Category Archives: การดูแลผู้สูงอายุ

ดูแลผู้สูงอายุยังไง? ให้แฮปปี้ทั้งผู้สูงวัยและตนเอง

ดูแลผู้สูงอายุยังไง? ให้แฮปปี้ทั้งผู้สูงวัยและตนเอง

“ดูแลผู้สูงอายุ” ตำแหน่งที่เป็นใครไม่ได้นอกจากลูกหลานในบ้านและถ้าหากคุณคือคนคนนั้นบทความนี้ก็เป็นบทความที่เหมาะกับคุณเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นเรื่องที่ดีในการดูแลพ่อแม่ในยามที่ท่านเฒ่าชรา หากแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นเดียวกัน เพราะในขณะที่เราต้องดูแลพวกท่านนั้นเราก็ต้องดูแลตัวเอง แล้วต้องทำอย่างไร? วันนี้ รักษ์คุณ มีคำตอบ…   “การดูแลผู้สูงอายุ” เมื่อคุณเป็นที่พึ่งพิงของวัยพึ่งพา แม้จะไม่มีใครอยากเห็นคนที่คุณรักต้องมีบั้นปลายชีวิตที่เปลี่ยวเหงาเดียวดาย แต่การเลี้ยงดูผู้สูงอายุก็นับเป็น “การเสียสละ” อย่างหนึ่งของชีวิตเช่นเดียวกัน เนื่องจากผู้ที่ดูแลนั้นต้องจ่ายไปหลายอย่าง อาจไม่ใช่แค่เงิน ไม่ใช่แค่เวลา แต่เป็นทั้งสภาพร่างกายและจิตใจที่บางครั้งผู้ดูแลก็ต้องเหนื่อยล้าเป็นธรรมดาแม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับคุณพ่อคุณแม่วัยชรามากแค่ไหนก็ตามเพราะต้องทุ่มเททั้งพลังกายและใจไปกับคุณพ่อและคุณแม่จนละเลยการดูแลตนเองอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นจะดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อคุณต้องกลายเป็นผู้ดูแลผู้สูงวัยในครอบครัว 5 วิธีง่ายๆ ในการฝึกดูแลตนเองเมื่อคุณต้องเป็นผู้ดูแลพ่อแม่วัยชรา 1. จัดลำดับความสำคัญให้ได้ คุณจะไม่สามารถฝึกดูแลตนเองได้เลยหากไม่รู้ว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุข บางท่านอาจเป็นผู้ที่ชื่นชอบในการสังสรรค์กับเพื่อนๆ บางท่านอาจเป็นผู้ที่รักในการวาดรูปหรือท่องเที่ยวออกไปจิบกาแฟ แต่หากคุณต้องเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวที่มีหน้าที่ดูแลผู้สูงวัยในครอบครัวนั้นตารางกิจกรรมของคุณที่เคยมีก็ต้องปรับเปลี่ยนไป ดังนั้นเมื่อมีหน้าที่การเป็นผู้ดูแลเพิ่มขึ้นมาคุณจึงต้องคอยจัดลำดับความสำคัญว่าสิ่งใดควรทำก่อนหลังแต่ก็สามารถหาเวลาทำในสิ่งที่คุณรักได้ด้วย จริงอยู่ที่การดูแลพ่อแม่ในวัยชราเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากที่จะทิ้งท่านไปไหนหรือทำอะไรนานๆ แต่หากจัดลำดับความสำคัญตามตารางเวลาได้ คุณก็สามารถทำในสิ่งที่คุณรักได้เช่นกัน 2. ขอความช่วยเหลือบ้าง นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า  “ไม่มีใครสามารถทำหน้าที่นั้นได้ในระยะยาวด้วยตัวเอง” ดังนั้นเพียงเพราะคุณทำหน้าที่นี้เป็นหลักในบ้านแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเป็น “ผู้ดูแล” คนเดียวเสมอไป ซึ่งบางครั้งคุณอาจจะขอความช่วยเหลือจากสมาชิกคนอื่นในบ้านให้ทำหน้าที่แทนคุณบ้างบางครั้ง เช่น การซักเสื้อผ้าของผู้สูงอายุ ทำอาหาร หรือกิจกรรมกายภาพบำบัดง่ายๆ เป็นต้น เพื่อให้คุณได้มีเวลาพักผ่อน หรือหากไม่มีใครในบ้านสะดวกทำหน้าที่แทนคุณได้จริงๆ ก็สามารถนำผู้สูงวัยเข้ารับบริการที่ศูนย์ดูแลผู้สูงวัย หรือ Home care สักแห่งเพื่อฝากดูแลพวกท่านในระหว่างวันที่คุณไม่อยู่เท่านั้น การทำเช่นนี้จะสามารถมั่นใจได้ว่ามีคนทำหน้าที่แทนคุณได้ […]

ผู้สูงอายุฉีดวัคซีน กับ 5 เกร็ดความรู้ที่คุณต้องรู้

ผู้สูงอายุฉีดวัคซีน กับ 5 เกร็ดความรู้ที่คุณต้องรู้

“ผู้สูงอายุฉีดวัคซีน” ประเด็นสำคัญที่บรรดาลูกหลานเริ่มให้ความสำคัญกันมากขึ้นหลังจากการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าผู้สูงอายุนั้นต้องฉีดวัคซีนเป็นทุนเดิมอยู่แล้วเช่นเดียวกับเด็กๆ ที่ต้องฉีดวัคซีนในแต่ละช่วงวัยเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ซึ่งผู้สูงอายุก็ต้องฉีดไว้เพื่อเหตุผลเดียวกัน ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนเพื่ออะไร ? สาเหตุเพราะเมื่อมนุษย์เราอายุเพิ่มมากขึ้น ภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคต่างๆ จึงลดน้อยลงและมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นโรคต่างๆ สูง รวมถึงเกิดภาวะแรกซ้อนได้ง่าย โดยผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปก็จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ดังนั้นวัคซีนจึงจำเป็นต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมากเพราะต้องฉีดเพื่อป้องกันโรคร้ายที่ไม่พึงประสงค์นั่นเอง 5 เกร็ดความรู้! เมื่อผู้สูงอายุฉีดวัคซีน… 1. ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนอะไรบ้าง วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก หากเกิดแผลในผู้สูงอายุจะมีโอกาสติดเชื้อบาดทะยักได้ง่าย  ทำให้เกิดกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง  หายใจลำบาก  โรคคอตีบที่รุนแรงทำให้หายใจลำบาก  ทั้งโรคบาดทะยักและคอตีบหากมีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ และโรคไอกรนทำให้ไอต่อเนื่องอย่างรุนแรง คำแนะนำในการฉีด ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน 1 เข็ม และ วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ ทุก 10 ปี วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด หากเคยเป็นอีสุกอีใสแล้วก็จะไม่แปลกใจกับโรคงูสวัดสักเท่าไหร่ เนื่องจากทั้ง 2 โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกันและมีอาการที่ใกล้เคียงกันคือมีตุ่มใสขึ้นแต่โรคงูสวัดจากขึ้นตามแนวประสาท และบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น แสบร้อนตามผิวหนัง คำแนะนำในการฉีดวัคซีนของผู้สูงอายุ ฉีดวัคซีนป้องกัน โรคงูสวัด 1 เข็ม เพียงครั้งเดียว (ฉีดได้ตั้งแต่ผู้สูงวัยอยู่ในช่วงอายุ […]

อาหารผู้สูงอายุเลือกอย่างไรให้เหมาะ- 8 วิธีนี้ช่วยได้

อาหารผู้สูงอายุเลือกอย่างไรให้เหมาะ- 8 วิธีนี้ช่วยได้

“อาหารผู้สูงอายุ” ปัญหาโลกแตกของหลายๆ ครอบครัว เนื่องจากบางครอบครัวนั้นคิดเมนูไม่ออก ไม่รู้ว่าจะทำเมนูไหนดี ไม่รู้ว่าจะเลือกให้ตรงโภชนาการได้อย่างไร หรือจะเลือกเมนูไหนให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวต่างๆ คำถามเหล่านี้ถูกตั้งขึ้นมาอย่างนับไม่ถ้วนเพราะผู้สูงวัยในแต่ละบ้านมีความต้องการไม่เหมือนกันนั่นเอง “อาหารผู้สูงอายุ” สำคัญอย่างไร แต่ละวัยย่อมต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันและเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายไปตามอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตสูงสุดและเกิดความเสื่อมได้มากกว่าวัยอื่น การเลือกอาหารผู้สูงอายุอย่างถูกวิธีเหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและชะลอให้ร่างกายไม่ทรุดโทรมก่อนเวลาอันควร 8 วิธีเลือกอาหารผู้สูงอายุให้เหมาะสม เนื่องจากผู้สูงอายุนั้นมีปัญหาเรื่องสุขภาพไม่เหมือนกันความต้องการสารอาหารจึงแตกต่างกันออกไป เช่น บางท่านต้องการสารอาหารประเภทนี้แต่บางท่านกลับต้องลดสารอาหารประเภทเดียวกันลง  วิธีการช่วยเลือกอาหารสำหรับผู้สูงอายุทั้ง 8 วิธีจึงถูกแบ่งออกตามสภาพทางกายภาพ โรคประจำตัว และอาหารทางเลือกอื่นๆ ดังนี้ อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มากไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ จากความเสื่อมสภาพของร่างกายรวมถึงภาวะการ “ไม่มีฟัน” ซึ่งเกิดจากการสูญเสียฟันไปตามอายุขัย  ซึ่งทำให้เกิด “ภาวะขาดสารอาหาร” ตามมาทำให้ท่านเคี้ยวอาหารบางประเภทไม่ได้ กลืนลำบาก และต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทจนทำให้ขาดสารอาหาร ดังนั้นวิธีที่จะช่วยเลือก คือ 1. อาหารนุ่ม-บดละเอียด อาจจะเป็นเมนูที่ผ่านการประกอบอาหารจนมีรสสัมผัสที่อ่อนนุ่มลงหรือนำมาบดละเอียดเพื่อให้ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพฟันได้ลองรับประทาน เช่น เมนูตุ๋นผักรวม ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง เนื้อตุ๋นเปื่อย เป็นต้น เพื่อให้รับประทานง่ายขึ้นนั่นเอง 2. สามารถกลืนได้ง่าย ในข้อนี้จะเป็นวิธีที่ช่วยเลือกอาหารให้กับผู้สูงอายุที่อาจจะยังมีฟันทานอาหารได้ แต่ก็มีปัญหาในเรื่องของความแข็งแรงเนื่องจากบางรายอาจจะเจ็บหรือปวดฟันในเวลาเคี้ยวส่งผลให้เลือกที่จะกลืนเลยทั้งๆ ที่อาหารยังมีขนาดชิ้นที่ใหญ่อยู่ ดังนั้นลูกๆ หลานๆ จึงควรเลือกเมนูที่สามารถกลืนง่ายไม่ลำบาก […]

“ผู้สูงอายุนอนทั้งวัน” ผิดปกติหรือไม่?

"ผู้สูงอายุนอนทั้งวัน" ผิดปกติหรือไม่?

“ผู้สูงอายุนอนทั้งวัน” คือหนึ่งในโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการนอนเช่นเดียวกับ “โรคนอนไม่หลับ” ในผู้สูงอายุหากแต่อาการจะสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง แต่กลับกลายเป็นสัญญาณเตือนของโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่กำลังมาเช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าทั้งโรคนอนไม่หลับและหลับทั้งวันของผู้สูงอายุนั้นเป็นอาการที่เกินพอดีในเรื่องของการนอนทั้งสิ้นและอะไรที่เกินพอดีก็ย่อมหมายถึงเป็นสิ่งที่ “ไม่ปกติ” ทั้งสิ้น เมื่อการ “นอนทั้งวัน” เป็นสัญญาณเตือนโรค… จากผลการวิจัยผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนและสูงอายุ ที่ชอบแอบนอนตอนกลางวัน เพื่อทดแทนการอดนอนตอนกลางคืน ควรจะระวังตัว เพราะมีผลการศึกษาว่า การประพฤติเช่นนั้นจะทำให้เสี่ยงกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะจากโรคของระบบทางเดินหายใจนอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยจากมหาวิทยาลันเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ก็ได้ระบุไว้ว่าผู้ที่นอนกลางวันนานๆ ในช่วงวัย 45-60 ปียังมีโอกาศเสียชีวิตสูงกว่าคนที่ไม่มีพฤติกรรมนี้ถึง 2 เท่า อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่คอยเตือนถึงภาวะโรคต่างๆ อีกด้วย อาการ “นอนทั้งวันของผู้สูงอายุ” เกิดจากอะไร? 1. อดนอนนานๆ การอดนอนมาเป็นเวลานานๆ และทำเป็นประจำบ่อยๆ จนร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลให้ผู้มีอาการเช่นนี้รู้สึกว่านอนเท่าไหร่ก็เพียงเพียงพอต่อความต้องการ 2. ฮอร์โมนและสารเคมีในสมอง สาเหตุมาจากระบบการทำงานของฮอร์โมนและสารเคมีในสมองของผู้สูงอายุเริ่มทำงานเสื่อมถอยลงและทำงานได้ไม่เต็มที่จึงทำให้เวลาที่ควรได้พักผ่อน (ช่วงกลางคืน) ผู้สูงอายุได้รับสารเมลาโทนินที่ช่วยให้หลับสนิทไม่เพียงพอ ท่านจึงต้องมาอาศัยหลับในช่วงเวลาระหว่างวันแทน 3. นาฬิกาชีวิต ผู้สูงอายุบางท่านที่ยังทำงานด้วยตนเองอาจมีตารางชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น ตารางการทำงานที่ต้องเปลี่ยนกะ การเดินทางบ่อยๆ เป็นต้น ทำให้เวลาในการนอนแปรปรวนอยู่เสมอและสับสนว่าควรนอนเวลาใด ผลเสียของการนอนกลางวันนานๆ ในผู้สูงอายุ 1. สมองล้าและเฉื่อยชา การนอนพักผ่อนให้เพียงพอเป็นเรื่องที่ดี […]

“โรคนอนไม่หลับ” ปัญหาแก้ไม่ตกของวัยชรา

"โรคนอนไม่หลับ" ปัญหาแก้ไม่ตกของวัยชรา

“โรคนอนไม่หลับ” เป็นอีกโรคหนึ่งที่เกิดจากการที่สมองทำงานไม่ปกติ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการที่ผู้สูงอายุหมดสติและไม่ยอมฟื้นจนต้องรีบส่งโรงพยาบาลแต่การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุนั้นไม่มีอาการที่ดูร้ายแรงอะไร ทุกๆ คนหรือแม้แต่ตัวผู้สูงอายุเองจึงเลือกที่จะปล่อยปละละเลยและในบางรายถึงกับต้องหันไปพึ่งยานอนหลับที่เลือกซื้อมาเองและใช้จนติดงอมแง การทำเช่นนี้ถือเป็นดาบสองคมที่ทำร้ายร่างกายอยู่เรื่อยๆ จากผลสำรวจพบว่าผู้สูงในวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปต้องพบกับปัญหาของการนอนไม่หลับแต่ก็ไม่ได้เข้าพบแพทย์อย่างจริงจังเสียเท่าไหร่ทั้งที่แท้จริงแล้วการนอนไม่หลับเช่นนี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคทางระบบสมองและอื่นๆ ด้วย โรคนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ ครอบครัวไหนมีผู้สูงอายุ อาจจะสังเกตเห็นได้ว่าเมื่อมีอายุที่มากขึ้นพฤติกรรมการนอนหลับของคุณปู่ ย่า ตา ยาย หรือ พ่อแม่ที่มีความเปลี่ยนแปลงไป เช่น การเข้านอนช้าแต่กลับตื่นเร็ว ใช้เวลาก่อนนอนกว่าจะหลับเป็นเวลานาน ตื่นมากลางดึกแล้วนอนไม่หลับจนเช้า นอนกลางวันตื่นตอนกลางคืน เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้คำถามที่ตามมาคือ พฤติกรรมเหล่านี้ของพวกท่านเป็นปกติหรือไม่? เป็นที่ทราบกันดีว่าไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดคนเราทุกคนย่อมต้องพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง ดังนั้นคำตอบของคำถามที่ว่าพฤติกรรมการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุเป็นปกติหรือไม่ คือ “ไม่ปกติ” อีกทั้งต้องเน้นย้ำว่า “ไม่ควรมองข้าม” ด้วยจึงจะถูก ผู้สูงอายุที่พบเจอกับปัญหานี้จะยิ่งทำให้ระบบต่างๆเสื่อมถอยลงไวขึ้นอีกเนื่องจากส่งผลต่อระบบสมองโดยตรง จะมีอาการอ่อนเพลีย คิดไม่ออกคิดช้า ต่อมรับรสอาหารเริ่มทำงานผิดเพี้ยน จนในที่สุดก็ก่อให้เกิดความวิตกกังวลได้ โรคนอนไม่หลับ มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง 1. ความชราสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยปกติแล้วยิ่งเราอายุเพิ่มขึ้นการทำงานของสมองก็จะเสื่อมถอยลงตามอายุของเราไปด้วย และแม้ว่าบทบัญญัติของการรักษาสุขภาพจะระบุไว้ว่าคนเราควรนอนให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมงแต่ผู้สูงอายุก็ไม่สามารถทำได้เนื่องด้วยการทำงานของสมองที่เปลี่ยนไปส่งผลให้พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนตามไปด้วย 2. โรคประจำตัวกับการนอน โรคประจำตัวบางโรคของผู้สูงวัยท่านนั้นๆ ส่งผลต่อการนอน เช่น โรคเบาหวาน ต่อมลูกหมากโต […]

8 กิจกรรมผู้สูงอายุที่น่าสนใจ ช่วยผู้สูงวัยอารมณ์ดี

8 กิจกรรมผู้สูงอายุที่น่าสนใจ ช่วยผู้สูงวัยอารมณ์ดี

“กิจกรรมผู้สูงอายุ” ถือเป็นอย่างหนึ่งที่ไม่เพียงแต่ช่วยนันทนาการผู้สูงอายุในครอบครัวได้มีความสุขเท่านั้น แต่เป็นการที่ช่วยสานสัมพันธ์คนในครอบครัวให้แน่นแฟ้นขึ้นด้วย กิจกรรมต่างๆ สามารถถูกออกแบบมาได้หลายๆ แบบโดยไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงแค่การใส่บาตรตอนเช้า หรือนั่งอ่านหนังสือให้ท่านฟังตามที่เราเคยเห็นกันเท่านั้น ทำไมต้องมี “กิจกรรม” ให้กับ “ผู้สูงอายุ” หลายๆคนมองว่าวัยชราเป็นวัยที่เลอะเลือนและทำอะไรไม่คอยได้ แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าแม้ทั้งสภาพร่างกายและจิตใจจะเสื่อมถอยลงแต่กลับต้องการการดูแลที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นธรรมชาติที่มนุษย์วัยนี้ต้องผ่านเรื่องราวมามากมายแต่หลักๆที่เห็นได้ชัดคือ การสูญเสียคนใกล้ชิด เช่น ลูกหลานเริ่มแยกย้ายออกจากบ้าน สูญเสียคู่ชีวิต และเพื่อนสนิท เป็นต้น สาเหตุดังกล่าวจึงส่งผลต่อความแปรปรวนทางอารมณ์ให้กับพวกท่านอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ดีเมื่อต้นไม้ยังต้องการน้ำไว้หล่อเลี้ยงให้เติบโต จิตใจของวัยชราก็เช่นเดียวกันที่ต้องการความสงบและความสุขโดยเฉพาะกับลูกๆ หลานๆ 8 กิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง มีกิจกรรมมากมายที่แต่ละครอบครัวสามารถนำไปปรับใช้ โดยจะแบ่งตามสุขภาพทางภาวะจิต ดังนี้ กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุสมองเสื่อม กิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมให้กับผู้สูงอายุสมองเสื่อมควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นในเรื่องของความจำ ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมเล็กๆน้อยพอให้ผู้สูงอายุท่านนั้นๆได้ถูกกระตุ้นให้ช่วยส่วนประสาทของความจำมากขึ้น เช่น 1.ปฏิทินเตือนความจำ สมาชิกในบ้านอาจจะทำปฏิทินขนาดใหญ่โดยมีตัวเลขบอก วัน-เดือน-ปี หรือ ฤดูกาล ไว้บนปฏิทินก็ได้ วิธีทำกิจกรรมนี้ทำได้ง่ายๆ โดยการที่ลูกหลานหรือผู้ดูแลต้องค่อยหมั่นถามท่านถึงวันหรือช่วงเวลาต่างๆ ที่สำคัญในชีวิต เช่น เกิดวันที่เท่าไหร่ พรุ่งนี้วันอะไร แต่งงานวันที่เท่าไร่ เป็นต้น การกระทำเช่นนี้จะช่วยส่งเสริมให้ท่านได้ใช้ระบบความจำมากขึ้นนั่นเอง 2. สิ่งที่คุ้นเคย ในกิจกรรมนี้เป็นการนำสิ่งต่างๆ ที่ท่านคุ้นเคยมาให้ดู ให้ฟัง และคอยถามท่าน เช่น […]

5 ข้อเท็จจริงเรื่องสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ลูกหลานควรรู้

5 ข้อเท็จจริงเรื่องสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ลูกหลานควรรู้

“สุขภาพจิต” อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเรา เรามักจะได้รับคำอวยพรและอวยพรให้กับคนอื่นๆว่า “ขอให้มีความสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรง” หากแต่ก็จะมีสุขได้นั้นไม่ได้มีปัจจัยมาจากความแข็งแรงทางกายภาพอย่างเดียวเพราะยังมีเรื่องของความรู้สึกนึกคิดและเรื่องจิตใจที่ต้องคอยดูแลด้วย ยิ่งหากเป็นผู้สูงอายุยิ่งต้องคอยทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีที่จะรับมือกับภาวะอารมณ์ของพวกท่านนั่นเอง “สุขภาพจิตผู้สูงอายุ” สำคัญอย่างไร เมื่อยิ่งชราลงแน่นอนว่าระบบการทำงานในร่างกายย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทั้งทางร่างกายที่มีความเสื่อมของอวัยวะต่างๆเกิดขึ้น เช่น ตามข้อต่างๆ หัวเข่า ความสามารถในการมองเห็นที่อาจะเลอะเลือน เป็นต้น และ ทางจิต ที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกันเพราะพวกท่านเป็นวัยที่ผ่านประสบการณ์ในชีวิตมามากมาย โดยเฉพาะบางท่านที่ผ่านการสูญเสียมา เช่น การสูญเสียคู่ชีวิต หน้าที่การงาน ประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุต้องคอยปรับตัวอยู่เสมอ เพราะหากปรับตัวและภาวะอารมณ์ไม่ได้จนสะสมเป็นเวลานานๆก็จะส่งผลเสียต่อตัวท่านเอง ในกรณีที่แย่ที่สุดคือการเป็น “โรคซึมเศร้า” ซึ่งเกิดขึ้นในผู้สูงอายุมากถึง 75,564 รายและมีความคิดที่อยากฆ่าตัวตายถึงร้อยละ 1.17 นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเรื่องของความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของพวกท่านจึงสำคัญ 5 ข้อเท็จจริงของสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ลูกหลานควรรู้ 1. ผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 ใน 4 มีความผิดปกติทางจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล หรือภาวะสมองเสื่อม จากการศึกษาร่วมกันระหว่างองค์การอนามัยโรค มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ภายในปีพ.ศ. 2563 ภาวะซึมเศร้าจะเป็นปันหาสาธารณสุขอันดับ 1 ของโลก และเป็นสาเหตุการตายและการสูญเสียที่สำคัญเป็นลำดับที่ 2 ของโลก รองจาก […]

8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง?

8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง?

โรคผู้สูงอายุ  “ยิ่งอายุเราเพิ่มขึ้นโรคภัยก็เพิ่มขึ้นตามมาด้วย” เป็นคำกล่าวไม่เกินจริงและปฏิเสธไม่ได้เลยเพราะเมื่ออายุเริ่มเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัยไม่ว่าจะ 50 ปี หรือ 60 ปีขึ้นไป การหาหมอ-หาผู้เชี่ยวชาญก็กลายเป็นวงการที่เข้าแล้วออกยากขึ้นมาทันที อย่างไรก็ดีใช่ว่าโรคถามหาแล้วเราจะดูแลและป้องกันให้ผู้สูงวัยในครอบครัวไม่ได้เลยก็ไม่ใช่ซะทีเดียว ดังนั้นก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับ 8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวังว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละโรคมีการดูแลรักษาอย่างไร มารู้จัก 8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง 1.โรคหัวใจ สาเหตุของโรคหัวใจ เกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจซึ่งส่งผลให้การหมุนเวียนเลือดในหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ อาการของโรคหัวใจ อาการเหนื่อยง่าย เวลาออกแรง หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ต้องหนุนหมอนสูง แน่นหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม วิธีการป้องกันโรคหัวใจ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน รับประทานอาหารที่มีประโยนช์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ ตรวจสุขภาพอยู่เสมอ 2. โรคต้อกระจกตา สาเหตุของโรคต้อกระจกตา เกิดจากเลนส์แก้วตาเสื่อมสภาพจนมีความขุ่นมัวเกิดขึ้น ทำให้บดบังแสงที่จะผ่านเข้าไปในตา แสงจึงส่งผ่านไปยังประสาทตาไม่เต็มที่ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนหรือมีอาการตามัวได้ อาการของโรคต้อกระจกตา มองไม่ชัดอย่างช้า ๆ ไม่มีการอักเสบหรือปวด ภาพซ้อน สายตาพร่า เกิดจากความขุ่นของเลนส์แก้วตาไม่เท่ากัน สู้แสงสว่างไม่ได้ มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะขณะขับรถในตอนกลางคืน มองเห็นสีต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม […]

อัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ อันตรายอย่างไร?

อัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ อันตรายอย่างไร?

“อัลไซเมอร์” กับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ที่คิดผิดๆ ว่าโรคนี้เป็นโรคที่ผู้สูงอายุทุกคนต้องและเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าแท้จริงแล้วไม่ได้เป็นตามที่ทุกคนคิดแต่อย่างใดอีกทั้งยังต่างกับความเชื่อเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง เริ่มตั้งแต่ผู้สูงอายุทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นโรคนี้กันทุกคนเมื่ออายุพวกท่านมากขึ้นและไม่ได้เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติแต่มีสิ่งที่กระตุ้นให้โรคนี้เกิดขึ้น   “อัลไซเมอร์” คืออะไร อันตรายต่อผู้สูงวัยมากหรือไม่? “โรคอัลไซเมอร์” เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุแต่ไม่ใช่ความเสื่อมโดยธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นโรคนี้กันทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (ชนิดไม่ละลายน้ำ) ซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีนซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำนั่นเอง การสะสมของเบต้า-อะไมลอยด์ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อยๆ ลดลง เริ่มจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่มีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลใหม่ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำโดยเฉพาะความจำระยะสั้น จากนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นจะแพร่กระจายไปสู่สมองส่วนอื่นๆ และส่งผลต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค 1. อายุเพิ่มขึ้น โดยพบว่าหลังอายุ 65 ปี ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มเป็น 2 เท่าในทุกๆ 5 ปีที่อายุมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีด้วยเช่นกัน 2. พันธุกรรม เช่น มีญาติสายตรงในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคนี้หลายคน แต่พบเป็นส่วนน้อย คือประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น 3. โรคดาวน์ซินโดรม ผู้ป่วยถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีความผิดปกติของการสะสมของโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคของการเสียความทรงจำระยะสั้นได้เช่นกัน 4. การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ มีรายงานการศึกษาหลายรายงานพบว่า […]

การดูแลแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุ

การดูแลแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุ

“แผลกดทับ” เป็นหนึ่งในบรรดาแผลหลายๆ ประเภทที่ส่งผลต่อชีวิตของเราได้โดยตรง เนื่องจากเกิดการกดทับเนื้อจนกลายเป็นเนื้อตายและมีแผลเกิดขึ้นมา การมีแผลชนิดนี้ทำให้เงื่อนไขและข้อจำกัดของการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นและทำกิจกรรมในระหว่างวันได้น้อยลงโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ก็มีความเสี่ยงในการเกิดแผลที่น่ากลัวนี้ได้เช่นเดียวกันเพราะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในการดูแล ดังนั้นหากเป็นแล้วต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็วที่สุดเพราะมิเช่นนั้นอาจเกิดการติดเชื้อและเสียชีวิตได้     มารู้จัก “แผลกดทับ” คืออะไร แผลชนิดนี้เกิดจากการที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (เฉพาะที่) ถูกกดทับมาเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงบริเวณที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวกและส่งผลให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวเกิดรอยแดง บาดแผลและเนื้อตายในที่สุด ทั้งนี้อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยโดยมักพบแผลชนิดนี้ตามตำแหน่งที่ผิวหนังติดกับกระดูกต่างๆ เช่น ส้นเท้า สะโพก และก้นกบเป็นต้น โดยส่วนใหญ่ปัญหาจากแผลชนิดนี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุเนื่องจากไม่สามารถดูแลและทำแผลเองได้ ตำแหน่งที่มักเจอแผลกดทับ จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าแผลชนิดนี้มักอยู่ตามบริเวณผิวหนังที่ติดกับกระดูก ดังนั้นตำแหน่งที่มักพบเจอจะประกอบด้วย บริเวณด้านหลังศีรษะและหู (เป็นบริเวณที่หากเกิดแผลก็จะสามารถเห็นความลึกได้ชัดเจนมากเนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไม่มีเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนังนั่นเอง)  บริเวณหัวไหล่ บริเวณข้อพับแขน บริเวณก้น บริเวณสะโพกและเข่า บริเวณส้นเท้า สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลชนิดนี้มีอะไรบ้าง แม้จะเป็นแผลที่เกิดจากการกดทับก็จริงแต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดนั้นมีมากมาย โดยประกอบด้วยสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. ขาดการเคลื่อนไหว เป็นสาเหตุที่ทักพบเจอในผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ เนื่องจากสภาวะทางร่างกายที่ไม่สามารถขยับไปไหนได้มากจึงทำให้ขาดการเคลื่อนไหวและนอนติดเตียงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ร่างกายถูกกดทับเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงไม่พอ 2. ผิวแห้งเพราะขาดความชุ่มชื้น “ผิวแห้ง” เป็นปัญหาสภาพผิวที่สามารถพบเจอได้ในทุกเพศทุกวัยซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากต่อมไขมันผลิตน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวได้น้อยกว่าปกติ จึงทำให้ผิวไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้นานและทำให้ผิวแห้งและเกิดแผลขึ้นมาได้ 3. โภชนาการไม่เพียงพอ ถือว่าเป็นหนึ่งสาเหตุที่สำคัญเนื่องจากปัญหานี้อาจมีเรื่องของสุขภาพจิตร่วมอยู่ด้วย “อาหาร” นั้นนับได้ว่าเป็นยาอีกแขนงหนึ่งที่ซึ่งหากเรารับประทานสิ่งที่มีประโยชน์ก็จะช่วยเสริมสร้างภูมิให้แก่ร่างกายได้ก็เป็นอย่างดีแต่หากสารอาหารที่ได้รับเข้าไปไม่เพียงพอก็อาจเกิดโทษกับร่างกายได้เช่นเดียวกัน จากการที่มีเรื่องสุขภาพจิตร่วมด้วยดังที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น อาการหลักๆ คือการที่ผู้ป่วยไม่อยากอาหารและรับประทานไม่ลงจึงส่งผลให้โภชนาการไม่พอต่อความต้องการในการร่างกายนั่นเอง […]