิดเป็นความเครียดทางจิตใจ สาเหตุของการเกิดความเครียดในผู้สูงอายุ 1.ทางด้านร่างกาย เกี่ยวกับสุขภาพและการเจ็บป่วย ทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงทำให้เกิดความเครียดได้ การพักผ่อนไม่เพียงพอ ฯลฯ 2.ทางด้านจิตใจ เช่น ผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง เวลาที่มีเรื่องต่างๆ เข้ามากระตุ้นก็จะทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย หรือเป็นผู้ที่วิตกกังวลง่าย ขาดทักษะในการปรับตัว 3.ทางด้านสังคม มีสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความบกพร่องในเรื่องของการปรับตัว ขาดผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือ ถ้ามีผู้ที่ให้ความช่วยเหลือก็จะทำให้ความเครียดลดน้อยลงไป มีสิ่งมากระตุ้นมากเกินความสามารถของตนเอง […]

“โรคกระดูกพรุนในผู้สูงวัย” ภัยร้ายที่มองไม่เห็น

"โรคกระดูกพรุนในผู้สูงวัย" ภัยร้ายที่มองไม่เห็น

“กระดูกพรุน” โรคที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น แน่นอนว่าเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยชราระบบในร่างกายหรืออวัยวะต่างๆ ก็เริ่มถดถอยลงไปตามการเวลา ซึ่งเราทุกคนไม่สามารถห้ามเรื่องนี้ได้ หากแต่สิ่งที่เราทำได้คือการหมั่นคอยดูแลคอยรักษาให้แข็งแรง โดยเฉพาะเรื่องกระดูกที่บุตรหลานต้องคอยเฝ้าระวังและเอาใจใส่ให้กับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นระบบที่สำคัญและหากเกิดปัญหากับระบบนี้ขึ้นก็จะส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรงนั่นเอง “กระดูกพรุน” ในผู้สูงอายุคืออะไร มีสาเหตุจากอะไร? ทุกคนทราบหรือไม่ว่าโรคกระดูกประเภทนี้พบในผู้สูงวัยของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5 แสนคนแล้ว นั่นเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงของประเทศเราว่าเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง อีกทั้งบุคคลที่อยู่ในวัยนี้ยังมีการเสื่อมถอยเกี่ยวกับระบบอื่นๆ ด้วยซึ่งก็เป็นการยากที่จะใช้ชีวิตให้แข็งแรงเหมือนวัยอื่นๆ ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่ว่าโรคกระดูกประเภทนี้เป็นภัยเงียบในผู้สูงวัยเนื่องจากไม่มีอาการที่แน่ชัดบ่งบอกว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ดังนั้นลูกหลานจึงต้องคอยดูแลให้ผู้ใหญ่ในบ้านก่อนที่มันจะเกิดขึ้น ลักษณะอาการ ภาวะนี้โรคชนิดหนึ่งซึ่งมวลกระดูกลดน้อยลง มักเกิดกับสตรีวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เกิดจากอัตราการสร้างและการทำลายกระดูกที่ไม่สมดุลกัน โดยปกติแล้วร่างกายมนุษย์จะมีการสร้างและทำลายกระดูกอยู่ตลอดเวลาและอยู่ในสมดุล แต่มีบางภาวะที่อาจส่งผลให้การสร้างและทำลายมวลกระดูกผิดปกติ เช่น ในคนที่หมดประจำเดือน ฮอร์โมนเพศหญิงลดน้อยลง ส่งผลให้มีการทำลายกระดูกมากขึ้นและสร้างได้น้อยลง มวลกระดูกโดยรวมจึงลดน้อยลงกลายเป็นภาวะกระดูกเสื่อมในที่สุด การสังเกตผู้สูงอายุว่ามีแนวโน้มของการเป็นโรคนี้หรือไม่ วัดส่วนสูงอยู่เสมอ หากพบว่าท่านเตี้ยลงกว่าตอนวัยหนุ่มหรือวัยสาวมากกว่า 4 เซนติเมตร ควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ลองทบทวนว่าผู้สูงอายุท่านนั้นๆ เคยกระดูกหักง่ายมาก่อนหรือไม่ มีกระดูกหักง่ายในครอบครัวหรือไม่ หากใช่ควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจละเอียด ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เพศ เกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนก็ลดลง ทำให้เนื้อกระดูกลดลงตามไปด้วย อายุที่มากขึ้น ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ทั้งหญิงและชาย […]

“กลั้นปัสสาวะไม่อยู่” ผู้สูงวัยมีปัญหากับระบบขับถ่ายหรือไม่?

"กลั้นปัสสาวะไม่อยู่" ผู้สูงวัยมีปัญหากับระบบขับถ่ายหรือไม่?

“กลั้นปัสสาวะไม่อยู่”  เป็นปัญหาธรรมดาๆ ที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง โดยปกติทั่วไปแล้วปัญหานี้สามารเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะสตรีที่เพิ่งคลอดบุตร (คลอดแบบธรรมชาติ) และผู้สูงอายุนั่นเอง อย่างไรก็ดี เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนว่าระบบร่างกายมีความผิดปกติ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงปัญหาเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเท่านั้น จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง “กลั้นปัสสาวะไม่อยู่” คืออะไร และมีสาเหตุมาจากอะไร ภาวะที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ คือ การสูญเสียการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีตั้งแต่ปัสสาวะเล็ดหลังจากการจาม ไอ หรือหัวเราะ ไปจนถึงไม่สามารถกลั้นปัสสาวะอย่างสิ้นเชิง จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าอาการนี้เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง ผู้สูงอายุบางท่านหลายคนสูญเสียโอกาสจากการไม่สามารถเดินทางไปสถานที่ไกลๆ ได้ เพราะมีข้อจำกัดด้านห้องน้ำ อาจนอนหลับไม่สนิทเพราะกังวลเรื่องการปัสสาวะ และอาจส่งผลให้กลายเป็นคนไม่ชอบออกไปข้างนอก และกรณีที่หนักกว่านั้นคือไม่กล้าเข้าสังคมไปในที่สุด สาเหตุเกิดจาก อายุที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีอายุสูงขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆมีความเสื่อมของร่างกาย ทั้งในระบบของทางเดินปัสสาวะเองและในระบบที่เกี่ยวข้อง กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลง จำนวนปัสสาวะค้างเพิ่มมากขึ้นหลังการถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวกว่าปกติ ทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยและอาจมีปัสสาวะราดได้บ่อย ผู้สูงอายุหญิงจะมีภาวะวัยทอง ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง ส่งผลกระทบต่อทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนตัว หูรูดท่อปัสสาวะหดรัดตัวไม่ดี ผู้สูงอายุชายอาจเกิดจากภาวะต่อมลูกหมากโต จนอุดตันท่อทางเดินปัสสาวะได้บ่อยๆ ทำให้ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน การอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะราด ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการกลั้นปัสสาวะ เช่น โรคเบาหวาน เบาจืด […]

“เวย์โปรตีน” กับ 5 เหตุผลว่าทำไมผู้สูงอายุต้องทาน

"เวย์โปรตีน" กับ 5 เหตุผลว่าทำไมผู้สูงอายุต้องทาน

“เวย์โปรตีน” แหล่งโปรตีนคุณภาพที่เข้าถึงง่ายทั้งราคาและการซื้อ เนื่องจากพลังงานในแต่ละวันที่เราต้องใช้นั้นส่วนใหญ่จะมาจากสารอาหารที่เราทานในแต่ละวัน ซึ่ง “โปรตีน” ก็คือหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่ทำให้ร่างกายมีแรงที่จะทำกิจกรรมต่างๆ โดยเราก็สามารถได้รับสารอาหารชนิดนี้จากเนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วและธัญพืชได้อย่างง่ายๆ หากแต่เมื่อเราก้าวสู่วัยชรา ข้อจำกัดในการรับประทานอาหารจะลดลง เพราะผู้สูงอายุนั้นจะไม่สามารถทานเนื้อสัตว์หรือไขมันต่างๆ ได้ตามต้องการ ดังนั้น คำถามคือ จะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุได้รับ “โปรตีน” ได้ครบถ้วนในขณะที่ไม่สามารถทานเนื้อสัตว์ได้ตามต้องการ “เวย์โปรตีน” คืออะไร จำเป็นต้องรับประทานหรือไม่? เจ้าอาหารเสริมชนิดนี้ คือ โปรตีนหลักชนิดหนึ่งซึ่งเป็นส่วนประกอบอยู่ในน้ำนม โดยปกติในน้ำนมต่าง ๆ นั้นประกอบด้วยโปรตีน 2 ชนิดหลัก คือ Whey Protein และ Casein Protein เช่น ในน้ำนมแม่จะมีสัดส่วนของ 80:20 ในขณะที่นมวัวทั่วไปจะมีสัดส่วน 20:80 สำหรับร่างกายคนเรานั้นเรื่องของโภชนาการเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้นเราจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งโปรตีนเป็นหนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นและขาดไม่ได้สำหรับร่างกายเรา เพราะในโปรตีนประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็นที่ให้ประโยชน์กับร่างกายได้หลากหลาย แต่แค่การกินไก่ หรือเนื้อสัตว์อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน จึงทำให้เจ้าอาหารเสริมตัวนี้เป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีความสำคัญและนิยมรับประทานเพื่อทดแทนโปรตีนที่เราอาจได้รับไม่เพียงพอนั่นเอง สารพัดประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้ เจ้าอาหารเสริมชนิดนี้ยังเป็นโปรตีนที่ร่างกายย่อยได้ง่าย และมักนำมาใช้ในรูปแบบอาหารเสริมโปรตีนเพราะเชื่อกันว่า จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและเบาหวาน […]

รู้ก่อนสาย! “โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง” ภัยเงียบในผู้สูงวัย

รู้ก่อนสาย! "โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง" ภัยเงียบในผู้สูงวัย

“กล้ามเนื้ออ่อนแรง” โรคในผู้สูงอายุที่น่ากลัวอีกโรคหนึ่ง บุตรหลานหลายๆ ครอบครัวอาจคิดว่าอาจเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะโรคนี้ยังส่งผลไปถึงระบบประสาทอื่นๆ ด้วยนั่นเอง ทั้งนี้ภัยอันตรายนี้ยังเป็นภาวะที่จะมาเมื่อไหร่เราไม่สามารถทราบได้เลย รู้ตัวอีกทีผู้สูงอายุก็มีภาวะกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงไปเสียแล้ว ดังนั้นลูกหลานควรศึกษาโรคนี้อย่างจริงจังและคอยเฝ้าระวังให้กับผู้ใหญ่ในบ้านก่อนที่มันจะสายไป “กล้ามเนื้ออ่อนแรง” คืออะไรและมีสาเหตุมาจากอะไร เมื่อกล่าวถึงโรคนี้หลายคนอาจจะคิดว่าโรคนี้ต้องเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคนี้เกี่ยวข้องกับระบบประสาทที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทนำคำสั่งที่อยู่ในสมองและไขสันหลัง โดยโรคนี้มักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ จนเราไม่อาจรู้ตัว และอาการจะรุนแรงขึ้นจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวมักจะเกิดอาการที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเสียแล้ว อีกทั้งโรคนี้มักพบในผู้สูงวัยในช่วงอายุ 60-65 ปี และจะพบมากในผู้สูงอายุเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 1.5 เท่า นอกจากนี้ โดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วยจะเสียชีวิตหลังจากมีอาการ ในระยะเวลาประมาณ 2.5 ปี ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดจากระบบหายใจล้มเหลวและการติดเชื้อในปอดอันเนื่องมาจากการสำลักอีกด้วย สาเหตุของโรค ภาวะนี้มักเกิดขึ้นจากปัญหาการแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Disorder) โดยมีรายละเอียดของสาเหตุ ดังนี้ สารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ (Antibodies) และการส่งสัญญาณประสาท ปกติระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะผลิตแอนติบอดี้ออกมาเพื่อทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย แต่ในผู้ป่วยโรคนี้ แอนติบอดี้จะไปทำลายหรือขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) โดยถูกส่งไปที่ตัวรับ (Receptor) ซึ่งอยู่ที่ปลายระบบประสาทบนกล้ามเนื้อแต่ละมัด ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถหดตัวได้ ต่อมไทมัส (Thymus Gland) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณกระดูกอก […]

เฝ้าระวัง! 5 โรคหัวใจที่มักพบในผู้สูงอายุ

เฝ้าระวัง! 5 โรคหัวใจที่มักพบในผู้สูงอายุ

“โรคหัวใจ” เป็นหนึ่งในโรคร้ายอันดับต้นๆ ที่มักพบในผู้สูงอายุ และแม้ว่าบุตรหลานในแต่ละครอบครัวจะไม่อยากให้โรคนี้เกิดขึ้นกับผู้สูงวัยในบ้านของตนเองนั้น แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันจะไม่เกิดขึ้นและก็ไม่อาจทราบได้เลยว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อย่างไรก็ดีปัญหาโรคหัวใจนั้นก็มีอีกหลายโรคเล็กๆ ที่แตกแยกย่อยออกไป ซึ่งก็เป็นเรื่องที่บุตรหลานควรสังเกตและคอยเฝ้าระวังให้ดี “โรคหัวใจ” ในผู้สูงอายุ คืออะไร โรคร้ายแรงโรคนี้เป็นโรคที่พบได้บ่อยและยังเป็นโรคที่เป็นสาเหตุทำให้คนเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆในทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในผู้สูงวัยโดยต้องสังเกตสัญญานเตือนของโรค ซึ่งมักจะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง รู้สึกหอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ต้องหนุนหมอนสูง แน่นหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม กรณีสูงวัยมาก ๆ อาการอ่อนเพลีย เวียนหัว เบื่ออาหารที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน อาจเป็นอาการจากโรคหัวใจได้เช่นกัน 5 โรคเกี่ยวกับหัวใจที่มักพบในผู้สูงอายุ 1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ อุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรครื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและเป็นสาเหตุการตายในประเทศต่างๆทั่วโลกและเป็นอันดับที่สี่ของคนไทย รองจากกลุ่มโรคมะเร็ง อุบัติเหตุและการเป็นพิษ กลุ่มโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดสมอง สาเหตุ: เกิดจากการที่มี “พลาก” (atherosclerotic plaque) เกาะผนังหลอดเลือดทำให้ขัดขวางการไหลของเลือด โดยเฉพาะเมื่ออุดตันหลอดเลือดโคโรนารี่ที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยเมื่อตรวจดูพลากจะพบว่าเต็มไปด้วยไขมันชนิดโคเลสเตอรอล ปะปนกับเซลล์ เศษเซลล์และโปรตีนเส้นใย มีแคลเซียมมาสะสม พลากอาจจะค่อย ๆ สะสมเพิ่มขนาด จนทำให้รูหลอดเลือดแดงตีบแคบลง ทำให้ขัดขวางการไหลของเลือด อาการ: […]

มารู้จัก! “อาการแพนิคในผู้สูงวัย”ที่ไม่ใช่แค่ขี้ตกใจ

มารู้จัก! "อาการแพนิคในผู้สูงวัย"ที่ไม่ใช่แค่ขี้ตกใจ

“อาการแพนิค” หรือชื่อภาษาไทยที่ถูกเรียกว่า “โรคตื่นตระหนก” โดยเป็นเป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่มีความวิตกกังวลสุดขีด หรือมีความกลัว ความอึดอัด ไม่สบายอย่างรุนแรง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและถึงขีดสูงสุดในเวลา 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆ ทุเลาลงและอาการมักจะหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง โดยการเกิดอาการตื่นตระหนกเช่นนี้มักพบบ่อยในวัยผู้สูงอายุตอนต้นและมักเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น จึงอาจทำให้ผู้สูงอายุที่มีอาการนี้เกิดความวิตกกังวลจนนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆ ได้ในที่สุด “อาการแพนิคในผู้สูงวัย” ไม่ใช่แค่ “ขี้ตกใจ” เท่านั้น หลายๆ คนมักเข้าใจไปว่า “การแพนิค” คืออาการของคนที่มักจะ “ตกใจ” เกินเหตุ และไม่ว่าจะเกิดเหตุการอะไรก็มักจะมีคำพูดติดปากที่ว่า “ตั้งสติ อย่าแพนิค” นั่นจึงยิ่งทำให้เจ้าอาการชนิดนี้ดูเป็นเพียงอาการที่แสดงถึงความขี้ตกอกตกใจเท่านั้น แต่แท้จริงเราอาการนี้มีอะไรมากกว่าที่ทุกคนคิดและยิ่งหากเกินในผู้สูงอายุยิ่งไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยทีเดียว โรคตื่นตระหนก คือ โรคที่เกิดจากฮอร์โมนลดหรือเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เหมือนไฟฟ้าลัดวงจร ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วน จึงเกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นแรง เหงื่อออก หายใจไม่ทัน เป็นต้น อีกทั้งเป็นอาการที่เกิดขึ้นฉับพลันโดยที่ไม่มีสาเหตุหรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ โรคแพนิคกับสาเหตุที่แท้จริง สาเหตุของโรค เชื่อว่ามีปัจจัยหลายประการที่อาจประกอบกันทำให้เกิดอาการ เช่น ทางด้านร่างกาย มีปัญหาในการทำงานของสมองส่วนควบคุมความกลัว ซึ่งเป็นความผิดปกติของสารสื่อนำประสาทบางอย่าง ทางพันธุกรรม อาจพบได้จากสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน […]

ระวัง! 8 สาเหตุโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

ระวัง! 8 สาเหตุโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

“ข้อเข่าเสื่อม” โรคในผู้สูงอายุที่คงไม่มีบุตรหลานคนไหนอยากให้เกิดกับผู้ใหญ่ในครอบครัวของตนเอง เพราะถือได้ว่าเข่าหรือข้อต่างๆ เป็นฟันเฟืองสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเราเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในทุกๆ การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะ เดิน วิ่ง นั่ง ต่างก็ต้องใช้กระดูกและข้อเหล่านี้ในการเคลื่อนไหว หากแต่อวัยวะในร่างกายของเรานั้นย่อมเสื่อมถอยตามกาลเวลาเมื่อเราชราลงอย่างเลี่ยงไม่ได้และมักส่งผลอันตราย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงต้องเฝ้าระวังให้ผู้สูงวัยในบ้านนั่นเอง “ข้อเข่าเสื่อม” ปัญหาใหญ่กวนใจผู้สูงอายุ การปวดข้อ ปวดเข่า ถือเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศและทุกวัย ซึ่งหากเป็นวัยหนุ่มสาวทั่วไป ปัจจัยหลักๆ ก็จะเกิดจากน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างเกินมาตราฐานจึงทำให้หัวเข่าและกระดูกบริเวณใกล้เคียงรับไม่ไหวและสำหรับผู้สูงอายุเองนั้น สาเหตุก็คงไม่พ้นความเสื่อมของโครงสร้างกระดูกที่พอเมื่อแก่ตัวลงก็จะถดถอยลงเรื่อยๆ โดยโรคนี้ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการปวดเข่า บวมแดง เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป  8 สาเหตุของอาการเข่าเสื่อมที่ผู้สูงวัยพึงระวัง 1. อายุที่มากขึ้น โดยอาการนี้มักจะพบในผู้สูงวัยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปและมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเพศหญิงมากกว่าเพศชายด้วย 2. น้ำหนักตัว ซึ่งมากเกินมาตราฐานของดัชนีมวลกายของแต่ละท่าน คือมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 23 กก/ม2 3. ความผิดปกติของข้อเข่า เป็นความผิดปกติของรูปเข่าและขา เช่น มีข้อเข่าผิดรูป ขาโก่ง หรือมีเข่าชนกัน เป็นต้น 4. การใช้ข้อเข่าหักโหมซ้ำๆ ซึ่งนอกจากจะใช้เข่าอย่างหักโหมแล้วก็อาจจะเกิดจากการเคลื่อนไหวในท่าบางท่าที่ต้องงอเข่าบ่อยครั้ง เช่น คุกเข่า […]